SDL : Self Directed Learning : การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง


แนวทางการประเมินแบบ Rubric นี้ ช่างคล้ายคลึงยังกะฝาแฝดกับ ตารางแห่งอิสระภาพ เครื่องมือหนึ่งของการจัดการความรู้เสียนี่กระไร

ผศ.พญ.วัลลี  สัตยาศัย เป็นอาจารย์ของอาจารย์แพทย์ที่ดิฉันเคารพนับถือมาก ทุกปี คณะสหเวชศาสตร์จะต้องเชิญท่านมาติวเข้มบรรดาคณาจารย์ของคณะฯ ในสารพัดเรื่องของความเป็นครู ปีนี้ เราก็เรียนเชิญท่านมาอีก ในวันที่ 27 และ 28 ต.ค. วันแรก ในหัวข้อ เรื่อง การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) อาจารย์แถมพกเรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ให้ด้วย  ส่วนวันที่สอง  ทางคณะได้เชิญอาจารย์ผู้คุมฝึกปฏิบัติงานของนิสิตในทุกสาขามาจากแหล่งฝึกใกล้เคียง เพื่อมาร่วมกัน ประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับอาจารย์จากแหล่งฝึก ก็ได้ท่านอาจารย์วัลลี อีกเช่นเคย เป็นวิทยากรให้ความรู้การประเมินจิตพิสัย แบบ Rubric

ดิฉันอยากอบรมให้ได้ตลอดรายการ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ จึงขอให้มีการบันทึก VDO ไว้ ช่วงที่ได้ฟังการบรรยาย ดิฉันมีสัญญาเก่าๆ ที่ติดมาจาก KM ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทียบเทียงในหัวสมองทันทีว่า แนวทางการประเมินแบบ Rubric นี้ ช่างคล้ายคลึงยังกะฝาแฝดกับ ตารางแห่งอิสระภาพ เครื่องมือหนึ่งของการจัดการความรู้เสียนี่กระไร  แล้วก็..การจัด small group discussion ให้มีอาจารย์เป็น FA และมีกระบวนการให้นิสิตที่รับหน้าที่เป็นเลขากลุ่มเป็น Note taker  ก็ใช่เลย คล้ายรูปแบบ Small group Story telling ของ KM อีกเช่นกัน

กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อเรียนรู้โดยตัวนิสิตเองนี้ อ.วัลลี บอกว่า บางทีก็เรียก SDL : Self directed learning และชอบคำที่ ศ.นพ.ทองจันทร์  หงศ์ลดารมณ์ ปรมาจารย์ทางด้าน Med ED เคยแปลเป็นภาษาไทยได้อย่างไพเราะ และมีความหมายว่า การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง จะประกอบไปด้วย

  1. อาจารย์สร้างโจทย์ปัญหาที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ระหว่างการอภิปรายในกระบวนการกลุ่ม 
  2. ตั้งประธาน และเลขากลุ่ม โดยมี อ.เป็น FA อยู่ประจำกลุ่ม
  3. นิสิตช่วยกันทำความเข้าใจกับคำศัพท์ หรือ concept ของโจทย์ (Clerify term and concept) เลขา จดบันทึก (ให้ความเห็นด้วยได้)
  4. นิสิตช่วยกันระบุปัญหาของสถานการณ์นั้น  (Define the Ploblem)
  5. นิสิตช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา (Analyse the ploblem)
  6. นิสิตช่วยกันตั้งสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ (Formulate Hypothesis)
  7. นิสิตช่วยกันสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Formulate Learning Objective)
  8. นิสิตต่างคนไปรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม (Collect additional information outside the group)
  9. กลับเข้ากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใหม่  และสรุปหลักการเป็นแนวทางในการนำไปใช้ (Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and principles derived from studying this ploblem)
  10. เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ปัญหา กลุ่มควรมีการประเมินตนเอง รวมทั้งให้เพื่อนๆ ประเมินตนในหัวข้อ
    • ทักษะการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
    • ความรู้ที่ได้จากโจทย์ปัญหาที่เรียน
    • ทักษะในการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง
    • ความร่วมมือและสนับสนุนในกระบวนการกลุ่ม

        นอกจากนี้ ควรมีการประเมินการทำงานของกลุ่มในภาพรวมว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร  จะแก้ไขอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

        เหมือน AAR ตอนจบกระบวนการกลุ่ม ที่ท่าน อ.หมอวิจารณ์ สอนให้ทำ เปี๊ยบเลยนะค่ะ

  

คำสำคัญ (Tags): #km#self#directed#learning
หมายเลขบันทึก: 6011เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2005 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท