มาตรฐาน PCU จะเปลี่ยนอีกแล้ว?


มาตรฐาน สอ. ของจังหวัด, มาตรฐาน สอ. ของโซน (โซนย่อยในจังหวัด), มาตรฐาน HCA, มาตรฐาน PCU, เกณฑ์การประเมินหน่วยบริการของ สปสช.และ...

     ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย ได้กล่าวถึงแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวกับศูนย์สุขภาพชุมชนไว้ ในหลาย ๆ ประเด็นที่น่าสนใจ และได้มีการพยายามที่จะนำมาบูรณาการเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน หรือจะเรียกชื่ออะไรในอนาคต ยังไม่แน่ แต่ได้รับทราบจากคราวที่ประชุม PCU ในฝัน ระดับภาค เวทีภาคใต้ ที่หาดใหญ่ (จัดโดย สปสช.) ว่า พญ.สุพัตรา  ศรีวณิชชากร ได้รับทุนจาก สปสช.มาแล้ว ในการดำเนินการครั้งนี้ (แน่นอนแล้วว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง) แนวคิดสาระสำคัญที่ ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย ได้กล่าวถึงไว้ เช่น (อ้างมาจาก คุณภาพ PCU ที่ นพ.อนุวัฒน์ฯ ได้บันทึกไว้)
          PCU ควรเป็น knowledge-based unit เป็นหน่วยงานที่สร้างและใช้ความรู้
          PCU ควรให้บริการแบบ holistic & integrated care
          PCU ควรให้บริการแบบ continuous care
          Community-based operation ต้องมอง catchment area เป็น community-based
          Diversity in Practice ต้องให้มีอิสระ
          Initiative & Relevance ต้องเน้นนวตกรรม
          Uniformity in Concepts & Objective แม้จะมี autonomy และความหลากหลาย แต่ต้องอยู่บนหลักการและเป้าหมายที่เหมือนกัน

     ความสำเร็จของการทำให้ PCU เป็นหน่วยบริการในอุดมคติ ต้องการ
          1. นโยบายที่ชัดเจน เข้มแข็งและต่อเนื่องในทุกระดับ
          2. โครงสร้างการบริหารที่มีความชัดเจน เอื้อต่อการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งในด้านสายการบังคับบัญชา การสนับสนุนทางวิชาการ และผู้จ่ายเงิน
          3. คนทำงานใน PCU มีความรู้สึกสองอย่าง ในเชิงบวกคือการทำงานที่ใกล้ชิดประชาชน และประชาชนเห็นประโยชน์ ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ในเชิงลบคือการจัดระบบบริหารงานบุคคลยังไม่ลงตัว บุคลากรไม่เพียงพอ ไม่ได้รับการสนับสนุน ถ้าแก้โจทย์ตรงนี้ได้ จะได้พลังที่จะทำงานกับประชาชนอย่างมหาศาล

          การวางระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ น่าจะพิจารณาเรื่องนโยบายและโครงสร้างให้เอื้อต่อการทำงานเป็นอันดับแรก จะทำให้ง่ายต่อการวางระบบคุณภาพ  ซึ่งสามารถทำควบคู่ไปกับการศึกษาหน่วยบริการที่ประสบความสำเร็จ

          การทำงานคุณภาพพึงระวังมิให้มีงานเอกสารเพิ่ม  กระบวนการเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็นค่อยไป  ควรมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมคิดให้มากขึ้น  การกำหนดรางวัลและโบนัสไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญแต่ควรสร้างระบบคุณภาพที่ฝังอยู่ในระบบงานจนเป็นวัฒนธรรม  คุณภาพไม่มี best มีแต่ better, faster & cheaper หากมีการประเมิน ผู้ประเมินต้องเข้าใจแนวคิดว่าคุณภาพคืออะไร ไม่ควรหยุดอยู่แค่ดูข้อมูล แต่ควรดูกระบวนการที่เป็นพลวัต ประเมินทั้ง outcome, product และ impact

     ประเด็นที่เกิดขึ้น (เหมือนเสียงบ่นของคนปฐมภูมิ) คือ การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการใช้ประเมิน อยู่บ่อย ๆ นับเป็นช่วงเวลาติดต่อกันหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐาน สอ. ของจังหวัด, มาตรฐาน สอ. ของโซน (โซนย่อยในจังหวัด), มาตรฐาน HCA, มาตรฐาน PCU, เกณฑ์การประเมินหน่วยบริการของ สปสช. และมาวันนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเป็น มาตรฐานอะไรอีกสักอย่าง

     หากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิมีความพร้อม และมีคุณภาพ จะยังไงก็ไม่น่าจะเกรงกลัวอะไรกับเกณฑ์ตามมาตรฐานต่าง ๆ ครับ (ตามความเห็นผม) แต่ในข้อเท็จจริงที่กำลังคนมีอยู่น้อยนิด และบางแห่งเป็น PCU โดยที่ทุกอย่างไม่แตกต่างจาก สอ.เลย ไม่มีการสนับสนุนจาก CUP อย่างที่ควรจะเป็น เกรงว่าสิ่งเหล่านี้มากกว่าที่จะบั่นทอนจิตใจของพี่น้องชาวหมออนามัย หากการพัฒนาคุณภาพไม่ใช่การสั่งการให้ต้องทำ และทำให้ผ่าน แต่เป็นการพัฒนาอย่างมีทิศทาง และเป็นไปตามสามัญสำนึก หรือผู้ให้บริการมีวิญญาณของการให้บริการต่อประชาชนอย่างมีคุณภาพ เมื่อนั้นไม่น่าจะมีเสียงบ่นใด ๆ ครับ

     ผมจึงบันทึกไว้เพื่อแสดงความเห็นว่าเห็นด้วยตามข้อสรุปของ ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย ในประเด็น ความสำเร็จของการทำให้ PCU เป็นหน่วยบริการในอุดมคติ ต้องการ… อย่างน้อยก็ 1 เสียงครับ

หมายเลขบันทึก: 6067เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2005 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณที่แจ้งข่าวครับผมยังไม่ทราบเลยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็คิดอยู่แล้ว มาตรฐานของกระทรวงเราเปลี่ยนกันประจำอยู่แล้ว

            ยังไงเสียสถานีอนามัยก็ต้อง Integrated Health service ครับ มาตรฐานทางการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค  รักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ มาตรฐานด้านบริหารจัดการ  และอีกด้านคือมาตรฐานด้านการสนับสนุนงานสุขภาพภาคประชาชน เหล่านี้ต้องทำครับ

           ผมยังมั่นใจว่าชุมชน ประชาชนเข้มแข็ง ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ  เหล่านี้ ทำให้สุขภาพประชาชนดีแน่นอน  ผมเสียดายหลักการสาธารณสุขมูลฐานที่เราทิ้งไปเร็วเกินไป ประชาชนยังต้องการการพัฒนากระบวนการ หลักการทางสาธารณสุข อีกมาก

           ส่วนการทำมาตรฐานนั้นสำคัญอย่างยิ่ง น่าจะมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งหมดก่อนที่จะดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการกำหนดมาตรฐาน PCU  ที่จริง พรพ. (ไม่แน่ใจเขียนย่อถูกหรือไม่) ที่ดูแล รพ.คุณภาพอยู่น่าจะเข้ามาดูถึง สอ.ด้วย หรือไม่ก็พ่วง สอ.เข้าอยู่ในมาตรฐานของ HCA. เสียก็ได้ ยังไงโดยการทำงานก็เป็นเครือข่าย อยู่แล้ว

น่าเบื่อกับมาตรฐาน pcu ทำเหนื่อย make ทั้งนั้น

แล้วคุณให้อะไรกับสถานีอนามัยบ้าง

เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข ไม่มีเลยซักแท่ง มันป็นควายสาธารณสุขหรือเปล่าฯ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่ เป็นช่องทางติดต่อพี่ได้ก็ทางนี้แหละ

สำหรับความคิดเห็นที่พี่นำเสนอแนวทางหรือปัจจัยความสำเร็จของการทำงาน PCU นั้นเป็นจริงทุกประการ ซึ่งคิดว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ก็ยังเป็นเหตุการณ์ที่สวนกันกับคำที่พี่กล่าว "ความสำเร็จ" ซึ่งจะเข้าใจคำๆนี้ ก็เมื่อพบ คำว่า "ล้มเหลว" ก็ต้องทำในทางตรงกันข้าม สำหรับพื้นที่นำร่องที่ทำมา ก็ยังประสบกับเหตุการณ์นี้อยู่

หากเป็นไปได้ให้มีสักพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่แท้จริง แบบไม่ Fake กันมากนักของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ ตั้งแต่......ถึง...... ที่ปฎิรูปกันมา 10 กว่าปี โดยเอาทฤษฎีของต่างประเทศมาจับ

หากทำการทดลองตามบริบทพื้นที่เราเอง 10 ปี ก็ยังไม่สายนะ ตัวเองเป็นคนนึงกำลังทดลองหารูปแบบดังกล่าวอยู่ คิดว่าปลดเกษียณอายุราชการก็ยังไม่สายที่จะพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของบ้านเราค่ะ

สำหรับมาตรฐานต่างๆ ใช้ศึกษาแล้วหยิบมาใช้ให้เข้ากับพื้นที่เราก็พอ ไม่ต้องสวมรอยเดะๆ แต่เป็นฐานในการคิดพัฒนาก็จะดี

555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท