แนะใช้ 4 ป. ผสาน ศก.พอเพียง ปรับตัวให้อยู่เหนือ "โลกาภิวัตน์"


"โฆสิต" เรียกร้องข้าราชการไทยปรับใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายในการทำงาน
"โฆสิต" เรียกร้องข้าราชการไทยปรับใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายในการทำงาน ประสานกับนโยบาย 4 ป. เพื่อหาทางให้อยู่เหนือโลกาภิวัตน์ "คุณหญิงทิพาวดี" กำหนดเป้าคุณสมบัติ 5 ข้อ สำหรับข้าราชการมืออาชีพ

เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (15 พ.ย.) ที่ห้องเพลนารี 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระอัจฉริยภาพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการพระผู้ทรงเป็นแบบอย่างของการพัฒนาระบบราชการไทย ในวาระครบรอบ 4 ปี  ก.พ.ร.

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธาน ก.พ.ร. กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง "การพัฒนาระบบราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ว่า หากสังเกตพระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากพระบรมราโชวาท เมื่อปี 2543 จะพบว่ามีสาระสำคัญที่ข้าราชการ  ควรน้อมนำมาปรับใช้ในการทำงาน 3 เรื่อง คือ ความมีตั้งใจในการทำงาน มีความระมัดระวังในการทำงาน และมุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้ที่เป็นข้าราชการ แต่สิ่งสำคัญ         ที่ข้าราชการควรมี คือ การทำงานอย่างบูรณาการ ให้ทำงานสอดคล้อง เชื่อมโยงกัน มีลักษณะการทำงานร่วมกันอย่างมีจุดประสงค์เดียวกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างทำ เพราะมีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน จึงมุ่งสร้างดาวกันคนละดวง หากเป็นอย่างนี้ก็จะเรียกว่าเป็นระบบไม่ได้ อาจทำให้งานล้มเหลว และไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ นอกจากนี้ยังขอให้ข้าราชการนำนโยบาย 4 ป. คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ  มาใช้ด้วย เพราะการดำเนินนโยบายของระบบราชการมาปรับใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะปฏิเสธ 4 ป. นี้ไม่ได้เลย  แม้ว่าการจะนำ 4 ป. ไปใช้อาจจะเป็นภาระ หรือขัดแย้งกับการทำงานของข้าราชการบ้าง อาทิ     การจะให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม บางทีอาจจะต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล    แต่เมื่อคิดใหม่ หากต้องการให้งานมีประสิทธิภาพการเลือกใช้วิธีประหยัดและมีประสิทธิภาพได้ด้วยเช่นกัน เพียงแต่เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน โดยการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะต้องใช้อย่างมีความรู้และคุณธรรมควบคู่กันไป  "ไม่คิดว่าข้าราชการยุคนี้จะปฏิเสธระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ได้ แต่รู้แล้วจะควบคุมและดูแลตัวเองให้อยู่เหนือโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การปรับตัวให้รู้เท่าทัน เพราะข้าราชการ      ก็ไม่ได้ทำงานแตกต่างจากภาคเอกชนมากนัก ทั้งยังทำงานประสานเกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ควรให้ใคร     มีบทบาทเหนือใคร ทั้งข้าราชการและภาคเอกชน ควรเป็นซีอีโอร่วมกัน โดยมีวิธีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนต้องค่อย ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันที่พอเพียง การทำงานร่วมกับเอกชนจะต้องอยู่ภายใต้กรอบร่วมคิดร่วมทำ ไม่ใช่ใครเป็นผู้นำหรือผู้ตาม ทุกฝ่ายต้องเป็นซีอีโอร่วมกัน"นายโฆสิต กล่าวด้วยว่า การทำงานให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องอยู่หลักการ        ของความรู้เท่าทัน ต้องมีความรู้คู่ คือ รัฐบาล ข้าราชการ และระบบราชการต้องรู้เท่าทันและเข้าใจระบบ  ของประเทศที่เป็นคู่แข่งของเรา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรู้ดังกล่าว ข้าราชการต้องเข้าหาพันธมิตรที่เป็นเอกชน   ให้มาเข้าใจและร่วมปฏิบัติให้รู้เท่าทัน จะต้องทำงานในเชิงพันธมิตรระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งโลกาภิวัฒน์และยกระดับเป็นวาระที่นับวันจะสำคัญมากขึ้น รัฐจะทำงานคนเดียวไม่สำเร็จ ต้องทำงานเป็นวาระร่วมกับภาคเอกชนด้านคุณหญิงทิพพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ  "น้อมนำพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติราชการมืออาชีพ"  โดยเน้นว่า การเป็นข้าราชการมืออาชีพควรคุณสมบัติ 5 ข้อ คือ 1.มีอุดมการณ์ที่ถูกต้อง ยึดประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน    2.มีความเพียร ความอดทน   3.ทำงานเป็นระบบ คิดเป็นระบบ และมีขั้นตอน    4.ทำงานแบบมีส่วนร่วมกับประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง   และ 5. มีการสามารถสื่อความหมายที่ดี                                                        

                                                          ผู้จัดการรายวัน 16 พฤศจิกายน 2549

หมายเลขบันทึก: 60161เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท