เรื่องเล่าของcounselor(1)


countertransference หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกทั้งด้านร่างกาย ความคิดและความรู้สึกของผู้ให้บริการดูแลรักษาที่มีต่อผู้ป่วยสถานการณ์หรือพฤติกรรมของผู้ป่วย

ช่วงวันที่6-10พฤศจิกายนที่ผ่านมา ฉันได้มีโอกาสไปเข้าร่วมสังเกตุการณ์และฝึกหัดเป็นผู้ช่วยวิทยากรในหลักสูตร(ภาษาไทย)"การให้คำปรึกษาก่อนและหลังการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี"ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ทางกลุ่มงานฯจะจัดอบรมแก่บุคลากรภายนอกสถาบัน ปีละ2ครั้ง เสียค่าใช้จ่ายในการอบรมคนละสองถึงสามพันกว่าบาท(ค่าลงทะเบียนนี้จะรวมค่าอาหารและเอกสาร) สำหรับครั้งนี้มีผู้สนใจมารับการอบรมทั้งหมด35รายซึ่งมีการขอเครดิตให้ด้วย(สำหรับพยาบาล)มีกติกาง่ายๆว่าถ้าอยู่อบรมจนครบทั้งหลักสูตรก็จะได้รับใบประกาศนียบัตรด้วย..ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหลายมีกิจกรรมทำด้วยกันและให้ความสนใจที่ดีมาก..บางคนทำงานเป็นผู้ให้การปรึกษาอยู่แล้วแต่ส่วนใหญ่เพิ่งจะมารับงานเกี่ยวกับเอดส์เมื่อไม่นานนี้...

ฉันอยากจะเล่าเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ฟังพี่เจี๊ยบ(พันธ์ทิพย์)สอนในหัวข้อCountertranferenceซึ่งเป็นเหมือนกับสิ่งที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำความเข้าใจและสื่อสารกับผู้รับบริการได้หากเรา(หมายถึงผู้ให้การปรึกษา:Co.)ไม่ได้ตระหนักถึง พี่เจี๊ยบยกตัวอย่างมาสองเรื่อง

เรื่องแรกเป็นเคสผู้ชายมีภรรยาและมีลูกน่ารักสองคน ต่อมาเคสได้ไปมีความสัมพันธ์นอกบ้านกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งมารู้ในเวลาต่อมาว่าผู้หญิงคนนี้เป็นผู้ติดเชื้อ(ซึ่งติดจากสามีเก่าที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ขณะนี้ผู้หญิงก็เริ่มมีอาการเจ็บป่วยอยู่)..หลังจากที่เคสหายกังวลและสับสนเกี่ยวกับสถานะการติดเชื้อของตนเองเขาและภรรยาก็ได้ทำการขอตรวจเลือดผลปรากฏว่าตัวเขาและภรรยาไม่ได้ติดเชื้อ ซึ่งเมื่อเขาทราบดังนั้นเขาก็ได้เปิดการพูดคุยกับภรรยาว่าเขาอยากจะขอไปอยู่กับผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีคนนั้น

..พี่เจี๊ยบถามให้พวกเราคิดก่อนจะเล่าเรื่องที่สองว่า"เรารู้สึกอย่างไรกับการตัดสินใจของเคสผู้ชายคนนี้...(นึกไว้ในใจก่อนนะคะยังไม่ต้องรีบตอบ)....

เรื่องที่สองเปลี่ยนเป็นเคสผู้หญิงบ้างเป็นเคสที่สมรสแล้วประมาณห้าถึงหกปีแต่ไม่มีบุตร  สามีก็ทำงานทำการดี ไม่มีปัญหาทะเลาะหรือขัดแย้งอะไรกัน..ต่อมามีเพื่อนร่วมงานชายคนหนึ่งก้าวเข้ามาเคสเผลอไปมีสัมพันธ์กับเขาแล้วก็มารับรู้ว่าเขาเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี...เพื่อนชายคนนี้นอกจากยุ่งเกี่ยวกับเธอแล้วเขายังมีภรรยาและคู่นอนอื่นๆอีก..เคสตัดสินใจเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้สามีทราบ..ทั้งสองคนมาตรวจเลือดและโชคดีที่ทั้งคู่มีผลเลือดเป็นปกติ..หลังจากนั้นอีกเกือบปีเคสกลับมาใหม่แจ้งให้รู้ว่าขณะนี้เธอกลับไปมีสัมพันธ์กับเพื่อนชายคนนั้นอีกและในครั้งนี้เธอคิดว่าจะตัดสินใจยอมเป็นอนุ(ภรรยาอีกคน)ของชายคนนั้น..จบเรื่องเล่าเรื่องที่สอง...

พี่เจี๊ยบถามถึงความรู้สึกของผู้ฟังว่าเรารู้สึกว่าในเรื่องเล่าทั้งสองเรื่องเรารู้สึกเห็นใจหรือตำหนิเคสไหนมากกว่ากันและเพราะว่าอะไร.

...มีหลายคนพึมพำเบาๆว่าไม่น่าเห็นใจเลยทั้งสองเคส..ถามเหตุผลบางคนที่คิดว่าเคสแรกน่าถูกตำหนิที่สุดเขาก็ว่า..เป็นหัวหน้าครอบครัวมีภรรยาและลูกแล้วทำไมไม่รู้จักรับผิดชอบ...ส่วนบางคนที่เห็นว่าเคสสองน่าถูกตำหนิมากกว่าก็บอกว่า..เป็นผู้หญิงมีสามีก็ดีอยู่แล้วทำไมจึงอยากไปเป็นน้อยเขา..(ผู้เข้ารับการอบรมส่วนมากเป็นผู้หญิงมีผู้ชายเพียงสามคนเท่านั้น)

พี่เจี๊ยบเล่าข้อมูลเสริมให้อีก

สำหรับเคสแรก..เมื่อได้พูดคุยลงลึกถึงความเป็นมาเป็นไปของเคสก็พบว่าการเริ่มต้นชีวิตคู่ของเขานั้นไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความรักหากแต่เป็นผู้ใหญ่จัดหาผู้หญิงเหมาะสมมาให้ เขาจึงไม่ได้รู้สึกมีความรักลึกซึ้งกับภรรยา หากแต่อยู่ด้วยกันตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ส่วนผู้หญิงที่ติดเชื้อคนที่เคสเลือกจะไปอยู่ด้วยนั้นก็คืออดีตแฟนเก่าของเขา ซึ่งเมื่อถูกแยกจับไปแต่งงานกับอีกคนทั้งคู่ได้มาเจอกันอีกครั้งในตอนที่สามีของผู้หญิงได้เสียชีวิตไปแล้วซึ่งตอนนี้ผู้หญิงกำลังป่วยหนัก เคสจึงมีความรู้สึกสงสารอยากที่จะใช้เวลาช่วงบั้นปลายชีวิตของผู้หญิงคนนี้อยู่ด้วยกัน ได้ดูแลกันซึ่งเคสมองว่าผู้หญิงคนนี้คงจะมีเวลาเหลืออยู่อีกไม่นานนักและในช่วงที่ระหว่างไปอยู่ด้วยกันกับผู้หญิงคนนี้เคสก็ยังคงทำงานและส่งเงินทองให้แก่ภรรยาและลูกเหมือนอย่างเดิม

ส่วนเคสสองจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่นพ่อไปอยู่กับอนุภรรยาคนหนึ่งทิ้งเธอและแม่ให้อยู่ต่อสู้ชีวิตกันตามลำพังแม่ดีใจเมื่อมีสามีส่งเถ้าแก่มาสู่ขอเธอ..สามีของเคสเป็นคนดีเหล้าไม่แตะบุหรี่ไม่สูบวันๆทำแต่งานเก็บสตางค์สร้างบ้านไม่มีการเอาอกเอาใจหรือหยอกเย้าแบบคู่รักทั้งก่อนและหลังแต่งงาน..ต่างจากเพื่อนชายที่ครบทุกเรื่องทั้งเหล้าบุหรี่ผู้หญิงแต่เขาเอาใจเก่งและมีsex appeal รวมถึงsexaul practiceที่เหนือกว่าสามีหลายเท่า..ทั้งๆที่รู้ว่าอยู่กับสามีเธอจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีเกียรติ แต่ถ้าเลือกเพื่อนชายนอกจากจะเหนื่อยใจกับคำติฉินนินทาจากคนแวดล้อมแล้วเพื่อนชายก็ไม่สามารถรับรองหรือสร้างฐานะที่มั่นคงใดๆให้แก่เธอได้..แต่เธอก็ไม่อยากจะฝืนต่อความต้องการของตัวเธอเองเช่นกัน

มาถึงตรงนี้แล้วจากที่รับรู้เรื่องของเคสทั้งสองในช่วงตอนแรก..เปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้เพิ่มเติม..ความคิดเห็นและความรู้สึกต่อเคสยังคงเหมือนเดิมหรือว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง..อยากเชื้อเชิญให้ร่วมแลกเปลี่ยนกัน...

ส่วนรูปแบบของเจ้าCountertranference 10กว่าแบบจะแนะนำให้รู้จักในตอนหน้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 60389เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท