สิทธิของผู้ป่วย


          สืบเนื่องจากการเรียนรู้ของนิสิตรังสีเทคนิค และการบันทึกใน Blog นี้  มีเรื่องที่นิสิตควรได้รับทราบเพิ่มเติมอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่อง สิทธิของผู้ป่าย มีอยู่ทั้งหมด 10 ข้อ ถ้านิสิตมีหลักคิดจากการเรียนรู้ที่ผ่านมาแล้ว ก็จะเข้าใจเหตุผลโดยไม่ต้องท่องจำ  

สิทธิของผู้ป่วย

          แพทยสภา  สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา  และคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐาน*ที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ  ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ  เชื้อชาติ  สัญชาติ  ศาสนา  สังคม  ลัทธิการเมือง  เพศ  อายุ  และลักษณะของความเจ็บป่วย
  3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างพียงพอและเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ  เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตนยกเว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
  4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณีโดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
  5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ-สกุล  และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
  6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น  ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
  7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
  8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน  ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ
  9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ  ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่น
  10. บิดา  มารดา  หรือผู้แทนโดยชอบธรรม  อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์  ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

* หมายเหตุ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ  2540


มาตราที่  52  มีบทบัญญัติในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไทยว่า

“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ  การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้  การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย  รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์  ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”  และ


มาตราที่  82 

“รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง”  ซึ่งรวมเรื่องของสิทธิทางด้านการบำบัดรักษาและสุขภาพของประชาชน

หมายเลขบันทึก: 61034เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์มาลินีที่เคารพ...

  • ขอขอบคุณนิสิตรังสีเทคนิค มน. 4 ท่านที่ไปฝึกงานปีนี้...
  • นิสิตบริจาคเลือดครบ 4 ท่านเลย
  • เชิญชมภาพนิสิตบริจาคเลือดเป็นคนแรกของอาคารใหม่ 5 ชั้นที่นี่ [     Click     ]

ที่มา:

          คุณหมอวัลลภ อุตสาห์มาแจ้งข่าวถึงที่  ขอขอบพระคุณมากนะคะ  นอกจากจะได้เห็นหน้าลูกศิษย์แล้ว  ยังได้เห็นลูกศิษย์ทำความดีด้วย ปลื้มใจจังค่ะ

          เราเพิ่งเสียลูกศิษย์ สาขากายภาพบำบัด ไปหนึ่งคน ด้วยโรค Aplastic anemia น่าสงสารจริงๆ  เขาเป็นผู้ชาย  ร่างกายก็แข็งแรงดีมาตลอด  เรียนจนถึงปี 4 จบเทอมต้นแล้ว  กำลังจะไปฝึกงานเทอมปลาย ก็ต้องล้มป่วยอย่างกระทันหัน

          พวกเราพยายามช่วยเหลือกันเต็มที่แล้ว  จนได้ไปรักษาที่ กทม. (รพ.รามาฯ) เตรียมปลูกถ่ายไขกระดูก  แต่เพราะร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ ปอดจึงติดเชื้อรา และเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้เอง

          เรื่องเลือดนี่  เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท