การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบขับถ่ายปัสสาวะ


การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาของระบบขับถ่ายปัสสาวะ เทคนิคของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น

การตรวจทางรังสีของระบบทางเดินปัสสาวะ

Intra-venous Pyelography

                เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยของระบบขับถ่ายปัสสาวะโดยอาศัยหน้าที่ของไตที่ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยฉีดสารทึบรังสี (สี=เป็นภาษาชาวบ้านใช้กัน) เข้าไปในร่างกายทางเส้นเลือดดำจากนั้นทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ซึ่งจะมีการกำหนดเวลาถ่ายภาพ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ (คนไข้ที่มาตรวจจะมีโรค/อาการพวกนี้)

1.นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

2.เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Infection) ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย

3.มีการบาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ

4.เป็นโรคทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด(Congenital abnormaly)

5.โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

6.ปัสสาวะเป็นเลือด

การเตรียมตัวผู้ป่วย

  -  ก่อนวันตรวจ

1. รับประทานอาหารอ่อนๆในมื้อ เช้า กลางวัน เย็น

2. เมื้อเย็นให้รับประทานอาหารให้เสร็จก่อน18.00 น.

3.เด็กอายุต่ำกว่า 10ปี ไม่ต้องกินยาระบาย,เด็กอายุ 10 ปีขึ้นไปกินยาระบาย 1 ช้อนโต๊ะ, ผู้ใหญ่กินยาระบาย(น้ำมันละหุ่ง) 1 ขวดก่อนนอน 20.00 น.

4.หลังเที่ยงคืนงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม(NPO)

  - วันตรวจ

1. ผู้ใหญ่ NPO จนกว่าจะเสร็จ

2. เด็กเล็ก NPO ตั้งแต่ 05.00 น.

  - หลังตรวจ

1. ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามปกติและให้ดื่มน้ำมากๆประมาณ 2,000-3,000 CC ใน24 ชั่งโมงแรก

เทคนิคในการตรวจและขั้นตอนการตรวจ

1. Scout film for KUB

           สำหรับเช็ค Position ,Exposure ,Anatomy ของผู้ป่วย

2. Contrast Admistration

          ทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าเส้นเลือดดำ

3. Film at 1,3 Mins,Supine

          ดู outline ของไต

4.  Film at 10 MIns, Prone and Supine

          เพื่อดู Ureter นอนคว่ำเพื่อดู Ureter ชัด บางแห่งอาจนอนหงายและใช้ Compression Band กดก็ได้

5.  Film at 25 Mins,Supine

          เพื่อดูระบบขับถ่ายปัสสาวะทั้งหมดโดยเน้นที่ Urinary Bladder

6. Film at Full bladder,Supine บางครั้งอาจมีท่า Oblique เพิ่ม

7. Film at Post Voiding,Supine

                      ซึ่งเทคนิคแต่ละที่ไม่เหมือนกันในที่นี้เป็นเทคนิคจากแหล่งฝึกงานของผู้เขียนคือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 60356เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • หลังตรวจ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามปกติและให้ดื่มน้ำมากๆประมาณ 2,000-3,000 CC ใน 24 ชั่งโมงแรก  อยากทราบว่า ทำไมต้องดื่มน้ำมากๆ ขนาดนั้นคะ?
  • สารทึบรังสีที่ใช้ในโรงพยาบาลนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไรคะ  มีอันตรายอะไรมั้ยค่ะ  ฉีดเข้าเส้นเลือดดำตรงไหน (อยากรู้ด้วยนะคะว่าเส้นเลือดชื่ออะไร)  แล้วฉีดมากไหมคะ?
  • นอนคว่ำเพื่อดู Ureter ชัด เพราะอะไรคะ
  • บางแห่งอาจนอนหงายและใช้ Compression Band กดก็ได้ กดทำไมคะ
  • IVU ชื่อป้ายนี้ คืออะไรคะ?

 

Q:หลังตรวจ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามปกติและให้ดื่มน้ำมากๆประมาณ 2,000-3,000 CC ใน 24 ชั่งโมงแรก อยากทราบว่า ทำไมต้องดื่มน้ำมากๆ ขนาดนั้นคะ? A:- ดื่มน้ำมากๆเนื่องจากน้ำที่ดื่มเข้าไปจะช่วยชะล้างให้สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปตอนตรวจออกมาจากร่างกายผู้ป่วยซึ่งให้ดื่มประมาณ2-3ลิตรใน 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยได้ Q:สารทึบรังสีที่ใช้ในโรงพยาบาลนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไรคะ มีอันตรายอะไรมั้ยค่ะ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำตรงไหน (อยากรู้ด้วยนะคะว่าเส้นเลือดชื่ออะไร) แล้วฉีดมากไหมคะ? A:- สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ IVP จะเป็นสารชนิด water soluble contrast media ซึ่งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ใช้มีหลายตัวแต่หลักที่ใช้จะเป็น Iopamiro(iopamidol),Ultravist (iopromide),Omnipaque(iohexol) โดยสารทึบรังสีพวกนี้จะเป็นสารประกอบที่เป็นชนิด Non Ionic จะฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อาหารทะเล ส่วนผู้ป่วยที่ไม่แพ้จะใช้ชนิด Ionic คือ Telebrix,Hexabrix อัตราในการใช้คือ 300I/1kg แล้วแต่น้ำหนักตัวผู้ป่วย โดยสามารถ Assume ได้ว่า 1ml/1kg แต่ส่วนใหญที่ใช้จะให้ 50 ml เลยเพราะขวดหนึ่งจะมี 50 ml จะได้ไม่เหลือและไม่ต้องตวง - การฉีดสารทึบรังสีอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนได้(Complication of contrast media) ส่วนมากภาวะแทรกซ้อนจากสารทึบรังสีนี้เกิดขึ้นจากการแพ้สารทึบรังสีจำพวกไอโอดีน การแพ้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เช่น ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา,อาหารทะเล จะมีโอกาสแพ้สารทึบรังสีได้มากกว่าคนที่ไม่เคยมีประวัติแพ้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย ซึ่งสามารถแบ่งตามอาการแพ้สารทึบรังสีได้ 3 ขั้น ดังนี้ 1. Common adverse effect ผู้ป่วยจะรูสึกร้อน,แดงที่หน้า(Flushing),Metalic sensation เกิดขึ้นในคอหรือในปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้มักพบบ่อยและสามารถหายได้เอง 2. Mild reaction ไอ จาม ลมพิษ คันแบบรุนแรง น้ำหูน้ำตาไหล อาการเหล่านี้ไม่ต้องตกใจแพทย์อาจสังเกตุการและให้ยาต้านฮีสตามีน 3. Severe adverse reaction ความดันเลือดต่ำ กล่องเสียงบวม หลอดลมเกร็งตัวอย่างรุนแรง ปอดบวมน้ำ และหัวใจหยุดเต้น อาการเหล่านี้เป็นอันตรายต่อชีวิตการรักษษโดยฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นควรมียาและเครื่องมือฉุกเฉินให้พร้อมในห้องตรวจและที่สำคัญการตรวจชนิดนี้จะต้องมีการเซ็นใบยอนยอมการตรวจด้วย - ฉีดเข้าเส้นเลือด Medial cubital Vein หรือ Radial Vein หรือ ฉีดเข้าบริเวณหลังมือ Q:นอนคว่ำเพื่อดู Ureter ชัด เพราะอะไรคะ บางแห่งอาจนอนหงายและใช้ Compression Band กดก็ได้ กดทำไมคะ A:เนื่องจากกายวิภาคศาสตร์ของไตมีลักษณะโค้งเว้าไปทางด้านหน้าเหมือนท้องช้าง เมื่อให้ผู้ป่วยนอนคว่ำสารทึบรังสีที่ไหลจากไตจะไหลลงข้างล่างได้พอจะขึ้นก็จะขึ้นไม่ได้จึงทำให้เห็นพยาธิสภาพของ Uretopelvis ได้ชัดเจน หรือถ้าให้ผู้ป่ววยนอนหงายก็ใช้ Compression Band กดประมาณบริเวณ ASIS ซึ่ง Ureter จะโดนกดจึงทำให้สารทึบรังสีไหลลงมาได้ทำให้เห็นUretopelvis ได้ชัด จุดประสงค์ในที่นี้เพื่อดู Upper Ureter Q:IVU ชื่อป้ายนี้ คืออะไรคะ? A:ย่อมาจาก Intra-venous Urography
  • ที่ว่า "ควรมียาและเครื่องมือฉุกเฉินให้พร้อมในห้องตรวจ "  อยากทราบว่า ต้องมียาและเครื่องมืออะไรบ้าง  เอาไว้ใช้กรณีใดบ้างคะ?

          เคยประสบเหตุการณ์จริงๆ ที่คนไข้แพ้ยาบ้างไหมคะ ถ้าเคยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ  เอาแบบจริงๆ ไม่อิงตำรา  (ถ้ายังไม่เคยก็ไม่เป็นไร)

  • ที่ว่า "และที่สำคัญการตรวจชนิดนี้จะต้องมีการเซ็นใบยินยอมการตรวจด้วย"  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่เซ็นได้ ให้คนอื่นเซ็นได้ไหมคะ  คนที่เซ็นแทนต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยแค่ไหนคะ? 

 

  • จากการเรียนในภาคทฤษฎี  เหมือนกับที่ปฏิบัติจริงในการฝึกงานหรือไม่ อย่างไรคะ  ฝึกงานแล้วได้ทราบอะไรเพิ่มเติมที่ไม่มีในตำราบ้างไหมคะ?
Q:   ที่ว่า "ควรมียาและเครื่องมือฉุกเฉินให้พร้อมในห้องตรวจ "  อยากทราบว่า ต้องมียาและเครื่องมืออะไรบ้าง  เอาไว้ใช้กรณีใดบ้างคะ?A:   ยาและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใน ER set  มีดังนี้          เรียกสั้นๆ ว่า ABCD มีรายละเอียดดังนี้คือ                A=Airway เช่นพวก Larygophrynx Scope, ET tube ,ออกซิเจน Canular Mask, Monitor, DefibulatorB=Breath เช่น AmbuBag                C=Circulation เช่น เครื่องเปิด IVD=Drug คือ พวกยาต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น Adrenaline ยาตัวนี้จะช่วยให้หัวใจเต้นเพิ่มขึ้น1.       Atropine ทำให้ HR เพิ่มขึ้น2.       Dextrose ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยหมดสติ dextrose ในร่างกายจะลดลงจึงต้องให้ dextrose เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่หมดสติ3.       Cordarone เป็นยาที่รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งมีราคาแพงมา รพ.ระดับอำเภอจะไม่มีหรือ รพ.ระดับจังหวัดบางแห่งก็ไม่มีเช่นกัน4.       Sodium Bicarbonate เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาหรือช็อกในร่างกายจะมีภาวะเป็นกรดทำให้เซลล์ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มสารที่เป็นเบสเข้าไปซึ่งจะทำให้เซลล์ทำงานได้ปกติ5.       Diazepam  เป็นยานอนหลับ หรือ SedativeQ:   เคยประสบเหตุการณ์จริงๆ ที่คนไข้แพ้ยาบ้างไหมคะ ถ้าเคยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ  เอาแบบจริงๆ ไม่อิงตำรา  (ถ้ายังไม่เคยก็ไม่เป็นไร)A:   ตั้งแต่ทำ case มายังไม่เคยเจอผู้ป่วยที่มีอาการแพ้มากๆ เลย มากที่สุดที่เคยเจอมา คือมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าผู้ป่วยคนไหนเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีจะฉีดยาแก้แพ้สารทึบรังสีให้ผู้ป่วยก่อนฉีดสารทึบรังสีQ:  ที่ว่า "และที่สำคัญการตรวจชนิดนี้จะต้องมีการเซ็นใบยินยอมการตรวจด้วย"  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่เซ็นได้ ให้คนอื่นเซ็นได้ไหมคะ  คนที่เซ็นแทนต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยแค่ไหนคะ?  A:   ให้คนอื่นเซ็นได้ครับ ญาติผู้ป่วยสามารถเซ็นยินยอมให้ได้โดยต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะด้วยQ:   จากการเรียนในภาคทฤษฎี  เหมือนกับที่ปฏิบัติจริงในการฝึกงานหรือไม่ อย่างไรคะ  ฝึกงานแล้วได้ทราบอะไรเพิ่มเติมที่ไม่มีในตำราบ้างไหมคะ?A:   ตอนนี้ผมได้ฝึก Special  ซึ่งก็จะมีต่างตรงเทคนิคที่ใช้โดยแต่ละที่แต่ละแห่งเทคนิคก็ไม่เหมือนกัน(จากประสบการณ์และถามเพื่อนๆ ที่เคยฝึกงานจากต่าง รพ.) สิ่งที่เพิ่มจากการเรียนคือ การตรวจ ต่อมน้ำตา หรือDacrygogram ซึ่งเพิ่งจะมาเห็นและได้ยินชื่อจากที่นี้เป็นครั้งแรก

          อาจารย์ได้เรียนรู้มากๆ เลยค่ะ  และเหมือนได้ทบทวนเรื่องเก่าที่ลืมไปแล้ว

          ขอขอบคุณจีรศักดิ์มากนะคะ

          อยากให้นิสิตท่านอื่นๆ ที่กำลังฝึกงานอยู่ สมัครเปิด Blog อย่างนี้บ้าง  และถ่ายทอดประสบการณ์การฝึกงาน  หรือเรื่องราวที่ประทับใจต่างๆ ในแต่ละวัน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

          อย่างน้อยสัปดาห์ละเรื่องก็ยังดี

          อาจารย์จะคอยติดตามถามไถ่ เหมือนได้นิเทศงานนิสิตทุกวัน

          จีรศักดิ์ เล่าต่อไปนะคะ ชวนเพื่อนๆ มาเล่าด้วย  อาจารย์คอยอยู่.......

           

เพิ่มเติมนะครับ

  • ในบางกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ IVP ได้ เช่นเกิดการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ (Ureter) จะมีการตรวจอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า RP (Retrograde Pyelography)
  • ........................................................................
  • Retrograde Pyelography หรือ เรียกสั้นๆ ว่า อาร์พี คือการตรวจพิเศษของระบบขับถ่ายปัสสาวะ โดยมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปทางท่อทางเดินปัสสาวะ(Urethra) ย้อนกลับขึ้นไปกระเพาะปัสสาวะ (Urinary Bladder) -->ท่อไต(Ureter)-->ไต (Kidney) แล้วทำการถ่ายภาพรังสี
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มี Lesion ใดๆ เมื่อฉีดสารทึบรังสีขึ้นไปแล้วสารทึบรังสีจะไม่ไหลย้อนกลับ
  • ปริมาณสารทึบรังสี จะคล้ายกับการทำ IVP แต่จะใช้ปริมาณน้อยกว่าเพราะจะเป็นการฉีดเข้าไปตรงอวัยวะโดยตรง ซึ่งในที่นี้จะใช้ประมาณ ท่าละ 5 cc
  • เทคนิคที่ใช้ คือ ถ่ายภาพหลังฉีดสารทึบรังสีท่า KUB Supine โดยให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนหัวต่ำ (Tedenlenburge)  หรือ Oblique แล้วแต่กรณี

 

ที่โรงพยาบาลกำลังจะทำครับ(30เตียง) ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา(กระเหรี่ยง)การซักประวัติว่าเคยแพ้อาหารทะเลหรือไม่ แทบจะไม่มีความหมายอะไรเพราะเขาไม่เคยได้กินอาหารทะเลเลย (ส่วนใหญ่นะ) ผมจะถามว่าการที่ฉีด test dose ว่าผู้ป่วยแพ้CM หรือไม่ มีความน่าเ่ชื่อถือหรือไม่ และทำอย่างไร

สวัสดีครับคุณ จนท.รังสีการแพทย์ ขอโทษทีนะครับที่ตอบช้าไปหน่อยครับ เรื่องการ Test Dose ผู้ป่วยที่ผมได้ศึกษามาในกรณีที่ผู้ป่วยสื่อสารกับเราไม่รู้เรื่องในกรณีของคุณ มีวิธีการทดสอบหลายแบบเหมือนกันนะครับ แต่ผมว่าวิธีนี้น่าจะดีที่สุดง่ายๆ และไม่มี Effect มาก กับผู้ป่วย คือแค่หยด Contrast media ที่ลิ้นหนึ่งหยด และสังเกตุอาการประมาณ 1-2 นาที่ ว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอะไรไหมก็น่าจะใช้ได้แล้วนะครับ หรืออาจจะฉีดเข้าทาง IV ใช้ Dose ประมาณ 1 ml  ก็เป็นอีกวิธีซึ่งวิธีแรก ข้อดีคือไม่ต้อง Invasive ผู้ป่วยซึ่งผู้ป่วยก็ไม่ต้องเจ็บตัว ก็มีความรู้ที่ศึกษามาก็ประมาณนี้ครับ ไม่ทราบจะมีประโยชน์ให้คุณมากหรือน้อย หวังว่าคงได้ใช้ประโยชน์นะครับ

พี่เสก ไฮ- คอนโซล อิอิ
อาการแพ้สารทึบรังสีได้ 3 ขั้น ดังนี้ 1. Common adverse effect ผู้ป่วยจะรูสึกร้อน,แดงที่หน้า(Flushing),Metalic sensation เกิดขึ้นในคอหรือในปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้มักพบบ่อยและสามารถหายได้เอง 2. Mild reaction ไอ จาม ลมพิษ คันแบบรุนแรง น้ำหูน้ำตาไหล อาการเหล่านี้ไม่ต้องตกใจแพทย์อาจสังเกตุการและให้ยาต้านฮีสตามีน 3. Severe adverse reaction ความดันเลือดต่ำ กล่องเสียงบวม หลอดลมเกร็งตัวอย่างรุนแรง ปอดบวมน้ำ และหัวใจหยุดเต้น  น้องครับ อาการที่ว่านี้ น้องอ้างอิงมาจากตำราเล่มไหนครับ พี่รบกวนขอได้ไหมครับ  พี่จะเอาไปเขียนวิชาการครับ ขอบคุณครับ

ข้อมูลที่ได้เป็นเอกสารประกอบการเรียน และ Lecture ตอนเรียนปริญญาตรีครับ อาจารย์ผู้สอนคืออาจารย์ประธาน วงค์ตาหล้า ม.นเรศวรครับ

สวัสดีค่ะ น้องทำงานอยู่ทางด้านสา'สุขเหมือนกันค่ะ เป็นพยาบาลค่ะ และน้องกำลังจะเข้ารับการตรวจ IVP อีกประมาณ 1 อาทิตย์ค่ะ กลัว S/E เหมือนกันค่ะ อาจจะคิดมากไปรึเปล่าก็ไม่รู้ แต่น้องไม่ใช่คนแพ้ง่าย อาหารทะเลก็กินประจำ คงไม่มีอะไรต้องกลัวใช่ไหมค่ะ Cr ของน้อง=1 ค่ะ เป็นนิ่วได้ประมาณ 10 ปีแล้วค่ะ กังวลเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

คุณหมอ(คงเป็นแล้วซิค่ะ)ขอโทษด้วยน่ะค่ะ ถ้าทำให้คุณหมอไม่พอใจ คือว่าดิฉัน กำลังอยากได้ข้อมูลเรื่อง Retrograde pyelography,voiding cystoUrethrographyและเรื่อง IVP. น่ะค่ะ ทีมีทั้งข้อบ่งชี้ในแต่ละเรื่องและรวมถึงการพยาบาลก่อนและหลังการตรวจด้วยระค่ะ คือไม่ทราบว่าจะได้หรือเปล่าค่ะ? แบบว่าอย่างเร่งด่วนน่ะค่ะ ยังไงก้อขอขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ ... จามาใหม่พรุ่งนี้น่ะค่ะ

(ได้เข้ามาดูหรือเปล่าค่ะเนี่ย?)

เข้ามาสักหน่อยเถอะค่ะ อยากได้มาก ๆ เลยค่ะ

วันที่ 12 พ.ย. 51

จาเข้ามาดูน่ะ

อยากได้จิง ๆ ค๊าบบบ

สวัสดีครับคุณ nada ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่หมอ ซึ่งกำลังเรียนฟิสิกส์การแพทย์ครับ เรื่องทาง Clinical ก็จะไม่ทราบมากเท่าไรนักครับ แต่ก็ได้หาตำรา (รังสีวิทยาคลินิก ม.ขอนแก่น) มานิดหน่อยในเรื่องข้อบงชี้ครับมีดังนี้

  • IVP ข้อบ่งชี้---ใช้ในการตรวจเพื่อบอกความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะหลายๆอย่าง ได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิด ปัสสาวะเป็นเลือด อุบัติเหตุต่อระบบทางเดนอาหาร มีก้อนทูม (Tumor) ภาวะติดเชื้อ หรือดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   ข้อห้าม---ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสีไอโอดีน, ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต, ผู้ป่วยไตวาย มี BUN สูงกว่า 100 mg และผู้ป่วย Multiple myeloma
  • Retrograde pyelography---ในกรณีที่สงสัยพยาธิสภาพจากการทำ IVP สามารถบอกตำแหน่งอุดตันของทางเดินปัสสาวะได้จะสามารถเห็น Collecting system ได้ชัดเจน
  • Voiding cytourethrogrphy---สามารถดู Anatomy และ Function ของ Micturation บอกพยาธิสภาพของ Bladder neck ตรวจพบ Vesicoureteral reflux ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซำระบบทางเดินปัสสาวะ

ส่วนการพยาบาลก่อนและหลังผมไม่แน่ใจ ขอไม่ตอบแล้วกันครับ เนื่องจากผมไม่มีประสบการณ์ในการทำงานในรังสีวินิจฉัยของการตรวจพิเศษ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย

แนะนำควรที่จะสอบถามกับรังสีแพทย์ทางด้านรังสีวินิจฉัยครับ

 

เย้ๆๆ

ขอบใจมากน่ะค่ะ

ไม่เป็นไรค่ะ ไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ

ค่า...ต้องขอขอบคุณมากน่ะค่ะที่สละเวลาตอบน่ะค่ะ

ถ้ามีเรื่องข้องใจไรอีกเนี่ย

จาขอความช่วยเหลืออีกน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ซ่าแอบมาทำไว้เมื่อไหร่อ่ะ

เพื่อนมาหาข้อมูลไปทำ consense form ใหม่ของโรงบาลเลยมาเจอตกใจเลย

รุ่นน้องที่มน.เองค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับข้อมูลที่มาให้ความรู้

แอบเอาข้อมูลไปทำรายงานด้วยแหละค่ะ

...^____^...

..รังสี มน.ค่ะ...ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ

สอบถามหน่อยค่ะ จะเอกซเรย์ อีก 10วันข้างหน้าค่ะ ทำไมคุณหมอต้องให้ยา เน็กลอง

และยาแก้แพ้ ดิฉันบอกว่าแพ้อาหารทะเลค่ะ และเป็น SLE ค่ะ ตอนนี้กลัวมากค่ะ ไม่อยากไปเอ็กเลย แต่ก็กลัวไม่หาย จะเอกซเรย์ปอดค่ะ กลัวมากค่ะและอีกอย่างเห็นบอกว่าจะต้องฉีดสารทึบรังสีด้วย กลัวแพ้ค่ะ คิดว่าจะไม่ไปตามนัดค่ะเพราะกลัวแพ้ และดิฉันเป็นภูมิแพ้ตนเองด้วยไม่ไปกันใหญ่หรือค่ะ ช่วยตอบด้วยค่ะ ตรวจที่ ร..รามาค่ะ แต่ยอมรับค่ะว่ากลัวจริงๆ ตอบด้วยค่ะ

- ขอออกตัวก่อนนะครับว่าทางคลินิกผมไม่ค่อยสันทัดเท่าไร

- ผมงงนิดหน่อยกับคำถาม แต่ที่เข้าใจนะครับ รังสัเอกซเรย์ไม่ได้เป็นตัวที่จะทำให้เกิดการแพ้แต่อย่างไรแต่ตัวที่จะทำให้เกิดการแพ้คือสารประกอบที่ใช้ในการร่วมตรวจครับ ที่เรียกว่าสารทึบรังสี (Contrast media) นะครับ เนื่องจากมันมีสารประกอบไอโอดีน ซึ่งจะสามารถทำให้เห็นรอยโรคได้ชัดขึ้นครับ

- อย่างไรก็ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ครับ ในเรื่องของการแพ้สารทึบรังสี

และควรชั่งใจว่าการตรวจที่มีโอกาสแพ้สารทึบรังสีเพื่อทราบแนวทางการรักษากับการทรมาณเพราะโรคหรืออาการที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคุณแย่ลงครับ

- ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคุณเป็นโรคอะไรครับ แต่ความรู้ที่มีอยู่ในกรณีคนไข้แพ้อาหารทะเลซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีที่ใช้ประกอบการตรวจโดยสารทึบรังสีมีชนิดที่เป็นไอออน (Ionic contrast media)จะมีโอกาสแพ้ได้มากกว่าชนิดที่ไม่เป็นไอออน (Non Ionic contrast media)ซึ่งแพทย์จะใช้พวก Non ionic contrast media มากว่าในกรณีคนไข้แพ้และจำเป็นที่จะต้องตรวจ หรือถ้าในกรณีที่คนไข้แพ้สารทึบรังสีจริงๆ อาจจะส่งตรวจด้วยเครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ที่โอกาสการแพ้กับสารประกอบที่ร่วมในการตรวจจะน้อยกว่ามากๆ ซึ่งก็จะทำการตรวจทดแทนได้ในบางโรค

-อย่างไรควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ว่าโอกาสการแพ้มีมากน้อยแค่ไหนรวมถึงความรุงแรงที่จะเกิดและผลดีหรือผลเสียที่จะตามมาครับ

หนูดา นักศึกษาพยาบาลปี 3

คือแบบว่าสืบค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ แต่มีกำหนดส่งงาน 28 สิงหาคม 52 อ่ะค่ะ

อ่านแล้วเป็นความหวังเล็ก ๆ น่ะค่ะ

คือได้รับหัวข้อมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ การพยาบาลผู้ป่วยก่อน-หลัง Plain KUB

รบกวนด้วยน่ะค่ะ

- การพยาบาลผมก็ไม่สันทัดเท่าไรนะครับ แต่ว่าหลักการการถ่าย Plain KUB คือต้องการเห็นภาพเอกซเรย์ Kidney, Ureter และ Bladder ชัดเจน นะครับดังนั้นในตัวคนไข้ควรน่าจะไม่มีอุจจาระใน Bowel ทีจะบังจึงควรมีวิธีการจัดการพวกนี้นะครับ

- ตัดเรื่องการแพ้สารทึบรังสีไปเลยนะครับเพราะ Plain film จะไม่มีการใช้สารทึบรังสีครับ

ที่ทราบก็ประมาณนี้แหล่ะครับ

รบกวนสอบถามนิดนึงว่า

ถ้าคนไข้เคยฉีด IVP แล้วแพ้ ถ้าหมอนัดให้ทำ Retrograde Pyelography จะสามารถทำได้หรือไม่

รบกวนด้วยนะเพราะหมอนัดใกล้มาแล้ว แต่กังวลมากเลย คนไข้ต้องใส่ cate + ปัสสาวะเองไม่ได้

สวัสดีค่ะคืออยากทราบการเตรียมตัวก่อนการตรวจ Retrograde Pyelography ค่ะ ต้องการข้อมูลไปทำรายงานค่ะ รบกวนด้วยนะค่ะ

อยากทราบว่า ค่า serum Cr เท่าไหร่ถึงจะทำ IVP ค่ะ

จาก จนท.รังสีเทคนิค อยากทราบว่าสารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปมีผลต่อไตมากน้อยเพียงใดคะ

ขอรบกวนหน่อยนะค่ะ คือญาติได้ไปฉีดสีเอ็กซเรย์ และส่องกล้องและฉายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์และฉีดสี สาร ultravist 370 แล้วกลับมามีอาการร้อนในท้องและปวดบริเวณเอวอาเจียนและเบื่ออาหาร เป็นอาการแพ้สารนี้หรือไม่ค่ะ และจะมีวิธีการแก้ไขหรือต้องปฏิบัติตัวอย่างไรให้หายค่ะ เพราะจากการสังเกตุเมื่อไปฉีดสีมาก็จะมีอาการแบบนี้ รบกวนช่วยตอบหน่อยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ

ขออนุญาตเรียนถามคืออีก7วันดิฉันเจ็บบริเวณมดลูกปีกรังไข่(ตรวจภายในไม่พบมะเร็ง)แต่ยังมีอาการเจ็บบริเวณดังกล่าวคุณหมอ รพ.รัฐบาลสั่งตรวจโดยจะฉีดสี Nonionic CM add 100ml. โดยทำCT Whole Abdomen คำถามคือ จะมีอันตรายต่อเส้นประสาทจอตา หรือเปล่าคะเพราะดิฉันเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมอยุ่ค่ะ เลยกังวัลว่าการฉีดสีเส้นเลือดดำจะมีผลต่อเส้นเลือดจอประสาทตากลัวทำแล้วลูกตาแย่ลงอีกค่ะ คุณหมอกรุณาตอบด้วยนะคะกลัวอยุ่คะ [email protected]

หรือLine Id.samosa27 กัญญา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท