Ethnoscience ตอนที่ 1 ถกปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูล


Prof.Dr.J. Lin Comton ฝรั่งคนนี้รู้จักประเทศไทยดีกว่าคนไทยบางคนซะอีก เค้ามีวิธีที่จะสกัดความรู้ที่คนไทยด้วยกันมองข้าม ให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมโลก เน้นการสร้างความร่วมมือกัน ซึ่งสมัยนี้เรามี ศาสตร์ทางด้าน km แล้วก็น่าจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

     กำลังเตรียมสรุป work shop ETHNOSCIENCE ที่ผ่านไปสดๆร้อนๆ ค่ะ  ทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งเอกสารการนำเสนอทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้ในเล่มเดียวกัน แล้วจัดส่งให้ทุกท่าน

    วันนี้ตอนที่ทำงานอยู่ช่วงบ่ายเหมี่ยวกับ ดร.อมรรัตน์ เราคุยกันถึงเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล ในงานวิจัยแบบ ethnoscience ที่แตกต่างจาก ethnographies  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมถามขึ้นในขณะที่เรากำลังซ้อมความเข้าใจการลงชุมชนที่ด่านซ้าย ว่าเราจะหาค่าความตรง ความเทียง และวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะต้องใส่ในบทที่ 3 อย่างไร 

    ดร.อมรรัตน์ ก็ได้เล่าให้ฟังว่าเคยอ่านงาน หนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ตอนที่อยู่ต่างประเทศแต่ท่านไม่ได้ถ่ายเอกสารกลับมา ในนั้นมีตัวอย่างดีๆ และคำอธิบายในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลดีมากๆๆ

    คือท่านเล่าให้เหมี่ยวฟังว่า "พอเราใช้วิธีผ่าฟืน (ตามที่ท่าน Prof.Dr.J. Lin Comton ได้อธิบายการถามข้อมูลชุมชนโดยตั้งสิ่งที่เราอยากรู้ไว้เป็นฟืนท่อนใหญ่ชิ้นแรก แล้วก็ผ่าลงไปทีละชิ้น คือถามลงไปทีละขึ้นค่อยๆ ลึกลงไป จาก 2 เรื่องย่อย แล้ วก็แตกไปเป็น 4 เป็น 8  แล้วก็มีการถามเช็คลงไปอีก ถ้าตอบ Yes ก็ถามลงไป ถ้าตอบ No ก็ไม่ถามอย่างอื่นต่อ   พอได้ข้อมูลจาก spacialists แล้วอย่าเพิ่งนำไปสรุป เราต้องมีการเช็ค ก่อน คือ สุ่มประชากรกล่มตัวอย่างในชุมชนนั้นๆ ที่ไม่ใช่ตัว spacialists ที่ให้ข้อมูล แต่เป็นประชากรทั่วไปในกล่มชุมชน เพื่อเช็คว่าที่ spacialists พูดจุดไหนประเด็นไหนบ้างที่จริง ประเด็นไหนที่ไม่ใช่ แล้วนำประเด็นที่ใช่มาสรุป  ในกระบวนการนี้เราจะใช้การวิจัยเชิงปริมาณมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากที่เราทำการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาแล้ว  

     ปัจจุบันการวิจัยที่ชี้ให้เห็นความฉลาดของการคิดของคนในท้องถิ่น ชุมชนทีต้องการต่อสู้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่รอด เป็นสิ่งที่ควรศึกษาวิจัยอย่างยิ่ง การใช้ การวิจัยวิทยาศาสตร์เชิงชาติพันธุ์เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นในการสร้างความสมานฉันท์ในสังคมท้องถิ่นและสังคมเมือง  แต่เครื่องมือที่สำคัญคือ คน ที่จะมาประสานสร้างความสมดุลในสังคมโลกที่เกิดขึ้น

    ในการจัดการอบรมครั้งนี้  มีการตอบรับ และการไม่เห็นด้วยที่เชิญฝรั่งมังค่ามาพูดเรื่องของไทย หรือบางคนรู้สึกว่าไม่ได้อะไรเลยนอกจากรู้ว่า ethnoscience คืออะไร และได้เที่ยวด่านซ้าย  แต่นั่นแหละที่ทุกคนได้คือ รู้จัก ethnoscience ว่าเป็นอย่างไร การได้รับเกียรติจาก ท่าน ศาสตราจารย์ ดร.เจ ลิน นับว่าโชคดีมาก ที่ท่านสละเวลาอันมีค่าของท่านมาให้ความรู้ในเรื่องที่ท่านเคยใช้เวลาสอนเป็นปี มาสอนแค่ 3 วัน นับว่าสั้นมากแต่เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้เข้าอบรม เพราะฝรั่งคนนี้รู้จักประเทศไทยดีกว่าคนไทยบ้างคนซะอีก เค้ามีวิธีที่จะสกัดความรู้ที่คนไทยด้วยกันมองข้าม ให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมโลก เน้นการสร้างความร่วมมือกัน ซึ่งสมัยนี้เรามี ศาสตร์ทางด้าน km แล้วก็น่าจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือกันเป็นอย่างดี   

    วินาทีนี้เหมี่ยวคิดว่าถึงเวลาแล้วล่ะค่ะ ที่เราจะต้องหันมาสนใจงานวิจัยเชิงคุณภาพกันมากขึ้น สนใจความรู้ของคนทุกคน ตั้งแต่บรรพบุรุษจนสู่ปัจจุบันในวิถีการเอาตัวรอดผ่านระยะเวลาความลำบาก  การพัฒนาสังคม ชุมชน และโลก จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 

คำสำคัญ (Tags): #ethnoscience
หมายเลขบันทึก: 60082เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
มะเหมี่ยว ต้องสะกดว่า Comptom มั้ง ลองเชคดู
อีกคำคือน่าจะเป็น specialists นะ ลองเชคดู
ลืมชมไปว่าบันทึกได้ดีมาก จะรออ่านอีก

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านค่ะ 

เหมี่ยวลองถามท่าน อาจารย์อมรรัตน์แล้ว Prof. Dr.J Lin Compton ค่ะ ส่วนอีกคำคือ Specialists ค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์วิบูลย์ และอาจารย์รุจโรจน์ ค่ะที่เข้ามาให้ข้อชี้แนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท