ทุ่นตรวจจับสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย


ตำแหน่งทุ่นตรวจจับสึนามิในมหาสมุทรอินเดียประเทศไทยจะเริ่มติดตั้งทุ่นตรวจจับสึนามิทุ่นแรก โดยเรือวางทุ่นจะออกจากท่าเรือที่เคปพันวาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549

        ทุ่นแรกที่จะติดตั้งนี้ อยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย ที่ตำแหน่ง 9° เหนือ/89° ตะวันออก (คลิกบนภาพเพื่อดูภาพขยาย) ส่วนทุ่นที่สองซึ่งกำหนดติดตั้งต้นปีหน้าจะอยู่ที่ตำแหน่ง 92° ตะวันออกบนเส้นศูนย์สูตร

        ทุ่นตรวจจับสึนามินี้ ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐแบบที่สหรัฐใช้ตรวจจับสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่าระบบ Deep Sea Tsunami Detection Equipment-2 (DART-2) ซึ่งเป็นรุ่นที่ปรับปรุงแล้ว

        สึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรง ซึ่งมักจะเกิดบนรอยแตกของเปลือกโลก ท่านผู้อ่านที่คลิกดูรูปข้างบน อาจจะแปลกใจถ้าว่าระยะห่างจากทุ่น (Bouy1) ไปถึงรอยแยก ดูจะเท่าๆกับระยะห่างจากรอกแยกมาถึงชายฝั่งไทย แล้วทุ่นตรวจจับสึนามินี้ จะเตือนภัยให้กับคนไทยได้ดีขนาดไหน

        เรื่องนี้ต้องแยกเป็นสองประเด็น

  1. การประเมินว่าจะเกิดสึนามิหรือไม่ ต้องคำนวณความแรง ตำแหน่งของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ความลึก ซึ่งเรื่องพวกนี้ใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (พวก supercomputer) คำนวณ จะต้องได้รับข้อมูลจากสถานีตรวจจับแผ่นดินไหวทั่วโลก การคำนวณนี้ใช้เวลาอย่างต่ำครึ่งชั่วโมงในปัจจุบัน
  2. คลื่นสึนามิเดินทางได้เร็วกว่าในน้ำลึก ดังนั้นคลื่นจะเดินทางมาถึงทุ่นทางทิศตะวันตกได้ก่อนการเคลื่อนเข้าใกล้ฝั่งไทยทางทิศตะวันออก
หมายเลขบันทึก: 60464เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพิ่มเติม (เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เดินทางไปสังเกตุการณ์ที่กลางมหาสมุทรอินเดีย lat 9N, long 89E)

การทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก

1.ส่วนตรวจจับความดันน้ำใต้ทะเล และความรุนแรงแผ่นดินไหว

2.ตัวส่งข้อมูลที่ได้รับจากตัวเซ็นเซอร์ใต้น้ำ ส่งสัญญาณขึ้นดาวเทียมอิเรเดียม เพื่อนำข้อมูลประมวลผลที่ สถานีภาคพื้นดินอีกครั้งหนึ่ง

อ้า ตัวจริงมาแล้ว ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ
  • ผมเคยลองคุยและถกเรื่องนี้กับ ดร.วัฒนา กันบัว เหมือนกันนะครับ เรื่องว่าแหล่งเกิดคลื่น กับทุ่นที่ติดตั้ง
  • หากแผ่นดินไหวและทำให้เกิดรอยแตกวิ่งเป็นแนวยาว คงไม่มีปัญหาเรื่องเวลาที่คลื่นวิ่งจากรอยแยกไปยังทุ่นครับ เพราะใช้เวลาไม่มากครับ ทำให้ทุ่นส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมได้ทันเวลา และคลื่นกว่าจะวิ่งเข้ามาที่ภูเก็ต ประมาณ 90 นาที  ส่วนคลื่นจากรอยแยกไปยังทุ่นใช้เวลาไม่ถึง 30 นาทีครับ
  • แต่หากจะเกิดอีกกรณีคือ รอยแยกแตกสั้นมาก เช่น แตกใต้หัวเกาะสุมาตรา แล้วแตกไปประมาณหนึ่งในสีของรอยแตกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ครั้งก่อน จะทำให้คลื่นวิ่งไปถึงทุ่น กับคลื่นวิ่งไปถึงภูเก็ต ไม่ต่างกันมาก ตรงนี้หล่ะครับ ที่น่าเป็นห่วงครับ นั่นคือ หากจะให้ทัน จำเป็นต้องติดตั้งทุ่นอีกหนึ่งตัวคือ ตำแหน่งเหนือหัวเกาะสุมาตรา ตรงนั้นจะสามารถดักและสร้างความมั่นใจ ให้กับประเทศไทย มาเลย์ และทางช่องแคบมะละกาได้ครับ
  • เรื่องนี้น่าคิดครับ คงต้องศึกษากันดูนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

ใช่เลยครับ ตอนที่ผมเห็นตำแหน่งทุ่นครั้งแรก ก็มีคำถามมากมายว่าทำไมดูเหมือนเป็นตำแหน่งทางการเมือง (อยู่กลางระหว่างศรีลังกากับไทย) ได้รับคำอธิบายว่าคลื่นวิ่งในน้ำลึกเร็วกว่าในน้ำตื้น แม้ระยะจะเท่ากัน แต่น่าจะถึงทุ่นเร็วกว่าถึงฝั่ง

แม้คำอธิบา่ยนี้จะมีความถูกต้องใน ทางเทคนิค แต่ก็ยังน่ากลัวอยู่ดี เพราะกว่าคลื่นจะไปถึงทุ่น ถ้าระยะอยู่ห่างมาก เราก็เหลือเวลาเตือนภัยน้อยลงอย่างคุณเม้งว่า

สู้วางทุ่นไว้ใกล้รอยแยกจะไม่ได้ประโยชน์มากกว่าหรือ... แต่ก็ทำอะไรไม่ได้แล้วครับ

แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งทุ่น DART อย่างเดียวนี่ครับ 

ถ้าใช้ SiTPros จำลองสึนามิตามพิกัดต่างๆ ของ epicenter ของแผ่นดินไหวตลอดแนวรอยแยก แล้ววัดเวลาคลื่นวิ่งเข้าฝั่ง จากนั้นนำมาทำเป็น chart (พิกัด ?ความแรง? กับเวลาที่มีสำหรับการอพยพ) น่าจะรักษาชีวิตคนไว้ได้มากขึ้นครับ

Epicenter คำนวนด้วย moment tensors (ซึ่งเอาผลได้จาก USGS) ซึ่งผลการคำนวณแรกใช้เวลาประมาณ 10 นาทีครับ แม้ว่าจะไม่ถูกต้องแม่นยำ แต่เราไม่ได้ต้องการจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ชัดเจนนี่ครับ เราต้องการรู้ประมาณการเวลาที่คลื่นจะวิ่งเข้าฝั่งต่างหาก

ญี่ปุ่น ฮาวาย เริ่มใช้วิธีการนี้แล้วครับ เป็นบทเรียนจากสึนามิของเราเรื่องการเตือนภัยที่ดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท