การจัดการความรู้(เพิ่มเติม)


การที่องค์กรจะสร้างการจัดการความรู้นั้น ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานก่อนว่าต้องการให้ทิศทางของหน่วยงานไปในทิศทางใด ต้องทำอะไรแล้วจึงหากลไกในการจัดการความรู้ต่อไป .....เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและของทุกคน

การจัดการความรู้ควรเริ่มต้นอย่างไร


การที่องค์กรจะสร้างการจัดการความรู้นั้น ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานก่อนว่าต้องการให้ทิศทางของหน่วยงานไปในทิศทางใด ต้องทำอะไรแล้วจึงหากลไกในการจัดการความรู้ต่อไป การสร้างกลไกนั้นเริ่มแรกผู้บริหารต้องให้ข้อมูลความรู้ในการความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและของทุกคน เพื่อให้บุคลากรเข้าใจและให้การยอมรับการเปลี่ยนแปลงภายใน และให้ความร่วมมือในการสร้างผลผลิตที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดความรู้คืออะไร

ความรู้ อาจให้ความหมายได้แตกต่างกันตามที่องค์กรต่างๆ กำหนด แต่ความรู้ในความหมายของการจัดการความรู้ คือ ความรู้ของบุคลากรในองค์กรที่เกี่ยวกับลูกค้า ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ความสำเร็จ อุปสรรคขององค์กรที่ต้องมาจัดเก็บให้เป็นระบบ

 

ความหมายของการจัดการความรู้
The World Bank “
เป็นการรวบรวมวิธีการปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง การนำไปใช้ และการเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางธุรกิจ

จุดเน้น
ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการจัดเก็บระบบความรู้
กพร. “การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในส่วนของราชการ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงการแข่งขันสูงสุด

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้
1.
คน
2.
ความรู้
3.
องค์กร
4.
เทคโนโลยี
5.
กระบวนการ  คน       คนในที่นี่หมายถึง ผู้ปฏิบัติงาน ที่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง
ลูกค้า องค์กรต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นกับลูกค้า ตอบคำถามลูกค้าได้
คู่แข่งขัน/หุ้นส่วน ควรมีการแบ่งปันข้อมูล
ผู้นำ ต้องมีวิสัยทัศน์ ในการขับเคลื่อนองค์กรความรู้
ในที่นี่เป็นการสร้างความรู้ที่หลากหลาย เป็นรายบุคคล กลุ่ม ได้และควรบอกได้ว่าการที่ให้คนนั้นต้องทำอะไรบ้าง และความรู้ที่จะนำมาให้ติองเป็นในระดับสากล กลุ่มองค์กรต้องให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้

องค์กร
-
องค์กรควรมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าหน่วยงานต้องการจุดเน้นในเรื่องใด
-
วัฒนธรรมขององค์กรควรเปลี่ยนไปในลักษณะที่บุคคลต้องการแสวงหาความรู้ที่ตรงความต้องการ
-
กลยุทธ์ในการทำงาน การสร้างความรู้ต้องมีการปรับเปลี่ยน
-
โครงสร้างองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการจัดการความรู้เทคโนโลยี

การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน

 

กระบวนการ
ประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน กระบวนการของแต่ละหน่วยงานต้องออกแบบให้ชัดเจนแลเหมาะสมกับหน่วยงานประโยชน์ของการจัดการความรู้
1.
ปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้กับทุกส่วนขององค์กร
2.
สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเต็มที่
3.
เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ
4.
ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
5.
ให้ความสำคัญกับความรู้ของบุคลากรและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม
เป้าหมายของการจัดการความรู้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการจัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้ได้รับความรู้ ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ในการทำงานจริงหน่วยงานต้องพิจารณาที่จะต้องทำอย่างไรที่จะให้มีการถ่ายโอนความรู้ในการทำงานของคนเดิมไปสู่คนใหม่เพื่อให้การทำงานไม่ติดขัดหากมีการลาออกของคนเดิม

 

กระบวนการจัดการความรู้
1.
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) บุคคลควรต้องรู้ว่าต้องการความรู้อะไรในการทำงาน รู้จักการแสวงหาความรู้นั้น ควรมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
2.
การสร้างและการแสวงหาความรู้ ( Knowledge Creation and Acquistion ) บุคคลและองค์กรต้องพยายามหาความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ไปทั่วทั้งภายในและภายนอกองค์กร ไม่อยู่นิ่ง ๆ รอให้ความรู้เดินทางมาหา  เช่น การฝึกอบรม การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ชุมชนนักปฏิบัติ

3. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge ownledge Organization) เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ จัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร มีการเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงความต้องการ

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) ความสามารถในการเข้าถึงความรู้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ

6. การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ

7. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กรช่วยให้องค์กรดีขึ้น

ตัวอย่างของการจัดการความรู้ มีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดความรู้ มีการสำรวจความรู้ที่ต้องการให้เกิดก่อน
2.
รวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ เนื้อหาที่จะเป็นแหล่งความรู้
3.
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนยุทธศาสตร์แต่ละบุคคล
4.
แต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบ
5.
แสวงหาความรู้ในรูปแบบต่างๆ
6.
การจัดเก็บความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ มุมความรู้ บอร์ดความรู้ ฐานความรู้ คู่มือการปฏิบัติงาน แล้วแต่ที่หน่วยงานจะเห็นความเหมาะสม เพื่อให้บุคคลในองค์กรได้รับความรู้ได้สะดวกที่สุด

แนวคิดของการพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้
สังคมการจัดการศึกษาควรจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ คือ การจัดการภาระหน้าที่ที่ มุ่งเน้นผลลัพธ์หรือผลสัมฤทธิ์เป็นหลักโดยมีผลการปฏิบัติงาน ที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาในรูปธรรม ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสำรวจตนเองว่าต้องการรู้อะไรและศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความรู้และจัดเก็บให้เป็นระบบสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนด้รับความรู้อย่างแท้จริง

 

ผลผลิตและผลลัพธ์จาการจัดการความรู้
1.
เป็นนวัตกรรมที่ทำให้เราแตกต่างจากคนอื่น
2.
ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งขัน
3.
ทำให้เราเป็นผู้นำตลอดไป
4.
เป็นต้นแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
5.
เป็นผู้นำในการพัฒนาด้านสื่อการเรียนการสอน
6.
เป็นผู้นำ แกนนำในเครือข่ายการเรียนรู้

ขอขอบคุณ *** การจัดการความรู้ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์

ผมมีลิงค์ เกมส์เกี่ยว KM มาฝากครับhttp://www.si.mahidol.ac.th/km/soft_learning.htm#

หมายเลขบันทึก: 60416เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท