KPI ในฝันของใคร


งานด้านสังคมศาสตร์ก็ควรมี KPI เฉพาะด้านสังคมศาสตร์เป็นตัวหลัก มีด้านอื่นบ้างเป็นตัวประกอบตามสมควร หรือ KPI ทางสายพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการลึกๆ ก็ควรเน้นการสร้างตัวชี้วัดที่ประเมินความรู้หรือเทคโนโลยีเป็นตัวหลัก

ตอนนี้ผมกำลังติดพันกับการวางแผนงานของตัวเองให้สอดคล้องกับ KPI และกำลังได้ความคิดและความสงสัยว่า เมื่อ KPI ถูกสร้างมาเพื่อให้เป็นเกณฑ์ชี้วัดของการทำความดีของผู้ทำงานให้กับสังคม แล้วทำไมทุกคนที่ทำงานให้สอดคล้องกับ KPI ส่วนใหญ่จึงมีความทุกข์  แม้แต่ผู้บริหารในสถาบันที่กำกับการทำ KPI ก็ยังมีความทุกข์เลย  แล้วเราทำ KPI ไปเพื่ออะไรกันแน่  ทุกคนก็หวังดีทั้งนั้น แต่คนส่วนใหญ่ก็เป็นทุกข์อย่างที่ทราบกันอยู่ทั่วไป

ผมเลยมานั่งพิจารณาว่า ทำไม KPI จึงทำให้คนมีความทุกข์ ทั้งที่เป็นความฝันที่น่าจะดี และคนส่วนใหญ่ก็น่าจะเห็นด้วย ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่การทำ KPI แบบ Top down ที่ทำแบบไม่ดูบริบทของการทำงานที่ไม่เป็นจริง ไม่เปิดโอกาสให้คนที่ทำงานจริง (ไม่นับคนขี้เกียจครับ) กำหนด KPI ของตนเองตามขีดความสามารถ ทักษะ ปัจจัยแวดล้อมและทรัพยากรที่ตนเองและทีมงานมี ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วต้องมีความหลากหลายในรูปแบบของการทำงาน แต่อาจจะครอบคลุมบ้างหรือไม่ครอบคลุมบ้าง ก็แล้วแต่ เช่น งานด้านสังคมศาสตร์ก็ควรมี KPI เฉพาะด้านสังคมศาสตร์เป็นตัวหลัก มีด้านอื่นบ้างเป็นตัวประกอบตามสมควร หรือ KPI ทางสายพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการลึกๆ ก็ควรเน้นการสร้างตัวชี้วัดที่ประเมินความรู้หรือเทคโนโลยีเป็นตัวหลัก และในอีกมุมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการขยายผลการใช้ชุดความรู้ก็น่าจะมีความหลากหลาย เพราะงานบางรายการเป็นการขยายผลในระดับนโยบายที่ต้องมีตัวชี้วัดเป็นนโยบาย บางงานที่ต้องการความสำเร็จระดับชุมชนก็ควรมีตัวชี้วัดในระดับชุมชน บางงานระดับกิจกรรมก็ควรมีความสำเร็จระดับกิจกรรม หรือบางงานต้องมีการตีพิมพ์เผยแพร่จึงจะได้ผลก็ควรเน้นผลงานตีพิมพ์เป็นตัวสำคัญ แต่บางงานก็อาจไม่จำเป็นต้องมีการตีพิมพ์ก็ได้ผลอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเน้นการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นตัวชี้วัดแต่ควรมีการตีพิมพ์บ้างตามสมควร ถ้าเราเข้าใจหลักการการสร้างผลงานในมุมต่างๆเหล่านี้ก็อาจทำให้คนที่ทำงานจริงส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงานมากขึ้น เป็น KPI ในฝันของทุกๆคน แต่อาจไม่ใช่ KPI ในความของนักประเมินในปัจจุบัน เพราะเขาอาจต้องการความง่ายในการนำข้อมูลเข้าระบบการประเมินโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือจะเรียกว่าเป็นทาสคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้ เพราะคอมพิวเตอร์นั้นเมื่อดูข้อมูลอย่างหยาบๆ ก็อาจรู้ว่าใครหรือองค์กรใดผ่านไม่ผ่าน ไม่ต้องใช้สมองมากนัก ใช้คอมพิวเตอร์มากๆ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นการทำ KPI ในฝันของคนส่วนใหญ่นั้นจะต้องใช้สมองทำงานมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์หรือการใช้แบบผสมผสานกัน ฉะนั้น จุดแตกต่างก็คือ เรามีสมองมากพอที่จะทำงานเรื่องนี้หรือไม่ หรือจะพึ่งการใช้คอมพิวเตอร์แทนเราไปเสียทั้งหมด อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ผิดถูกรับได้เสมอครับ และหวังว่าถ้าใครมีความเห็นอย่างไรก็ลองแถลงมาหน่อยสิครับ จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป เพื่อพัฒนาให้ทุกคนมีความสุขกันถ้วนหน้า ไม่มีวัตถุประสงค์จะว่าใครเลยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

คำสำคัญ (Tags): #kpi
หมายเลขบันทึก: 60509เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แวะมาทักทายครับ
  • ผมจะกลับไปทำนาเหมือนกัน
  • ยิ้ม ยิ้ม

ดีครับ ไม่ต้องวุ่นวายกับ KPI ของใครก็ไม่รู้  ไปทำKPI ของตัวเอง สบายกว่ากันเยอะเลย

ตอนนี้ผมเน้นที่ KPI ที่ได้ความรู้ในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อนฝูงและญาติพี่น้องชื่นชม และมีที่หรือเรื่องให้เขาพึ่งพาได้ มีนิทานเล่าให้คนอื่นฟัง มีประสบการณ์มาสอนนักศึกษา ดูแลนักศึกษาปริญญาโท และเอก ได้ดีกว่าเดิม มีเพื่อนงานมากขึ้น มีเรื่องเป็นประโยชน์ไว้แลกเปลี่ยนกับสมาชิกเครือข่ายมากขึ้น มีงานที่เป็นประโยชน์กับชุมชนมากขึ้น มีคนเชิญไปบรรยายมากขึ้น และมีเรื่องทำหลังเกษียณ และๆๆๆๆ อีกนับไม่ถ้วน ดีกว่า KPI ของราชการเป็น ๑๐๐ เท่า

ขอให้ผมได้ยุขึ้นอีกสักคนนะครับ โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท