การจัดการความรู้ขององค์กร


การจัดการความรู้กับกรมสุขภาพจิต

สาส์นจากอธิบดีกรมสุขภาพจิต ( นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์)

การพัฒนาศักยภาพขององค์กรและความสามารถของบุคลากรให้ก้าวรุดไปข้างหน้าจำเป็นต้องมีเครื่องมือและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันการจัดการความรู้เป็นเทคนิควิธีการสำคัญวิธีหนึ่งที่จะช่วยถอดความรู้ที่มีอยู่ในระดับบุคคลไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานระดับองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
ในปี 2549 เป็นปีแรกของการจัดการความรู้ของกรมสุขภาพจิต ความรู้ที่สำคัญและกรมสุขภาพจิตมีประสบการณ์ดำเนินการมายาวนานจนสามารถสรุปภาพความสำเร็จได้เรื่องหนึ่งคือ สุขภาพจิตชุมชน นอกจากนี้เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ ก็เป็นเรื่องที่มีแนวทางปฏิบัติชัดเจนและแนวโน้มที่จะนำไปใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น กรมสุขภาพจิตจึงได้กำหนดนโยบายให้มีการจัดการความรู้ใน 2 เรื่องนี้ขึ้น

ทั้งนี้ความพร้อมและการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกันของหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิตจะช่วยให้การจัดการความรู้มีความสมบูรณ์และนำไปสู่การพัฒนาคน และพัฒนาองค์กรได้
การจัดการความรู้ซึ่งเป็นวิธี้ในการแปลงประสบการณ์มาเป็นความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของกรมสุขภาพจิตในอนาคต เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องการผู้ที่จะเข้ามาร่วมผลักดันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ก็ไม่เป็นสิ่งที่ยากลำบากเกินกว่าพวกเราจะดำเนินการให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้

Knowledge Officer) รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต (นพ.วชิระ เพ็งจันทร์) การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือและวิธีการที่ดีที่จะทำให้ความรู้ในตัวบุคคลได้ถูกนำมาบันทึกและใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระของงาน พัฒนาคน ทำงานบนพื้นฐานความรู้ พัฒนาระบบการทำงานมุ่งสู่การพัฒนากรมสุขภาพจิต สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด องค์กรอื่น ในฐานะหัวหน้าผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ในกรมสุขภาพจิต ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ 5 ด้าน คือ กระบวนการจัดการความรู้ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมเรื่องการจัดการความรู้ เทคโนโลยีการจัดการความรู้ และ การวัดผลการจัดการความรู้ ปัจจัยที่เป็นจุดแข็งของกรมสุขภาพจิตคือ ผู้นำกรมสุขภาพจิตตระหนักว่าความรู้ที่มีเป็นสินทรัพย์มีประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร และได้กำหนดให้การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อน องค์กรมีเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ได้ทำให้ทุกคนสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึงถึงแม้ว่าหน่วยงานจะกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศก็ตาม และมีวัฒนธรรมในการจัดการความรู้ ส่วนจุดอ่อนที่พบคือ กระบวนการจัดการความรู้ การถ่ายทอด Best Practice อย่างเป็นระบบ การมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆในระดับ Best Practice จาก เป้าหมายในปี 2549 กรมสุขภาพจิตได้กำหนดให้มีการจัดการความรู้ 2 ประเด็นคือ สุขภาพจิตชุมชนและสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ ซึ่งกรมสุขภาพจิตต้องมีหน่วยนำร่องที่มีการจัดการความรู้ด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้และเทคโนโลยีสุขภาพจิต 1 หน่วย และมีคลังความรู้ด้านสุขภาพจิตชุมชนและสุขภาพจิตภัยพิบัติ เป็นที่หวังว่าการสร้างความเข้มแข็งกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน และการสนับสนุนติดตามอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ได้ในที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 60363เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท