เรื่องเล่าของcounselor(2)


14ลักษณะของcountertranference ที่พึงระวังอย่าให้มีมากจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำความเข้าใจกับผู้รับการปรึกษา

     จากครั้งก่อนได้ลองให้ได้รู้จักว่าม่านใจกรองความจริงในการรับรู้นั้นเป็นสิ่งที่มีกันอยู่ในตัวบุคคลทุกคนไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ให้การปรึกษา  

                      

                            .

.ซึ่งคนแต่ละคนมักจะมีม่านใจกรองความจริง(Mental filter)หลายหลากรูปแบบแต่ก็จะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นกว่าลักษณะอื่นๆ.

..การมีcountertranferenceไม่ได้มีผลในแง่ของการเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารทำความเข้าใจกับเคสแต่เพียงอย่างเดียว หากยังมีผลในด้านส่งเสริมต่อกระบวนการช่วยเหลือได้เช่น ทำให้ผู้ให้การปรึกษาทุ่มเทหรือใส่ใจอย่างมากต่อการช่วยเหลือผู้รับบริการซึ่งเขามีความรู้สึกในบวก

..การมีสติระลึกรู้ถึงความคิดความเข้าใจของตนเองเป็นสิ่งที่ผู้ให้การปรึกษาพึงสำรวจและทำความเข้าใจอยู่เนืองๆ...

countertranference 14 ลักษณะ ได้แก่

ท่าทีแบบสั่งการและชี้นำ 

ชอบตัดสินและประเมิน

มักเป็นคนช่างติ,ตำหนิ

เคร่งครัดศีลธรรมจรรยาบรรณ,มักนิยมใช้การอบรมสั่งสอน

ตราหน้า ,วินิจฉัย

หลบปัญหาโดยพูดให้ตลกหรือขบขัน ,พยายามพูดให้สบายใจ

ไม่ยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วย

ชอบให้คำแนะนำและสอน

ไต่สวน-สอบถาม

สรุปเอาเองแปลความหมายเกินจริง

พูดเกี่ยวกับเรื่องของตนเองโดยไม่เหมาะสมกับโอกาส

วางมาดเป็นผู้เชี่ยวชาญ

แกล้งทำเป็นสนใจแต่ขัดแย้งกับภาษาร่างกายที่แสดงออก

เร่งรัด-สร้างความกดดันด้านเวลา

วิธีแก้นอกเหนือไปจากการตั้งสติอยู่กับปัจจุบันและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน มีความจริงใจและให้ความสำคัญกับผู้รับบริการตรงหน้าก่อนเสมอแล้ว การรู้จักฝึกฝนใช้ทักษะการปรึกษาที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆก็จะเป็นสิ่งช่วยให้ลดผลกระทบของการมีCountertranferenceของผู้ให้บริการที่จะมีต่อเคสหรือผู้รับบริการ

หมายเลขบันทึก: 60709เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท