รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์กับการเรียนรู้ _ เวทีพัฒนาอาจารย์ ๕๙ (๕) "สอนแบบอุปนัย"


บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓) บันทึกที่ (๔)

ช่วงเวลาหลังจากการสาธิตการสอนของ อ.ธวัช เราถกกันว่า การสอนในรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ ควรจะเน้นแบบไหน รศ.อุดมศักดิ์ บอกว่า เราสามารถแบ่งการสอนได้เป็นสองแบบ คือ

  • ๑ คือ แบบอุปนัย (inductive) คือ "สอนจากปฏิบัติไปสู่ทฤษฎี" หรือ "สอนจากเล็กไปใหญ่" สอนจากกรณีตัวอย่างเป็นกรณีๆ แล้วนำไปสู่ทฤษฎี กฎ หรือองค์ความรู้
  • ๒ คือ แบบนิรนัย (deductive) คือ "สอนจากทฤษฎีไปสู่ปฏิบัติ" หรือ "สอนจากใหญ่ไปเล็ก" สอนโดยเริ่มจากการบอกกฎ ทฤษฎี หรือองค์ความรู้ ก่อนที่จะไปสู่การนำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติ

ผมตีความตามความเข้าใจของตนเอง เพื่อสนับสนุนให้รู้ว่ารายวิชานี้ เน้นการสอนแบบอุปนัยมากกว่าการสอนแบบนิรนัย ดังภาพ



กระบวนการที่อาจารย์ผู้สอนแลกเปลี่ยนกัน ที่เริ่มตั้งแต่ การละลายพฤติกรรมหรือ "Check In" ตามบันทึกที่ (๑) ->ทำกิจกรรม->อภิปราย นำเสนอ แลกเปลี่ยน -> สะท้อนการเรียนรู้ ->สรุปด้วยองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและข้อเท็จจริง เหล่านี้ สอดคล้องกับวิธีการสอนแบบอุปนัย ไม่ใช่แบบนิรนัยที่เริ่มจากการบรรยาย ...

ผมคิดว่าอาจารย์ผู้สอนควรสร้างข้อตกลง (และปลงใจ) กันไปเลยว่า เราจะสอนแบบอุปนัยในรายวิชานี้ ซึ่งเราสามารถทำได้แน่ เพราะการไม่สอบกลางภาคเรียนนั้น คือการผลักดันและเอื้อให้จัดการเรียนแบบนี้

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ คงไม่มีวิธีที่ตายตัว การเรียนรู้ของแต่ละคนน่าจะแตกต่างหมุนไป อาจเป็นเหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ดังภาพด้านล่างก็เป็นได้

บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓)


บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓) ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/604630

หมายเลขบันทึก: 604746เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2016 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2016 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท