สัญญาคืออะไร ใครคือผู้สัญญา


พอดีได้อ่านเรื่องความรู้เกี่ยวกับสัญญา เห็นว่ามีประโยชน์จึงหยิบเอามาฝากเพื่อน ๆ

 "สัญญา" คืออะไร

๑. ความหมายของสัญญา

     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติกำหนดนิยามของสัญญาว่าหมายถึงอะไร แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้พิจารณาจากตำราทั่วไป และความหมายของนิติกรรมแล้วพอสรุปได้ว่า สัญญา หมายถึง นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอ สนองต้องตรงกันของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปที่มุ่งจะก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์1
 

 . ความสัมพันธ์แห่งนิติกรรมและสัญญา
     นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ในนิติกรรมนั้นสามารถแบ่งเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมหลายฝ่าย สัญญาก็ถือเป็นนิติกรรมเช่นเดียวกัน แต่เป็นนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย
ในการศึกษากฎหมายต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์และหลักกฎหมายนิติกรรมประกอบ นอกจากกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติเรื่องสัญญาไว้เฉพาะ สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมบางประเภทอาจไม่ใช่สัญญาก็ได้

๓. หลักที่ควรคำนึงในการก่อให้เกิดสัญญา
     . หลักเสรีภาพในการทำสัญญา อันเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญในการทำสัญญาที่ใช้กันมานานและเป็นที่เข้าใจมาตลอดว่าผู้ที่เข้าทำสัญญาจะตกลงทำสัญญาอย่างไร กับใครเพียงใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของมาตรา ๑๕๑ ด้วย
     . หลักสุจริต
เป็นหลักการพื้นฐานที่กฎหมายได้บัญญัติในมาตรา ๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การใช้สิทธิและการชำระหนี้ต้องกระทำโดยสุจริต
     . หลักความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นหลักการพื้นฐานของการแสดงเจตนา ทำสัญญาที่ผู้แสดงเจตนาจะต้องคำนึงถึงด้วยเพราะหลักนี้กฎหมายให้ความคุ้มครอง
     . หลักความยุติธรรม
เป็นหลักที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องคำนึง เพราะว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่คำนึงแล้ว โดยเฉพาะคู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจหรืออำนาจทางสังคม อาจกำหนดด้วยสัญญาที่ให้ตนได้เปรียบแล้วก็ย่อมทำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายเสียเปรียบ กรณีเช่นนั้นนอกจากที่จะต้องมีเสรีภาพในการทำสัญญา เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเข้าทำสัญญาโดยฝืนใจหรือจำยอมแล้วนั้น หมายความว่า เสรีภาพของเขาก็ไม่มีเพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง คู่สัญญาต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วย
     . หลักความรับผิดก่อนสัญญา เป็นหลักที่คู่สัญญาควรคำนึงถึงในช่วงของการก่อให้เกิดสัญญา คู่สัญญาควรระลึกในขั้นนี้ว่าหากจงใจหรือประมาททำให้คู่กรณีได้รับความเสียหายแล้ว ก็ต้องมีความรับผิดในการเยียวยาความเสียหายต่อประโยชน์ที่อีกฝ่ายไม่ควรเสียเวลา เสียโอกาสหรือเสียค่าใช้จ่ายเข้ามาทำสัญญาที่ผลสุดท้ายแล้ว สัญญาไม่เกิดหรือเกิดแต่ไม่สมบูรณ์

. องค์ประกอบของสัญญา
     ในเรื่องสัญญามีองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเป็นสัญญาได้ ในเรื่ององค์ประกอบนั้นสามารถแยกองค์ประกอบได้เป็น ๒ ส่วน คือ องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา ซึ่งประกอบด้วยบุคคล วัตถุประสงค์ เจตนา และแบบ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม องค์ประกอบส่วนที่สอง คือ องค์ประกอบเสริมของสัญญา ซึ่งได้แก่ เงื่อนไข เงื่อนเวลา มัดจำ เบี้ยปรับ ซึ่งขออธิบายในแต่ละส่วนดังนี้

. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา คือ
     .๑ บุคคล หรือเรียกว่า คู่สัญญา ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาและสร้างนิติสัมพันธ์ให้ผลของสัญญาที่เกิดขึ้นนั้นตกแก่ตน ซึ่งโดยหลักแล้วบุคคลใดเป็นผู้ทำสัญญา บุคคลนั้นก็จะเป็นเจ้าของความสัมพันธ์ทางสัญญาแต่ในบางกรณี ผู้ลงมือทำสัญญาอาจมิใช่ผู้ที่รับผลสัญญากันได้ เช่น ในกรณีตัวแทนที่กระทำแทนตัวการ กรณีเช่นนี้ตัวแทนเป็นผู้ลงมือทำสัญญาแต่ทำในนามตัวการและเพื่อประโยชน์ของตัวการ
     .๒ วัตถุประสงค์ คือ เป้าหมายหรือประโยชน์สุดท้ายที่จะได้จากสัญญา วัตถุประสงค์ของสัญญาจะต้องเป็นเป้าหมายที่คู่สัญญามีร่วมกัน ไม่ใช่เป้าหมายของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ในการทำสัญญาทุกครั้งและสัญญาทุกชนิดจะต้องมีวัตถุประสงค์เสมอ ตัวอย่างวัตถุประสงค์ เช่น สัญญาซื้อขาย วัตถุประสงค์ก็คือ กรรมสิทธิ์กับราคา เป็นต้น
     .๓ เจตนา เจตนาในการทำสัญญาต้องเป็นเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา และวิธีการในการแสดงเจตนาก็ต้องเป็นเช่นเดียวกับเจตนาในการทำนิติกรรม มิใช่เป็นเจตนาที่วิปริต เช่น เพราะความสำคัญผิด เพราะถูกฉ้อฉล หรือเพราะการข่มขู่ เป็นต้น การแสดงเจตนาอาจแสดงด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ และเจตนาที่แสดงออกมาต้องเป็น
นั้นสัญญาก็จะเป็นโมฆะ. องค์ประกอบเสริมของสัญญา
องค์ประกอบเสริมของสัญญาเป็นองค์ประกอบที่คู่สัญญาได้กำหนดเพิ่มเติมในการทำสัญญาซึ่ง ถ้าสัญญาขาดองค์ประกอบเสริมดังกล่าวก็จะไม่ทำให้สัญญานั้นเสีย เพราะเป็นองค์ประกอบที่ไม่จำเป็นสำหรับความมีอยู่ของสัญญา องค์ประกอบเสริมของสัญญาที่คู่สัญญาสามารถกำหนดได้ เช่น เงื่อนไข เงื่อนเวลา ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับเงื่อนไข เงื่อนเวลา ในเรื่องนิติกรรม นอกจากนี้ยังมี มัดจำ เบี้ยปรับ ที่สามารถกำหนดเข้ามาเป็นองค์ประกอบเสริมได้ ซึ่งจะกล่าวอธิบายรายละเอียดในตอนท้ายของบทนี้
 

      ประเภทของสัญญา
การแบ่งประเภทของสัญญาจัดแบ่งประเภทเป็น ๒ เรื่องใหญ่ ๆ คือ การจัดแบ่งประเภทสัญญาตามแบบดั้งเดิม และการจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบัน 
      ๑. การจัดแบ่งประเภทของสัญญาตามแบบดั้งเดิม
การจัดแบ่งประเภทของสัญญาตามแบบดั้งเดิมสามารถแยกออกเป็น ๔ กรณี คือ
      . สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน (Signallagmatic or bilateral and unitateral contract)
สัญญาต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่คู่สัญญาเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ในขณะเดียวกัน
สัญญาไม่ต่างตอบแทนเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้เท่านั้น
     . สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน (onerous and gratuitous contracts)
สัญญามีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องเสียค่าตอบแทนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะได้รับในลักษณะเดียวกัน เช่น ราคาแลกกับสินค้าในสัญญาซื้อขาย1
สัญญาไม่มีค่าตอบแทน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวที่ได้รับประโยชน์ในทรัพย์นั้นโดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย เช่น สัญญายืม สัญญาให้โดยเสน่หา เป็นต้น
     . สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้แน่นอนกับสัญญาที่กำหนดการชำระหนี้ยังไม่แน่นอน (commutative and aleatory contract)
สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้แน่นอน ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายในราคาที่กำหนดไว้
สัญญาที่กำหนดการชำระหนี้ไม่แน่นอน เช่น สัญญาประกันภัย
     . แบ่งตามชื่อของสินค้า คือ สัญญาที่มีชื่อกับสัญญาที่ไม่มีชื่อ (nominate and innominate contract)
 

สัญญามีชื่อ หรือเอกเทศสัญญา คือ สัญญาที่กฎหมายได้กำหนดกฎเกณฑ์ในสัญญาไว้โดยเฉพาะแล้ว คือ สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาฝากทรัพย์ เป็นต้น
 

สัญญาที่ไม่มีชื่อ คือ สัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในสัญญาไว้โดยเฉพาะ เป็นสัญญาที่คู่สัญญาทำขึ้นเองตามหลักอิสระ หรือเสรีภาพในการทำสัญญา ซึ่งสัญญาประเภทนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และกรอบทั่วไปของสัญญา
คำพิพากษาของฎีกาที่ ๓๔๒๑ / ๒๕๔๕
โจทก์เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ บ. หลังจากที่ บ. ตาย โจทก์ก็ได้ครอบครองที่พิพาทมาตลอดอย่างเป็นเจ้าของ แต่ไม่สามารถถือสิทธิทางทะเบียนให้ถูกต้องได้ จึงได้ดำเนินการให้จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวเข้ามาเป็นผู้รับมรดก แล้วโอนให้โจทก์ภายหลัง การที่จำเลยทำสัญญาจะให้ที่ดินโจทก์ก่อนไปจดทะเบียนโอนมรดกนั้นศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่ใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๒๖ จำเลยต้องโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา
 

๒. การจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบัน
การจัดแบ่งประเภทสัญญาใหม่ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ
 

     ก. สัญญาตามกฎหมายเอกชน และสัญญาทางกฎหมายมหาชน (private Law contract and Public Law contract)
สัญญาตามกฎหมายเอกชน คือ สัญญาที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นเอกชนที่เข้ามาทำสัญญาผูกพัน
สัญญาตามกฎหมายมหาชน คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐหรือองค์กรของรัฐเข้ามาเป็นคู่สัญญาในฐานะที่เหนือกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นเอกชน
     ข. สัญญาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันกับสัญญาระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกับผู้ไม่ประกอบวิชาชีพหรือผู้บริโภค ซึ่งพิจารณาจากสถานะของความไม่เท่าเทียมกันของคู่สัญญา เพื่อคุ้มครองผู้ไม่ประกอบวิชาชีพหรือผู้บริโภค
     ค. สัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จในการชำระหนี้กับสัญญาที่มุ่งถึงการใช้ความระมัดระวังในการชำระหนี้
     ง. สัญญาสำเร็จรูปหรือสัญญามาตรฐาน (Standard From Contract) กับสัญญาลูกผสม(Collective Contracts)
  

      สัญญาสำเร็จรูป หรือสัญญาที่เกิดจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าถึงข้อสัญญาต่างๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกค้าทำกับธนาคาร
สัญญาลูกผสมเป็นสัญญาที่เกิดจากความตกลงของกลุ่มบุคคล เช่น สัญญาจ้างแรงงาน
 

. ความสมบูรณ์ของสัญญา
สัญญาจะมีความสมบูรณ์เป็นสัญญาหรือไม่นั้นต้องเข้าใจก่อนว่าสัญญา คือ นิติกรรมอย่างหนึ่ง ในการทำสัญญาก็จะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นเช่นเดียวกับในเรื่องการทำนิติกรรม คือ ต้องมีบุคคลหรือคู่สัญญาในการทำสัญญา มีวัตถุ
สมบูรณ์หรือไม่นั้น (ความสมบูรณ์ในสายตากฎหมาย ) จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา ๓ ประการ
 
. องค์ประกอบในเรื่องความสามารถของคู่สัญญาดูว่า คู่สัญญานั้นมีความสามารถเพียงใด ฝ่ายหนึ่งมีความบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือไม่ ถ้ามีสัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆียะ แต่ถ้าคู่สัญญาไม่บกพร่องหรือมีความสามารถก็ต้องพิจารณาขั้นต่อไป
 
.องค์ประกอบในเรื่องวัตถุประสงค์ของสัญญา ในการทำสัญญาให้ดูว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย หรือวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าวัตถุประสงค์ของสัญญาไม่ขัดกับหลักกฎหมายดังกล่าวแล้ว ก็ให้พิจารณาดูต่อไป
 
. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาในเรื่องแบบหรือวิธีการในการทำนิติกรรม โดยทั่วไปสัญญาที่ทำไม่จำเป็นต้องมีแบบก็ได้ แต่สัญญาบางสัญญากฎหมายกำหนดวิธีการหรือแบบในการปฏิบัติไว้เฉพาะ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาที่กฎหมายกำหนดต้องทำตามแบบ ในการทำสัญญาต้องทำตามแบบด้วย เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีผลให้สัญญาตกเป็นโมฆะตามหลักกฎหมายมาตรา ๑๕๒ หากคู่สัญญาได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หรือในบางสัญญากฎหมายมิได้กำหนดแบบคู่สัญญาก็สามารถกำหนดวิธีการในการทำสัญญาเองได้ ผลของสัญญาก็จะสมบูรณ์
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้งสามกรณีที่กล่าวมาแล้ว ถ้าสัญญานั้นสมบูรณ์ก็จะต้องพิจารณาในส่วนองค์ประกอบที่เกี่ยวกับเจตนาสองประการคือ ประการที่ ๑ การทำคำเสนอมีความบกพร่องในกระบวนการก่อเจตนาหรือไม่ เช่น การทำสัญญานั้นมีกลฉ้อฉล การข่มขู่ ความสำคัญผิดมาเป็นปัจจัยในการแสดงเจตนาหรือไม่ ถ้ามีเหตุวิปริตในการแสดงเจตนาดังกล่าวมาเป็นปัจจัยในการแสดงเจตนาแล้ว สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆียะ หรือประการที่ ๒ กระบวนการแสดงเจตนา ไม่ว่าจะเป็นคู่สัญญาฝ่ายที่ทำคำเสนอได้ทำคำเสนอไปตรงกับเจตนาภายในหรือไม่ หากไม่ตรงเพราะเป็นเจตนาซ่อนเร้น เป็นเจตนาลวง เป็นนิติกรรมอำพราง หรือเป็นความสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา สัญญานั้นก็จะตกเป็นโมฆะ ถ้าไม่มีกรณีทั้งสองดังกล่าวก็พิจารณาในส่วนของคำสนองว่าผู้ทำคำสนองได้ก่อเจตนาขึ้นมีเหตุวิปริตหรือไม่ ถ้ามีสัญญาก็จะตกเป็นโมฆียะ หรือโมฆะแล้วแต่กรณี ถ้าไม่มีสัญญาก็สมบูรณ์
ความไม่สมบูรณ์ของสัญญา คือ สัญญาที่ตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะซึ่งเหตุที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและโมฆียะ ก็เป็นเหตุเดียวกันกับเรื่องนิติกรรม คือ
สาเหตุที่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ คือ เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๐ มาตรา ๑๕๒ มาตรา๑๕๔ มาตรา๑๕๕ มาตรา๑๕๖ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ คือ เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๓ มาตรา๑๕๗ มาตรา๑๕๙ มาตรา๑๖๔ เป็นต้น
    

 

หมายเลขบันทึก: 60420เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอบคุณครับสำหรับกฎหมายดีๆเป็นประโยชน์กับผมพอดีช่วงนี้

ชอบจังคะ

มีการค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่องสัญญาด้วย 

ค้นต่อในเืรื่องอื่น ด้วยซิคะ แล้วมา ลปรร. กัน 

สัญญาลูกผสมเป็นสัญญาที่เกิดจากความตกลงของกลุ่มบุคคลหรือ? ความจริงควรจะเป็นว่าเป็นสัญญาที่มีสองลักษัณขึ้นไปในสัญญาฉบับเดียว เช่นสัญญาเช่าซื้อ มีการเช่าและซื้อด้วย

**สัญญาลูกผสม (Collective Contract) : สัญญาที่เกิดขึ้นไม่มีลักษณะความผูกพันของสัญญาใดสัญญาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ข้อสัญญามีลักษณะพิเศษที่เชื่อมโยงและผสมผสานความผูกพันตามสัญญาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น

สัญญาบริการทัศนาการ

มีสัญญาย่อยหลายประเภทรวมกัน เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาให้บริการชมสถานที่ท่องเที่ยว สัญญาขนส่ง สัญญาฝากของ

อย่างนี้ถึงจะชัด ไม่ทราบว่าจะเห็นด้วยหรือเป่ลาคะ

สอบถามหน่อยค่ะว่ามีหนังสือสัญญาที่มีข้อตกลงกับสามี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท