สถานะบุคคลของบุคลซึ่งเกิดในพื้นที่ทับซ้อน


ด้วยเหตุนี้จึงมีคำถามที่ตามมาว่าแล้วบุคคลซึ่งได้เกิดในพื้นที่ ที่ยังเป็นปัญหาในเรื่องของเขตชายแดนที่ยังไม่แน่ชัดนั้นบุคคลที่เกิดนั้นจะมีสถานะบุคคลอย่างใดในสายตาของกฎหมายสัญชาติของประเทศไทย

สถานะบุคคลของบุคลซึ่งเกิดในพื้นที่ทับซ้อน               

หลักการและเหตุผล

การที่บุคคลใดจะได้สัญชาติของประเทศใดนั้น จำเป็นที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ครบองค์ประกอบของกฎหมายสัญชาติของประเทศนั้นๆ ที่จะได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์การพิจารณาเอาไว้ซึ่งในการพิจารณาการได้สัญชาติของประเทศไทยนั้นหลักเกณฑ์ในการได้สัญชาติไทยนั้นมีหลักที่ต้องพิจารณาอยู่สองหลักข้อเท็จจริงด้วยกันคือหลักการได้โดยการเกิด และการได้โดยภายหลังการเกิด

ซึ่งการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดนั้นยังแยกออกเป็น หลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดน ซึ่งทั้งสองหลักนี้เป็นหลักสากลซึ่งแต่ละประเทศใช้เป็นหลักในการพิจารณา และโดยหลักการได้ภายหลังการเกิดนั้นก็ยังแบ่งเป็น หลักบุคคล(การสมรส) และหลักดินแดน(การจงรักภักดี)

                 การที่จะไปพิจารณาว่าบุคคลนั้นจะได้สัญชาติไทยหรือไม่นั้น จำเป็นที่จะต้องไปพิจารณาว่าตอนบุคคลนั้นเกิด ได้เกิดในช่วงที่มีการบังคับใช้กฎหมายสัญชาติฉบับใด นั่นก็คือจะต้องกลับไปดูตัวกฎหมายสัญชาติว่าในขณะที่บุคคลนั้นเกิดมานั้น ประเทศไทยใช้กฎหมายสัญชาติฉบับใดบังคับอยู่

                 ด้วยเหตุนี้จึงมีคำถามที่ตามมาว่าแล้วบุคคลซึ่งได้เกิดในพื้นที่ ที่ยังเป็นปัญหาในเรื่องของเขตชายแดนที่ยังไม่แน่ชัดนั้นบุคคลที่เกิดนั้นจะมีสถานะบุคคลอย่างใดในสายตาของกฎหมายสัญชาติของประเทศไทย ในกรณีดังกล่าวนั้นเป็นกรณีที่ยังเป็นปัญหาให้ต้องถกเถียงกันอยู่ว่าบุคคลนั้นจะได้สัญชาติของประเทศใดกันแน่ เพราะด้วยตรงบริเวณที่เกิดนั้นเป็นบริเวณที่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่หรือเขตแดนของใครและในขณะเดียวกันหากมีการแบ่งอย่างชัดเจนแล้วปัญหาที่จะตามมาก็คือในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการแบ่งพื้นที่นั้นบุคคลที่เกิดในพื้นที่นั้นในระหว่างเวลานั้นจะสามารถถือสัญชาติของประเทศใดได้อย่างถูกต้อง   

                  แล้วปัญหามีเพียงแค่จุดนี้เองหรือไม่ เพราะเมื่อมองไปแล้วนั้นเหตุที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่เริ่มต้นของปัญหาเท่านั้น เพราะเมื่อมองไปอนาคตอันใกล้นี้แล้วนั้นปัญหาต่างๆก็กำลังรอที่จะปะทุขึ้นมาอีก

                   เพราะเมื่อบุคคลเหล่านั้นได้ถึงเกณฑ์หรือเมื่อพวกเขาได้ไปยื่นเรื่องขอพิสูจน์สัญชาติ เพื่อที่จะขอบอกว่าตนเองนั้นเป็นคนไทยและถือสัญชาติไทยนั้น ก็จะเกิดปัญหาที่เข้าไปถึงเลยก็คือ พวกเขาเหล่านั้นจะถูกตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นต่างด้าว และทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อพวกเขาจะดำเนินการพิสูจน์ ก็จะเจอกับปัญหาที่ไม่มีพยานเอกสารหรือแม้แต่พยานบุคคลที่มีน้ำหนักที่เพียงพอกับการที่ทางหน่วยงานราชการนั้นจะยอมรับฟัง

                     แล้วไหนจะเป็นเรื่องที่พวกเขานั้นจะต้องมีบุตรหลาน บุตรหลานของบุคคลดังกล่าวนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าก็จะถูกกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นต่างด้าว และมีของแถมที่ว่าจะโดนว่าตกเป็นต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย(ตามมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๓)

                     ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการมีปัญหาที่จะต้องเข้าไปคิดเพื่อที่จะ วิเคราะห์โดยการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและมีความมุ่งหมายที่จะเข้าไปเพื่อทดสอบทางสังคมเพื่อให้ได้คำตอบในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแง่ของการแก้ไขปัญหา และเพื่อเป็นการย้ำในการพัฒนาในแนวความคิดที่มีมาให้เป็นการแน่ชัดและชัดเจนว่าการจัดการด้านสถานะบุคคลของบุคคลกลุ่มนี้เพื่อตอบโจทย์ของปัญหาดังกล่าว ดังนี้การวิจัยครั้งนี้จึงจำเป็นที่จะนำเสนอว่าหลักการที่จะจัดการเพื่อที่จะให้ได้รับความยุติธรรมในการจัดการสถานะบุคคล ด้วยเหตุนี้นั้นจึงควรจะต้องมีแนวทางปฏิบัติไปในแนวทางไหนที่ชัดเจนที่สุด

หมายเลขบันทึก: 60907เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
บทความดี ๆ เขียนให้อ่านอีกนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท