การจัดการความรู้ในชุมชน1


ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้ชุมชนพอจะรู้ว่าการแก้ปัญหาโดยอาศัยแหล่งทุนภายนอกมาแก้ปัญหาในชุมชนนั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เรียกว่ายิ่งกู้ยิ่งแย่ ยิ่งแจกยิ่งจน ยิ่งให้ยิ่งทำให้ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาตนเอง และพลังแห่งปัญญาชุมชน
การจัดการความรู้ในชุมชนมีสิ่งที่มีควรคำนึงเนื่องจากชุมชนมีลักษณะพิเศษที่สามารถทำให้กระบวนจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ง่าย 2 ประการ

         ลักษณะที่เป็นผลเสียต่อความสำเร็จ

         1.       ระดับความรู้ของปัจเจกชนในชุมชนค่อนข้างต่ำ มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร 

         2.       ความฝังใจกับความรู้หรือความรับรู้เก่าๆแน่นหนา อาจเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการคิดใหม่ๆ3.       ยึดติดกับวัฒนธรรมเดิม ที่เป็นความเชื่อส่งผลในการขัดขวางต่อกระบวนการจัดการความรู้4.       เชื่อมั่นความช่วยเหลือจากปัจจัยภายนอกที่มองไม่เห็น(อำนาจเร้นลับ)ค่อนข้างสูง5.       ยึดติดกับบุคคลค่อนข้างสูง6.       แหล่งพึ่งพาในด้านความรู้ ข้อมูลข่าวสารค่อนข้างจำกัด

         ลักษณะที่เป็นผลดีต่อความสำเร็จ

         1.       ระดับความซับซ้อนของโครงสร้างในชุมชนไม่มาก การเรียงลำดับปัญหาทำได้ง่าย

         2.       ความพึ่งพาอาศัยกันของปัจเจกชนในชุมชนค่อนข้างสูง การกระจายความรู้เป็นไปได้ง่าย

         3.       มีความเข้มแข็งด้านเครือข่ายต่างๆทั้งธรรมชาติและจากการจัดตั้งหลายกลุ่ม

         4.       ความซับซ้อนของปัญหาในชุมชนไม่มาก

         5.       มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยทั้งในกลุ่มต่างๆ ร้านน้ำชา วงเหล้า ฯลฯ

         ปัญหาของชุมชนที่ต้องใช้กระบวนการจัดการความรู้แก้ปัญหา โดยรวม มี 2 เรื่องใหญ่ๆคือ

         1.       ปัญหาเศรษฐกิจ

         2.       ปัญหาเรื่องสุขภาพ

         ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แยกย่อยได้เป็น

         -          ปัญหาการเรื่องที่ดิน

         -          ป้ญหาเรื่องน้ำ

         -          ปัญหาผลผลิตตกต่ำ ทั้งด้านราคาและปริมาณของผลผลิต

         -          ปัญหาการขนส่งผลผลิต

         -          ปัญหาการขาดความหลากหลายของผลผลิตในชุมชน

         -          ปัญหาหนี้สินฯลฯ

         ปัญหาด้านเศรษฐกิจเหล่านี้ ผู้เขียนเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้ชุมชนพอจะรู้ว่าการแก้ปัญหาโดยอาศัยแหล่งทุนภายนอกมาแก้ปัญหาในชุมชนนั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เรียกว่ายิ่งกู้ยิ่งแย่ ยิ่งแจกยิ่งจน ยิ่งให้ยิ่งทำให้ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในภูมิปัญญาตนเอง และพลังแห่งปัญญาชุมชน ดังนั้นการวางรากฐานของชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง เสริมกับความเข้มแข็งด้านพลังชุมชนจะสามารถนำพาให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สามารถพึ่งตนเองในระยะยาวได้
หมายเลขบันทึก: 60426เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การแก้ปัญหาในชุมชน ไม่ควรใช้ภาษาทางราชการกับ ชาวบ้าน เพราะเป็นที่เข้าใจยาก และทำให้ชาวบ้านให้ ความร่วมมือน้อย และข้อมูลที่ได้อาจจะไม่เป็นความ จริง เพราะต้องการตอบคำถามให้ผ่านๆ ไปเท่านั้นเอง

จากญี่ซุ่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท