การจัดการความรู้ในชุมชน2


หมายเหตุ เป็นข้อเสนอและวิสัยทัศน์ของผู้เขียน ผู้อ่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้

         การจัดการความรู้ในด้านเศษฐกิจชุมชน                

         จริงอยู่ว่าในชุมชนแต่ละแห่ง จะมีความถี่ของการพบปะพูดคุยกันสูง แต่การพบปะกันนั้นขาดวัตถุประสงค์หลัก อาจมีการปรับทุกข์ กันและกัน แต่เป็นไปในลักษณะการบรรยายความส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่โดยไม่หวังผลในการแก้ปัญหา บางคนอาจเพียงแค่ได้ระบายความในใจให้คนได้รับรู้ บางกลุ่มอาจพบปะเพื่อสังสรรค์คลายความตึงเครียดหลังการทำงานโดยมิพักต้องนำปัญหามาคุยกัน แม้แต่ในกลุ่มแม่บ้านการอาชีพต่างๆ การกระจายความรู้จะเป็นไปในลักษณะการเรียนรู้โดยประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่               

         การจัดการความรู้ด้านเศษฐกิจของชุมชน ก็คือการระดมสมอง ความคิด ประสบการณ์ แนวทางของคนในชุมชน เพื่อที่จะรวมรวมและสะสมเป็นความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนของตนเองและเชื่อมโยงความรู้ของชุมชนกับเครือข่ายอื่นเพื่อขยายความรู้และการจัดการปัญหาให้กว้างขวางออกไป                 

         ต้องยอมรับว่าในชุมชนต่างๆของประเทศนั้นมีความแตกต่างกันทั้งในรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมนั้นได้แก่สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน สภาพพื้นดิน วัตถุดิบ ตลอดจนปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในด้านนามธรรมได้แก่ ศาสนา ความเชื่อ ความคิด วัฒนธรรมพื้นเมือง ขบวนการสื่อสาร ตลอดจนความพร้อมในการจัดการความรู้อื่นๆ ดังนั้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจึงไม่ควรมีพิมพ์เขียวที่ต้องเหมือนกันในทุกชุมชน ที่ถูกต้องก็คือต้องบริหารจัดการความรู้ในแต่ละชุมชน ความหลากหลายในขุมความรู้ของแต่ละชุมชนจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่เข้มแข็งของประเทศต่อไป               

         การจัดตั้งสภาเศรษฐกิจชุมชนจะเป็นทางออกเพื่อการจัดการความรู้ด้านเศรษฐกิจในชุมชน               

         หน้าที่หลักก็คือจัดกระบวนการจัดการความรู้โดยระดมความคิด ความรู้ จากสมาชิกในชุมชนทั้งความรู้แบบเปิดเผย(Explicit knowledge)และความรู้ที่ซ่อนเร้น(Tacit knowledge) แล้วนำความรู้เหล่านั้นเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)เพื่อจัดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และเปิดเผยองค์ความรู้ต่อชุมชน เพื่อสร้างชุมชนแห่งความรู้ และประสานองค์ความรู้กับเครือข่ายอื่น เพื่อจัดสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ(community of practice-Cop) ซึ่งจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป               

         โครงสร้างของสภาเศรษฐกิจชุมชน                

         สภาเศรษฐกิจชุมชนที่ผู้เขียนเสนอเป็นเพียงองค์กรเพื่อการรวมกลุ่มในการบริหารจัดการความรู้ด้านเศรษฐกิจของชุมชนเท่านั้นมิได้หมายถึงสภาที่มีความซับซ้อนทางโครงสร้างอื่นๆ อาจเรียกเป็นลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ได้ แต่หากมีโครงสร้างที่รับรองจากองค์การบริหารส่วนตำบลจะดีมากเนื่องจากการจัดการความรู้ย่อมต้องเชื่อมโยงกับอบต.ในด้านงบประมาณสนับสนุน และ เชื่อมโยงกับการนำเสนอความรู้ที่ได้มาเพื่อการพัฒนาชุมชนของอบต.นั่นเอง
                โครงสร้างของสภาเศรษฐกิจชุมชนจึงต้องมี
              

                ผู้นำสภาหรือประธานที่สามารถรวมกลุ่มชุมชนได้อาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดการความรู้เองก็ได้(chief knowledge officer-คุณเอื้อ-คุณเอื้อระบบ)               

          ทีมงานจัดการความรู้

-         knowledge facilitator-คุณอำนวย เป็นผู้เสริมพลังการเรียนรู้ เป็นผู้มีความรู้และบารมีในชุมชน

-         knowledge practitioner-คุณกิจ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกระบวนการ   km   เป็นผู้ที่คล่องแคล่วและสนใจในกิจกรรมการจัดการความรู้

-         note taker-คุณลิขิต เป็นผู้บันทึกความรู้จากกระบวนการ เป็นผู้มีความสามารถรวบรวม และสรุปความคิดได้ดี

-         network manager-คุณประสาน เป็นผู้ประสานเครือข่ายความรู้ขององค์กร เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในชุมชนและนอกชุมชน

-         IT wizard-คุณวิศาสตร์ เป็นผู้ดูแลระบบ ITของกระบวนการ เป็นผู้มีความรู้และทำงานIT ส่วนตัวหรือราชการ

        เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี่การสื่อสาร(IT) การรวบรวม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาจใช้วิธีเขียนใส่กล่อง พูดคุยแลกเปลี่ยน หรือจัดลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งไม่ควรบ่อยเกินไปจะเป็นการรบกวนเวลานำมาซึ่งความเบื่อหน่ายได้ง่าย  การนำเสนอปัญหาต้องจำกัดอยุ่ในวงเศรษฐกิจในชุมชนที่เกี่ยวพันกับเรื่องราวที่เป็นปัจจุบันหรืออนาคตที่ไม่ไกลเกินไป ผู้จัดการความรู้ต้องโน้มน้าวให้สมาชิกในชุมชนตระหนักว่ากระบวนการจัดการความรู้จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือปากท้องอย่างไร  การนำสมาชิกไปดูงานเครือข่ายหรือชุมชนอื่นเป็นครั้งคราวจะสามารถสร้างความสนในและตื่นตัวให้กับสมาชิกในชุมชนได้ทางหนึ่ง               
หมายเลขบันทึก: 60866เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท