เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่คนไทยควรรู้


ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยอธิบายปรากฎการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งได้มีการพัฒนาดัชนีช้วัดทางเศรษฐกิจซึ่งได้บ่งบอกถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆกัน อาทิ การชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาวะ/ค่าครองชีพ/อุตสาหกรรม/เกษตรกรรม/ธุรกิจ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น โดยตัวชี้วัดเหล่านี้บับวันจะมีบทบาทที่สำคัญ

                        ทำไมต้องมีดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ?

             พัฒนาการทางเศรษฐกิจของสังคมหนึ่งๆย่อมมีกิจกรรมและภาระที่ต้องดำเนินไปในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่ก็เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าเท่าที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการดำรงชีวิตที่ประกอบด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เคร่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค มาเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายในครัวเรือน และได้ขยายออกไปเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่น้อยตามลำดับ และนอกจากนี้ การที่มนุษย์มีทางในการเลือกการจับจ่ายสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้เกิดการไหลเวียนของปริมาณเงินจำนวนมากที่ใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศมีผลให้เกิดความมั่งคั่งต่อครัวเรือน สังคมและประเทศชาติในที่สุด

             ดังนั้น เมื่อมีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการผลิต การดำเนินธุรกิจหรือธุรกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจขึ้นเพื่อเป็นตัวชี้วัดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิต ด้านอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยให้คนในสังคมเข้าใจถึงปรากฎการณ์และแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น

            บทบาทและความสำคัญของดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ

    พิจารณรายได้ประชาชาติ ( ผลรวมรายได้ผลิตภัณฑ์ของประเทศ)

      ประเทศก็เช่นเดียวกับบริษัท ที่จะต้องมีการจัดทำบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ประจำปี เป็นต้น รายได้ประชาชาติเป็นการบันทึกธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบหนึ่งๆที่ผ่านมา ซึ่งการที่ประเทศจะผลิตสินค้าและบริการได้นั้นจะต้องมีปัจจัยการผลิต ทรัพย์ศาสตร์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ 1 ทรัพย์ด้านการเงิน 2 ทรัพย์ด้านเครื่องจักรเครื่องมือ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3 ทรัพย์ที่เป็นทางธรรมชาติ 4 ทรัพย์ทางด้านบุคลากร

   พิจารณา GDP (  Gross domestic products)

         ประเทศใดก็ตามมีผลิตภัณฑ์ประชาชาติ หรือ GDP ในระดับสูงย่อมแสดงถึงศักยภาพด้านการผลิตของประเทศนั้นๆโดยที่ประเทศที่มีรายได้ประชาติต่อหัวสูงแสดงถึงระดับความมั่งคั่งของประทเศเหล่านั้น มากกว่าประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำ

   ดัชนีราคาผู้บริโภคเครื่องสะท้อนค่าครองชีพของประชาขน

            ดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวชี้วัดระดับราคาของสินค้าและบริการทีเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และนอกจากนี้ดัชนีผู้บริโภค ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจการลงทุนในการซื้อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการนำเงินไปฝากธนาคาร โดยที่ดัชนีผู้บริโภค จะใช้เป็นตัววัดระดับการเปลี่ยนแปลง ของระดับราคาเพื่อหาผลตอบแทนของ ถ้ามีผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยฝากประชาชนก็ย่อมนำเงินปลงทุนในพันธบัตรมากกว่า

     ดัชนีชี้วัดภาวะอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะการผลิตอุตสาหกรรม

          ประโยชน์ของตัวชีวัดภาวะอุตสาหกรรมคือ สามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมทั้งในภาพรวมและรายสาขาการผลิต ทำให้ทราบถึงภาวะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศซึ่งแสดงถึง suply ของสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการในประเทศและภายนอกประเทศ

     ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน

            มีจุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงระดับการพัฒนาของโลก การสร้างเครือข่ายผู้นำทีเป็นหุ้นส่วนต่อทิศทางการพัฒนาของโลก  โดยที่ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันดังกล่าว มีองค์ประกอบของการชี้วัดรวม  ดังนี้ 1 ด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจ 2 การจัดการทางเศรษฐกิจ 3 ด้านส่งแวดล้อม 4 ด้านมนุษยชน 5 ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี

      ดัชนีวัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เครื่องมือสะท้อนผลกระทบการพัฒนาเศรษฐกิจ

          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีการศึกษาจัดทำดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อกลางปี 2543  และมาสำเร็จเป็นการแสดงผลเมื่อเดือน มิถุนายน 2545

                        องค์ประกอบตัวชี้วัด

    องค์ประกอบชี้วัดคว่มเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1 ด้านการพึ่งตนเอง 2 ด้านการมีภูมิคุ้มกัน 3 ด้านความสามารถในการปรับตัวเองได้ 4 ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ 5 ด้านการกระจายการพัฒนาที่เสมอภาคและเป็นธรรม
          เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ จึงจำเป็นที่จะต้อสร้างตัววัดระดับในการพัฒนาขึ้น เพื่อสะท้อนผละกระทบการพัฒนาที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศและเป็นตัวบ่งชี้ของการพัฒนาประเทศในที่สุด

 

     

หมายเลขบันทึก: 60900เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท