การจัดการความรู้ในองค์กร


การจัดการความรู้ในองค์กร

                                                             ที่มา:http://www.nah.go.th/index.asp

โครงการ : การจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วย  (KM IN C3 THER)                                               โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 

ความเป็นมา-สภาพปัญหา/สาเหตุปัญหา 

ปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการแข่งขันขององค์กรจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากหลายส่วนมาผสมผสานกันและผู้ปฏิบัติงานคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด   การจัดการความรู้  Knowledge management)  จึงมีบทบาทสำคัญในองค์กรที่จะรวบรวมความรู้ทั้งเก่าและใหม่อย่างเป็นระบบ  ถ่ายทอดและแบ่งปันระหว่างคนในองค์กรเพื่อที่จะนำไปใช้และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ     KM เป็นแนวคิดในการบริหารองค์การแบบใหม่   ซึ่งทีม PCT โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ได้นำมาเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพ ในการทบทวนดูแล  C3 THER  ซึ่งเดิมทีม  PCT พบว่าในส่วนของการทบทวนการดูแลผู้ป่วยของหอผู้ป่วยต่าง ๆ มีความแตกต่างของรูปแบบการดูแลผู้ป่วย  ซึ่งไม่สามารถนำความรู้ในรูปแบบการพัฒนาที่ดีในบางหน่วยงานไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้     ในส่วนรูปแบบที่มีประสิทธิภาพน้อยก็ไม่ได้รับการปรับปรุงพัฒนา   จึงได้มีการจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วย  เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน   เกิดวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนความรู้   ทำให้เกิดการสร้างนวตกรรมในการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและขยายผลในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วต่อไป

แนวทางการแก้ไข / การดำเนินงาน

1.       ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือจากหัวหน้าแผนกพยาบาล  หัวหน้าหอผู้ป่วย  และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ2.       ให้แต่ละหอผู้ป่วยส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย  หน.ตึก 1 คน  หน.ทีม PCT 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการหลัก  (Facilitatior) ของหน่วยงาน3.       จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  การจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วย C3 THER  เพื่อจัดทำเกณฑ์ประเมิน C3 THER  ของทีม PCT เพื่อนำไปใช้ประเมินแต่ละหอผู้ป่วย  โดยใช้การระดมสมองของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล4.       ให้แต่ละหอผู้ป่วยประเมินตนเองตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้   และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับโครงการ Plot graph  พาเรโต  เพื่อดูคะแนนความแตกต่างของแต่ละหอผู้ป่วย ในแต่ละกิจกรรมย่อยของ C3 THER  และให้เลือกกิจกรรมที่แต่ละหอผู้ป่วยมีคะแนนสูงสุดเพื่อเสนอกิจกรรมพัฒนาคุณภาพตัวอย่าง  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมการดูแลผู้ป่วย   โดยมอบหมายให้แต่ละหอผู้ป่วยนำกิจกรรมพัฒนามานำเสนอ5.       จัดเวทีเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพตัวอย่างที่แต่ละหอผู้ป่วยได้รับมอบหมายนำมาเสนอผลงาน  โดยให้ทีมการดูแลผู้ป่วยมาร่วมรับฟัง  พร้อมสรุปประเด็น / ข้อเสนอ  หลังการนำเสนอผลงาน6.       นำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่สามารถใช้ได้ในภาพรวม   ทดลองปฏิบัติใช้ทุกหน่วยงาน   และติดตามประเมินผล7.       กิจกรรมการจัดการความรู้การทบทวนดูแลผู้ป่วยนำไปจัดทำเป็นคลังความรู้และนำไปเผยแพร่ใน INTRANET ของรพ.ค่ายฯ 

ผลการดำเนินงาน

                เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมการดูแลผู้ป่วย   และการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในองค์กร   เกิดนวัตกรรมคุณภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ดี (Good Practice) 

ผลลัพธ์

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในทุกหอผู้ป่วย

Good Practice

Care     1. check  list การ Admit ผู้ป่วยแรกรับ             2.  การนำ C3 THER  สู่ชีวิตประจำวันCommunication             การให้ข้อมูล pt ของเจ้าหน้าที่Continuity              Discharge PlanTeam                แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยของสหวิชาชีพHRD               CPREnvironment    การประเมินผู้ป่วยสำหรับการจัดเตียง                         เพื่อดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย (Plan อย่างไร)Equipment    การ check เครื่องมือ CPR , Defibrillator Record           Nursing Process 


 

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 60102เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท