การจัดการความรู้


การจัดการความรู้ (Knowledge Management-KM)


               การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3
ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการ
พัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง
เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะ
เกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดําเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง

แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้

               แรงจูงใจแท้ต่อการดําเนินการจัดการความรู้ คือ เป้่าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสําคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสําเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมต่อการดําเนินการจัดการความรู้ในสังคม
ไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นําไปสู่การทําการจัดการความรู้แบบเทียม และนําไปสู่ความล้มเหลวใน
ที่สุด เช่น ทําเพราะถูกบังคับตามข้อกําหนด กล่าวคือ ทําเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทํา หรือทําเพื่อชื่อเสียง ทําให้ภาพ
ลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร
(HRD) หน่วยสื่อสาร และสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการ
สร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดู
ทันสมัย เป็นแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดําเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง

ประเภทความรู้

               ความรู้อาจแบ่งใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ
๑. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตํารา คู่มือ
    ปฏิบัติงาน
๒. ความรู้ซ่อนเร็น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็น
    ภูมิปัญญา

               โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
+ การจัดการ “ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนําไปใช้แล้วเกิด
   ความรู้ใหม่ ก็นํามาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป)
+ การจัดการ “ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทําให้เกิด
การเรียนรู้ร่วมกัน อันนําไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนําไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป
(ดูวงจรทางขวาในรูป)

               ในชีวิตจริง ความรู้ ๒ ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็
ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit
ที่มา -http://www.cu-qa.chula.ac.th/Learn_Share/KM/km_forum.htm
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 60348เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท