สาระน่ารู้เรื่องปาล์มน้ำมัน ( ตอนที่ 40 )


บทบาทของธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
             บทบาทของธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน          
         
โบรอนมีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในพืช  ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช  เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ  และกระบวนการสังเคราะห์แสง  จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร  จำเป็นในการแบ่งเซลล์  โดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายราก   เกี่ยงข้องกับการดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช  ดังนั้นโบรอนเป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก   การขาดธาตุโบรอนของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่  และพบอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย                อาการขาดธาตุโบรอนจะแสดงออกในส่วนที่อ่อนที่สุดของพืช  เนื่องจากเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช  ดังนั้นการขาดธาตุโบรอนจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของใบ  ทำให้ใบมีรูปร่างผิดปกติ  ดังนี้1.       ทางใบยอดจะย่นพับเข้าหากัน  ทำให้ใบสั้นผิดปกติ2.       อาการขาดที่ไม่รุนแรง  ปลายใบจะหักงอคล้ายตะขอ3.       อาการขาดที่รุนแรง  ใบยอดจะย่นและปลายใบหัก  นอกจากนี้มีอาการใบเปราะและสีเขียวเข้ม4.       ทะลายปาล์มจะมีเมล็ดลีบ  หรือมีเปอร์เซ็นต์การผสมไม่ติดสูง
        การแก้ไข

                ใส่โบแรกซ์  อัตรา 10-20 กรัม/ต้น/ปี    สำหรับปาล์มน้ำมันอายุ 2-3 ปี  และ 30-40 กรัม/ต้น/ปี   เมื่อปาล์มอายุ 4  ปีขึ้นไป


อ.ประสาทพร  กออวยชัย
คำสำคัญ (Tags): #บทความวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 60227เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท