การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 2


สิ่งที่ทีมวิจัยมาได้พูดคุยกันในแต่ละวัน และสรุปได้ว่าเป็นสิ่งที่พึงระวังใน 2 ประเด็นคือ 1) ระวังไม่ให้ทีมวิจัยมีบทบาทเกินกว่าที่ควรเป็น และ 2) ระวังมิให้เกิดความลำเอียงในขั้นตอนการรวบรวม การวิเคราะห์ และตีความหมายข้อมูลที่ได้มา

          ต่อจาก การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 1 เมื่อผมและทีมวิจัยได้เริ่มสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านแล้ว มีการวางตัวที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องเข้ามาผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของชุมชน ชาวบ้านก็เริ่มมีความคาดหวังไห้เข้ามามีส่วนร่วมกับเขา จนเริ่มเกิดความศรัทธาระหว่างกันขึ้นมีการผูกมิตรไมตรีกันอย่างต่อเนื่อง บางครั้งผู้วิจัยก็ต้องแสดงการมีเยื่อใยไมตรีอย่างจริงใจ เช่น การรับปากช่วยเหลือสิ่งที่ชาวบ้านขอร้องเรื่องสุขภาพ แต่ต้องเป็นเรื่องที่เราทำได้จริง ๆ ในขณะนั้น อาทิการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ให้ การรับฟังเรื่องราวทุกข์ร้อน หรือการให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ช่วยให้การเก็บรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัยเป็นไปด้วยดี และได้ข้อเท็จจริง อย่างเช่น มี อสม.ที่ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่แต่ไม่กล้าพูดกับเจ้าหน้าที่ บอกผมและทีมวิจัยว่า “อนามัยนะ ไม่ใช่บาร์ขายเหล้า จะได้เอาแก้วแขวนไว้อย่างนั้น” “เอางบมาพัฒนาที่เกี่ยวกับชาวบ้านตรง ๆ ดีกว่า” เป็นต้น

          แต่ก็มีสิ่งที่ทีมวิจัยมาได้พูดคุยกันในแต่ละวัน และสรุปได้ว่าเป็นสิ่งที่พึงระวังใน 2 ประเด็นคือ 1) ระวังไม่ให้ทีมวิจัยมีบทบาทเกินกว่าที่ควรเป็น และ 2) ระวังมิให้เกิดความลำเอียงในขั้นตอนการรวบรวม การวิเคราะห์ และตีความหมายข้อมูลที่ได้มา

          หลังจากการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลในแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยก็ได้แสดงน้ำใจไมตรี โดยให้ของกำนัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นยาหม่องตลับเล็ก โดยต้องให้อย่างทั่วถึงกัน ผู้วิจัยต้องคิดอยู่เสมอว่าจะไม่สร้างความรู้สึกในหมู่ชาวบ้าว่า “ต้องมีของกำนัลติดมือทุกครั้ง” และคิดเสมอว่าเป็นชุมชนนี้ เป็นสังคมเล็ก ๆ ข่าวสารมีการแพร่กระจายได้เร็วมาก เรียกว่าไม่ทันข้ามวันก็รู้เรื่องกันหมด

          ในการออกไปสัมภาษณ์เจาะลึกในแต่ละครั้ง ก็ได้ผ่านบ้านผู้สูงอายุคนหนึ่งไป 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งได้สร้างสัมพันธภาพและพูดคุยจนเกิดความคุ้นเคย และสนิทสนมกันขึ้น จนท่านเล่าถึงคนในครอบครัวของท่านที่ไปทำงานอยู่ที่อื่นให้ฟังอย่างเปิดเผยและดูท่านจะภาคภูมิใจมาก ขณะเดียวกันผู้วิจัยได้สนทนา ซักถามเรื่องประวัติของตำบลZZZ และบริเวณใกล้เคียง ก็นับว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ผู้สูงอายุท่านนั้น ได้แนะนำให้รู้จักกับคนอื่น ๆ เช่นหลวงพ่อ และขอให้หลวงพ่อได้บอกเล่าในสิ่งที่ท่านเองไม่รู้ หรือไม่มั่นใจให้กระจ่างขึ้นเพิ่มเติมเข้าไปอีก ซึ่งเป็นวิธีของนักวิจัยทางด้านสังคมวิทยาที่เรียกว่า “Snow Ball Samping Technique” ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ดีในกลุ่มสังคมค่อนข้างปิดที่ผู้วิจัยไม่อาจสร้างสัมพันธภาพได้เองโดยตรงครับ

ติดตามต่อใน การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 3

หมายเลขบันทึก: 6053เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2005 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท