ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ความอยากรู้อยากเห็น


เราจะสร้างหรืออยุดความอยากรู้อยาเห็นของเด้ก

นายธรรมศักดิ์  ช่วยวัฒนะ
ครูโรงเรียนบ้านบึง จังหวัดสุรินทร์
16 พฤศจิกายน 2549
 
เราจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นแก่เด็กนักเรียนได้อย่างไร
Curiosity  เป็นคำนาม หมายถึง ความอยากรู้อยากเห็น ความแปลกประหลาด

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นธรรมชาติแห่งการเรียนรู้ของเด็ก  เพื่อที่จะเก็บเอาประสบการณ์ที่ได้จาก

การเรียนรู้นั้น ๆ มาเป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลงไปได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ

ความอยากรู้อยากเห็นเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งเร้าต่าง ๆ นั้นกระต้นให้เด็กที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์น้อย 

ยากที่จะหักข้ามความอยากที่จะตอบสนองต่อสิ่งเรานั้น ๆ กลายเป็นภาพที่แสดง

หรือพฤติกรรมที่แสดงออกหมายถึง ความอยากรู้อยากเห็น ดังกล่าวเป็น

ความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งเร้า (Sensory curiosity) ส่วนความอยากรู้อยากเห็น

ที่เกิดจากแรงจูงใจ(Motivation) เป็นความอยากรู้อยากเห็นที่มีจุดมุ่งหมาย

หรือมีความหมายถึงแม้จะมีสิ่งเร้าต่าง ๆ มากระตุ้นก็ไม่แปลเปลี่ยนไป

จากความอยากรู้อยากเห็นเดิม  เรียกว่า ความอยากรู้อยากเห็นด้วยปัญญา (Cognitive curiosity)

                    อิทธิพลของสิ่งเร้า  จึงเป็นเงื่อนไขหลักแห่งการเรียนรู้ตามการตอบสนอง สิ่งเร้าจึงมีความเฉพาะตามวุฒิภาวะ 

ความพร้อม สิ่งแวดล้อม โอกาส ของเด็ก การรับรู้ของเด็กจากสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสทางตาซึ่งมีมากที่สุด  รองลงมาคือ
 เสียง กายสัมผัส ตามลำดับ ถ้าสิ่งเร้านั้นเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรื่อในช่วงเวลา ความสมดุลก็จะเกิดขึ้นที่ตัวเด็ก ทำให้เด็กเบื่อหน่าย
ไม่สนใจในที่สุด  การจะกระตุ้นแบบเดิม ๆ จึงใช้ไม่ได้ เด็กยังขาดการควบคุมทางอารมณ์ของความสนใจ ฉะนั้น 
วิธีที่จะเร้าเพื่อเพิ่มเติมความสมดุล ด้วยการกระต้นเร้าความสนใจให้เสียสมดุล หรือเกิดความขัดแย้งทางกระบวนการคิด เพื่อให้เด็กที่ค้นหาคำตอบในช่วงเวลา
   เวลานานเท่าไหร่กับการเร้าความสนใจ ความสนใจนำไปสู่ความอยากรู้อยากเห็นได้มากเพียงใด ขึ้นอยู่ว่าความสมดุลทางปัญญาของเด็กนั้น ๆ
 มีสภาพเป้นอย่างไร ใช้เครื่องมือใดวัดได้ว่า ความสมดุลทางปัญญาอยู่ในระดับใด 
   ตัวอย่างงานวิจัยที่พยามวัดบุคลิกภาพของนักเรียนที่เข้าโครงการโอลิมปิกวิชาการนั้นแบบวัดบุคลิกภาพของนักวิทยาศาสตร์ เป็น 
แบบวัดผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ ที่สาขาวิจัยและประเมินผล สสวท. สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 โดยมุ่งวัดคุณลักษณะทางบุคลิกภาพ 
ที่เกื้อหนุนให้มีการคิดค้น หรือสร้างสรรค์งานทางด้านวิทยาศาสตร์จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย 7 คุณลักษณะ คือ ความอยากรู้อยากเห็น ความใจกว้าง 
ความเชื่อมั่นในตนเอง ความมั่นคงทางอารมณ์ ความมีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ และความขยันหมั่นเพียร โดยเฉพาะบุคลิกภาพด้าน ความอยากรู้อยากเห็น ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งบุคลิกภาพด้านใจกว้าง 
ซึ่งมีคะแนนเต็ม 51 คะแนน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x=41.14 ) รองลงมา ได้แก่ บุคลิกภาพด้านความมีวินัยในตนเองซึ่งมีคะแนนเต็ม 48 คะแนน มีค่าเฉลี่ย (x=37.59 ) ตามลำดับ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2526)
                    ความอยากรู้อยากเห็นจึงจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อการนำไปสู่บุคลิกภาพติดตัวของความเป็นนักวิทยาศาสตร์  บุคลิกภาพดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเจตคติทางวิทยาศาสตร์   ( Scientific attitude )  
หรือเรียกชื่ออีกอย่างว่า  “ Scientific mindedness ”  หรือ จิตแบบวิทยาศาสตร์  
เพราะเป็นความเจริญงอกงามที่เกิดขึ้นในจิตใจ ที่ยอมรับกันแพร่หลายและมักใช้อ้างอิงเสมอ
คือ แฮนี่ย์ ( Richard E. Haney ) University of Wisconsin - Milwaukee ซึ่งได้กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญดังกล่าวไว้
   8    ประการ( Haney, 1964  : 33-35  และ  Thurber and Collette,  1970 : 154 )    ดังนี้
                    1. ความอยากรู้อยากเห็น   ( Curiosity )
               2. ความมีเหตุมีผล   ( Rationality )
                                   3. การไม่ด่วนสรุป   ( Suspended  judgment )
                           4. ความใจกว้าง   ( Open - mindedness )
                                      5. การมีวิจารณญาณ   ( Critical - mindedness )
                    6. การไม่ถือตนเป็นใหญ่   ( Objectivity 
7.ความซื่อสัตย์(Honesty)
                  8. ความอ่อนน้อมถ่อมตน   ( Humility )

                    องค์ประกอบหรือคุณลักษณะ 3 ประการแรก คือ ความอยากรู้อยากเห็น  
ความมีเหตุมีผล  และการไม่ด่วนสรุป   เป็นคุณลักษณะที่จะนำไปสู่การแสดงออก
หรือมีพฤติกรรมแบบวิทยาศาสตร์ (Guides to Scientific Behavior)     การมี
องค์ประกอบในข้อ 4-7  จะช่วยในการรู้จักยอมรับแนวความคิดใหม่
 (Acceptance of New Ideas)     และองค์ประกอบสุดท้ายคือ  ความอ่อนน้อมถ่อมตน
 นั้นถือเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่ทุกคนควรมีประจำเป็นนิสัยถาวรของตนไว้  (Personality Traits)
 จึงกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทั้ง  8  ประการนี้  ก็คือ   คุณลักษณะของผู้ที่มี
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ นั่นเอง   ดังนั้นจึงอาจให้นิยามของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ได้ว่า
หมายถึง  พฤติกรรมทางด้านความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรม ประกอบขึ้น
ด้วยคุณลักษณะทั้ง  8  ประการข้างต้น(ประวิตร   ชูศิลป์.2541)

นอกจากสิ่งเร้าแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความอยากรู้อยากเห็น ได้แก่แรงจูงใจ (Motivation) 
ความใฝ่ฝัน ความทะเยอทะยาน ความมุ่งมันคาดหวัง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ควรฝึกให้เกิดขึ้นมาก ๆ อย่างสม่ำเสมอ 
ในปัจจุบันจากหลายงานวิจัยพบว่า  นักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานไทยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับที่ต่ำ โดยมีหลายปัจจัยเหตุ 
เริ่มจากครอบครัว เริ่มที่จะเป็นครอบครัวที่มีขนาดเล็ก สภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจ  ทำให้แม่บ้านต้องออกไปทำงาน ปล่อยความเอาใจใส่ต่อบุตรหลาน
  มีเพียงครูที่อยู่ในโรงเรียนเท่านั้น เวลาที่จะทำกิจกรรมของครอบครัวแห่งการเรียนรู้ก็ลดน้อยลง เด็กขาดความรักความอบอุ่น สิ่งเร้าที่จะทำให้เด็กหันเหไป
ในทางลบก็เพิ่มสูงขึ้น สภาพแวดล้อมทางสังคม ก็มีผลต่อความสนใจของเด็กอย่างมาก ถ้าชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  เด็กที่อยู่ในชุมชนดังกล่าว
ก็จะอุดมปัญญาแห่งการเรียนรู้เช่นกัน ถ้าหาชุมชนเสื่อมโทรม แออัด วิวาทะ ปัญหาต่าง ๆ ที่สั่งสมแก่เด็กก็จะเกิดขึ้นเองอัตโนมัติ เช่น ปัญหาเด็กที่มีพฤติกรรมเสียงต่าง
 ก็สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนนั้นมีแหล่งหรือสิ่งเร้าประเภทดังกล่าวอยู่ใกล้ ๆ ถึงแม้รัฐบาลจะพยายามส่งเสริมการจัดระเบียบทางสังคม และสร้างสังคมอุดมปัญญาก็ตาม 
ส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นในทางบวก คือ ความร่วมมือทุกฝ่าย โดยที่ไม่ไปหมอบหมายให้โรงเรียนเป็นภาระในการสร้างความอยากรู้อยากเห็นในทางบวกเท่านั้น

 

อ้างอิง

 ประวิตร   ชูศิลป์. เจตคติทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific attitude ) กับจุดมุ่งหมายของกาสอน   

               วิทยาศาสตร์.ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ฯ  สถาบันราชภัฏพิบูล  สงคราม.2541  Haney, Richard E., “ The Development of Scientific Attitudes,”  The Science  Teacher,  31(8) : 33-35, December, 1964. 

Krapp, A. Interest, motivation, and learning: An educational-                          psychological perspective. European Journal of Psychology in  Education,.1999.14, 23–40.              

Todd B. Kashdan, Paul Rose, and Frank D. Fincham., Curiosity and             Exploration: Facilitating Positive Subjective   Experiences and Personal Growth                           Opportunities. Department of Psychology State University of New York at Buffalo.2004  

หมายเลขบันทึก: 60458เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท