เล่าเรื่องชุมชนแนวปฎิบัติ : ม.อ.(2)


การดำเนินการอย่างเป็นทางการเช่นนั้นใช้ไม่ได้ในเรื่องชุมชนแนวปฏิบัติ หากจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแรงปรารถนาแบบแรงๆ ในตัวบุคคลที่ที่ต้องการจะพัฒนางานร่วมกัน....

เล่าเรื่องชุมชนตอนที่ 1...แล้วเราก็เริ่มทำตามแผนที่กำหนดในปี 48 เมื่อถึงเวลาทำจริงเราปรับเปลี่ยนแผนไปพอสมควรเนื่องจากเราเข้าใจในเรื่องการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น ในมุมของประโยชน์และสิ่งที่จะได้รับ   ในปีแรกๆ เราทำความเข้าใจกับบุคลากรเสียส่วนใหญ่ปรับระบบบ้าง เช่นฐานความรู้ในการการค้นหาผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยของเรา ทำไป ทำไปเรียนรู้ไปจากบุคคลบ้างจากเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย(UKM) เชิญผู้รู้มาพูดบ้างท่านหนึ่งที่เชิญมาคือ คุณพูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ มาทำความเข้าใจชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice)เราพบว่าเรามีชุมชนโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คือ ชุมชนโอเพนส์ซอร์ส มีผู้ก่อตั้งคือคุณวิภัทร ศรุติพรหม และมีชุมชนผู้ดูแลระบบไอทีอยู่แล้วที่เกิดโดยธรรมชาติที่คอยช่วยกันแก้ปัญหาในงาน หารือปรึกษาหาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เราเห็นว่าการชุมชนแนวปฏิบัติเนี่ยน่าจะเป็นไปได้ในองค์กรของเรา สามารถที่จะทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยง เกลียวการพัฒนางานความรู้ไหลเวียน ลักษณะงานที่เหมือนกันของเรามีอยู่ในต่างคณะทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เช่นงานด้านการเจ้าหน้าที่ งานพัสดุการเงิน งานบริการวิชาการ งานการเรียนการสอน งานดูแลระบบไอที งานบริการนักศึกษา ฯลฯ ทุกคณะมีหมด เรารู้หลักการของชุมชนที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นและเราเชื่อในภาพของ CoPs ว่าจะช่วยเราผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กรได้ คณะกรรมการฯมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมภาวะผู้นำในอาชีพส่งเสิริมให้เกิดการช่วยกันทำ ช่วยกันคิด ช่วยกันถ่ายทอดประสบการณ์ จึงออกเป็นประกาศมหาวิทยาลัย ชื่อประกาศส่งเสริมชุมชนแนวปฏิบัติ ในประกาศว่าไว้คร่าวๆ ว่ามหาวิทยาลัยจะส่งเสริมกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชนเพื่อพัฒนางานมหาวิทยาลัยจะประเมินความเป็นไปของชุมชนทางระบบไอทีแล้วเราก็ประชาสัมพันธ์ประกาศออกไป
     มีคณะหน่วยงานสนใจโทรศัพท์เข้ามาถามเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีใครกล้ารับข้อเสนอของมหาวิทยาลัยในเรื่องงบสนับสนุนเลยเนื่องจากเขามีความเห็นว่ายากและไม่รู้ว่าความรู้จะออกมาจากชุมชนหรือเปล่า ดิฉันวิเคราะห์ได้ในทันทีว่าการดำเนินการอย่างเป็นทางการเช่นนั้นใช้ไม่ได้ในเรื่องชุมชนแนวปฏิบัติ  หากจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแรงปรารถนาแบบแรงๆในตัวบุคคลที่ที่ต้องการจะพัฒนางานร่วมกัน....ผู้คนไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เขารู้เขาคุยกันในแต่ละครั้งจะหยิบจับออกมาเป็น 
Tacit Knowlwdgeหรือไม่ อย่ารับการสนับสนุนดีกว่าเดี๋ยวผูกพัน....ผู้เชี่ยวชาญทักดิฉันว่าไม่น่าจะไปได้ คุณเล่นทำแบบเป็นทางการขนาดนี้ดิฉันก็งง..หากไม่ทำเป็นประกาศหลักเกณฑ์กรอบความหวังหรืออื่นๆ ที่ต้องตกลงแล้วการเจรจาขอสนับสนุน แล้วเราจะสนับสนุนกันยังไง...ภายหลังจึงรู้ว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่า.....มีตอนต่อไปโปรดติดตาม ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 61000เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าสนใจมาก
  • เนี่ยถ้าอยู่ที่เดียวกัย ผมสมัครแล้ว
  • รออ่านตอนต่อไปครับผม
ขอบคุณค่ะ....มาเร็วไปเร็วเสมอนะ....น้องชายวันนี้ไม่อยู่ในกองหนังสืเหรอคะ...สมัครข้ามภาคก็ได้นะเดี๋ยวจะชวน ชาวคณะศิลปศาสตร์ มาร่วมก๊วน อ.ขจิตให้ได้ซัก 2 คน....
อ่านแล้วได้ประโยชน์ค่ะ คุณเมตตา
  • สวัสดีครับคุณเมตตา
  • เห็นชุมชน ม.อ.แล้วน่าชื่นใจมาก ๆ เลยครับ
  • แต่สงสัยผมเหมือนจะมีบุญน้อยไปนิดที่ค่อนข้างติดขัดเรื่องที่สุราษฎร์ตลอดเลย
  • อย่างไรก็ขอบคุณคุณเมตตาด้วยนะครับ

มีไฟล์อยู่ในเครืองค่ะแต่ส่งไม่ออก เอาเป็นว่าพิมพ์ รายละเอียดคร่าวๆ นะ ที่สำคัญ เดี๋ยวจะไปพิมพ์ให้ที่ถามปภังกรนะคะ

  • อยากอ่านบันทึกชาวศิลปศาสตร์ มอ. ครับผม
  • หนังสือกำลังทับครับ โอย หายใจไม่ออก
  • ขอบคุณมากครับผม

ตามดูกระบวนการอยู่ค่ะ

กำลังเฝ้าดูว่า มช. จะขับเคลื่อน KM กันอย่างไร

ในส่วนของคณะตนเอง ก็กำลังดำเนินการอยู่

แอบขอกำลังใจด้วยนะคะ

  • เข้ามาอ่านpost ของพี่เมตตาหลายครั้งแล้วครับ แต่ยังไม่เคยมีข้อคิดเห็น เนื่องจากรายละเอียดทุกpost สมบูรณ์ในตัวแล้วครับ
  • ขอบคุณที่เล่าสิ่งดีๆ ให้ทราบครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท