การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 3


ผมพูดหยอกเล่นเพื่อปรุงบรรยากาศ ไม่ให้เคร่งเครียด จึงได้พูดไปกระทบใจ P7 เข้า ทำให้ท่านน้ำตาซึม และสมาชิกคนอื่นบอกผมว่าสามีแกเพิ่งจะเสียไปสักเดือนที่ผ่านมา แต่แกก็บอกว่าไม่ได้ว่าอะไรกลุ่มสนทนา เพียงแต่คิดถึงสามี ผมปล่อยให้บรรยากาสการเสวนาเงียบลงไปครู่นึง และกล่าวขอโทษและกล่าวแสดงความเสียใจเพียงสั้น ๆ ก่อนขออนุญาตกลับเข้าสู่ประเด็นใหม่

          ต่อจาก การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 ซึ่งผมและทีมวิจัยได้ร่วมกันถอดบทเรียนหลังการดำเนินงาน ในขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดสนทนากลุ่ม (focus group) เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้แหละที่ผมเคยบอก ที่นี่ก็มีผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่ง (P7) เป็นคนสอนประสบการณ์ครั้งสำคัญแก่ผม ที่ผมได้จดจำไปตลอดการทำงานวิจัย รวมถึงการทำงานอื่น ๆ ตลอดมาด้วย ตามบันทึกในตอนที่ 1 ที่กล่าวถึงผ่านมาแล้ว กล่าวคือ ในช่วงการสนทนากลุ่ม ผมเป็นผู้นำการสนทนาเอง และผมก็มีข้อมูลของ P7 ขาดที่สำคัญไปคือในส่วนของสามีที่เพิ่งเสียชีวิตไปผมไม่ทราบมาก่อน

          ผมพูดหยอกเล่นเพื่อปรุงบรรยากาศ ไม่ให้เคร่งเครียด จึงได้พูดไปกระทบใจ P7 เข้า ทำให้ท่านน้ำตาซึม และสมาชิกคนอื่นบอกผมว่าสามีแกเพิ่งจะเสียไปสักเดือนที่ผ่านมา แต่แกก็บอกว่าไม่ได้ว่าอะไรกลุ่มสนทนา เพียงแต่คิดถึงสามี ผมปล่อยให้บรรยากาสการเสวนาเงียบลงไปครู่นึง และกล่าวขอโทษและกล่าวแสดงความเสียใจเพียงสั้น ๆ ก่อนขออนุญาตกลับเข้าสู่ประเด็นใหม่ หลังการสนทนากลุ่มเสร็จสิ้นลง ผมเกิดความไม่สบายใจ ก็เลยตามไปเยี่ยมบ้าน P7 เพื่อขอโทษอีกครั้งในสิ่งที่ไม่ทราบมาก่อน ซึ่ง P7 ก็ยอมรับคำขอโทษอย่างไม่มีทีท่าโกรธ และยังเป็นมิตรภาพที่ดีกับผมและทีมวิจัยมาจนถึงทุกวันนี้ครับ

          สรุปเทคนิคที่ดี ที่ควรระวัง และที่ควรจะได้ดำเนินการเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ในการที่จะช่วยให้ทีมวิจัยสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้น
          1. เป็นมิตรกับทุกคน

          2. วางท่าทีสงบเสงี่ยม ไม่ทำตัวให้เด่นจนผิดสังเกต เพื่อมิให้ชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นคนแปลกหน้า

          3. อย่าทำตัวทัดเทียมกับผู้นำชุมชน

          4. พยายามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน แต่เกี่ยวข้องอย่างสงบและพร้อมที่จะช่วยเหลือ

          5. ให้ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่วิจัย ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องงาน

          6. อย่าเพิ่งตั้งเป้าหมายว่าจะทำได้มากในวันแรก ๆ

          7. เมื่อมีความรู้สึกอึดอัด ให้เข้าใจว่าเป็นปกติธรรมดา เพราะผู้วิจัยกำลังเข้ามาอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ ชาวบ้านก็เป็นเช่นนั้น ความอึดอัดที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายถึงความล้มเหลวในการสร้างความสัมพันธ์

          8. หาใครคนหนึ่ง เป็นคนตั้งต้นให้เป็นคนแนะนำเพื่อทำความรู้จักกับชาวบ้านในช่วงแรก ๆ จากนั้นทีมวิจัยก็เริ่มขวนการสร้างสัมพันธภาพ และมีแนะนำต่อ ๆ กัน สร้างสัมพันธภาพต่อกันไปอีก

          9. ขบวนการนี้ทีมวิจัยเองก็ต้องมีการถ่ายเทสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน ให้กันและกันด้วย เช่นการชวนทีมงานไป 3-4 คน ในตอนแรก จากนั้นก็เริ่มแตกตัว จนสามารถแยกไปคนเดียวได้

          10. หลีกเลี่ยงการถามคำถามที่จะทำให้ชาวบ้านรู้สึกอึดอัด เสียใจ หรือเป็นการไปกระทบกระทั่งโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทำได้โดยการมีข้อมูลให้ครอบคลุมที่สุด

          ผมเชื่อว่ายังมีประเด็นอีกมาก แต่ประเด็นเหล่านี้ทั้ง 3 ตอนได้รับมาจากประสบการณ์เพียงพื้นที่เดียวที่ได้มีการถอดบทเรียน และเก็บเกี่ยวไว้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

หมายเลขบันทึก: 6054เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2005 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท