สรุปบทเรียนการดำเนินงาน KM เมืองนคร ตอนที่12


คุณกิจครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเหมือน ๆกันมาเรียนรู้และกำหนดเป้าหมายในการที่จะพัฒนาอาชีพร่วมกันและได้ร่วมหาแนวทางในการที่จะพัฒนาอาชีพของตนเองให้ดีขึ้น

3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

    ๓.๒ กลุ่มครัวเรือนเก่า-ใหม่ที่รวมกลุ่มกันเรียนรู้
        นอกจากคุณกิจครัวเรือนจะมีการพัฒนาตนเองหลังจากได้เข้า ร่วมโครงการแล้วยังมีการพัฒนาต่อไปเป็นกลุ่มของครัวเรือน หรือกลุ่มต่าง ๆในชุมชน ทั้งเป็นเรื่องของการพัฒนากลุ่มเก่า ที่มีอยู่เดิมและ กลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น

  • กลุ่มปุ๋ยหมักบ้านน้ำพุ  ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  ๓๐  หมู่ที่  ๔   ตำบลไชยมนตรี 

        กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มเดิมที่มีอยู่แล้ว และเป็นกลุ่มที่เป็นแม่แบบให้กับ ๓ ตำบล ๓ อำเภอในเขตในเขตลุ่ม   น้ำปากพนัง โดยการที่สมาชิกกลุ่ม ไปฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอปากพนัง  ตำบลเสือหึง อำเภอเชียรใหญ่ และตำบลท่าซอม  อำเภอหัวไทร และยังเป็นที่ศึกษาดูงานของผู้สนใจการ ทำปุ๋ยหมัก ทั้งในและต่างจังหวัด หลังจากที่สมาชิกกลุ่มซึ่งเป็นคุณกิจครัวเรือน ได้เข้าร่วมโครงการก็มีการพัฒนาในเรื่องของระบบการจัดการ อีกทั้ง ได้รวมตัวกันของแม่บ้านสมาชิกกลุ่มปุ๋ยหมักในการทำผลิตภัณฑ์ น้ำยาล้างจาน ไว้ใช้เอง  และได้จัดการเรื่องระบบการออมของสมาชิก  โดยเริ่มจากการออมของสมาชิกกับกลุ่ม และนำสู่การออมในกลุ่มออม ทรัพย์ระดับหมู่บ้าน

  • กลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นมีกลุ่มปุ๋ยหมักบ้านพระมงกุฏ หมู่ที่ ๑ ตำบลโพธิ์เสด็จ  ซึ่งมีที่ทำการกลุ่มอยู่ที่   บ้านเลขที่  ๑๓๑  หมู่ที่  ๑  ตำบลโพธิ์เสด็จ 

โดยได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง  และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และสนับสนุนในเรื่องของวัสดุฝึก

  • กลุ่มเครื่องแกงบ้านบางกระบือ  หมู่ที่  ๖  ตำบลท่าไร่

เป็นกลุ่มเก่าซึ่งได้มีการพัฒนา ขึ้นใหม่หลังจากที่สมาชิกซึ่งเป็นคุณกิจ ครัวเรือนได้เข้าร่วมเวทีของโครงการ และได้เรียนรู้ระบบกลุ่ม และจาก การตั้งเป้าหมายในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ทำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ ใกล้ตัวในการที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์  และจากการประกอบอาชีพ ของคนในชุมชนซึ่งมีวัตถุดิบอยู่มาก เช่น  พริก  ขิง  ข่า  ตะไคร้  ขมิ้น  ซึ่งเป็นผลผลิตของสมาชิกมาแปรรูปเป็นเครื่องแกง

  • กลุ่มปลูกผักบ้านคลองใน  หมู่ที่ ๑  ตำบลบางจาก 

        เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พัฒนามาจาก เวทีการเรียนรู้ของโครงการ โดยเริ่มที่การใช้ระบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในกลุ่มของแกนนำคือ ลุงสุจิน  คงแดง และลูกชาย อาชีพการปลูกผักของลุงสุจิน  โดยใช้ ปุ๋ยหมัก ซึ่งผลิตเองใช้เอง และเรื่องของการจัดการตลาดเป็นที่ สนใจของคุณกิจครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเดียวกันไปเรียนรู้ที่แปลง ของลุงสุจิน  และได้ร่วมกันพัฒนาการประกอบอาชีพการ ปลูกผักของ คุณกิจเป็นระบบกลุ่ม

        นอกจากกลุ่มที่ยกตัวอย่างมาแล้วข้างต้น ยังมีกลุ่มอีกมากมายใน ทุกหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ โดยส่วนใหญ่เป็นคุณกิจครัวเรือน ที่ประกอบอาชีพเหมือน ๆกันมาเรียนรู้และกำหนดเป้าหมายใน การที่จะพัฒนาอาชีพร่วมกันและได้ร่วมหาแนวทางในการที่จะ พัฒนาอาชีพของตนเองให้ดีขึ้น
 

หมายเลขบันทึก: 60233เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมว่าครูราญ เมืองคอน กำลังเป็นนายทะเบียนจัดการ "ปัญญาปฏิบัติ" ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองคอน

ผมกำลังจินตนาการว่า ถ้าทุกจังหวัดมีทะเบียน "ปัญญาปฏิบัติ" (พร้อมคำอธิบายว่าแต่ละจุด เข้ายาพันพรือ) น่าจะทำให้เราเห็นทิศทางของการพัฒนา (จริงๆ) ได้อย่างมั่นใจ และมีสิ่งดีๆ ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ต่อยอดอีกตั้งคะลุยเหม็ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท