copy จากคุณจ๊ะจ๋า (ผู้ประสานงานโครงการ)


ฤา..อาจจะเป็นหนทางนี้..............
 COPY
เรื่องเล่า "ที่มาที่ไป..ความประทับใจของคนภาคการศึกษา" (ตอนที่ 2)
เครื่องมือการจัดการความรู้มีผลกับคณะวิจัยอย่างมาก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 ถอดเทป ตอนที่ 2

            “ในการดำเนินโครงการฯ  ภาพที่ออกมาน่ายินดีมาก   3 เดือนแรกเราทำการ Feasibility Study ก่อน  เพราะไม่แน่ใจใน  ปัญหา   อุปสรรค และการเปลี่ยนโครงสร้างในองค์กรนี้    เราเคารพคนในกระทรวงศึกษาธิการและเราเห็นความทุกข์ยาก      ตนเป็นนักวิชาการอิสระ ไม่ขึ้นในสังกัดใคร แต่ว่ามองด้วยสายตาที่โดยเฉพาะการทำ KM  เราเข้าใจ ว่ามีอุปสรรคมากในการขับเคลื่อน  เพราะว่า มันเปลี่ยนโครงสร้าง เปลี่ยนระบบอะไรไม่ลงตัว ดั่งที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ว่า สร้างกรงครอบตัวเองทั้งนั้นแหละ และดิ้นกันโขลกขลักๆ และตนก็คิดว่า KM น่าจะขายได้ ที่จะช่วย   ตนเลยใช้วิธี Feasibility Study  ก่อน  ดร. สีลาภรณ์ จาก สกว. ก็ โอเคและให้เงินทุนทำวิจัยมาก้อนหนึ่ง และเรายืนยันกับ สกศ. ว่า ไม่ได้ซี้ซั๊วทำ  ดังนั้นเราจะลงไปดูว่าความเป็นไปได้แค่ไหน เราต้องปรับตัวเราก่อน  ไม่ใช่ไปปรับเค้า 

           Feasibility Study   มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า...เวลาที่เราจะคัดเลือกโรงเรียนเข้าโครงการฯ เราใช้วิธีของท่านสุวัฒน์  โดยเข้าไปในกระทรวงศึกษาธิการ ถามว่า ผอ. เขตทั้ง 175  เขต ให้คนที่รู้จักให้ข้อมูลโดยกำหนดประเด็นว่า  1) มีความเป็นนักวิชาการ 2) ทำงานเป็นทีม  3) ยังไม่ย้ายรวดเร็ว    ทั้ง 3 ประเด็นนี้ไปถามผู้รู้  รวมทั้งผู้ตรวจกระทรวงก็ไปถาม .... เราทำงานพยายามไม่ใช้อคติ ถ้าเกิดอคติเรารู้จักเค้ามากเราจะรำคาญ  เราเอาข้อมูลพิจารณาในคณะทำงานวิจัย   ดังนั้นผู้ตรวจราชการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็รู้จัก ก็บอกว่า.. อ. คนนี้.. ดี.. แน่ใจ...  เราจึงได้รายชื่อจำนวน 20 กว่า คน... เราก็มามองว่าไม่ดีแน่เลยถ้าเอาแต่เฉพาะที่เค้าแนะนำ เพราะไม่รู้ว่าคนนี้ คนนั้น มีสายสะดือหรือไม่ (เส้นสาย)    เราไม่แน่ใจ  ประกอบกับก็มีข้อมูลของทีมงานบ้างเล็กน้อย  แต่เราไม่ใช้     แต่วิธีที่ทำคือ นำข้อมูลมาพิจารณาเลยว่า ตอนที่เค้าหลอมกระทรวง  จะมีคนที่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของเขตจะมาจากประถมศึกษาจังหวัด จากสามัญศึกษา จังหวัดมัธยม และจากศึกษาธิการจังหวัด  เอาเลย เอาตัวนี้เป็นเกณฑ์วัด ต้องมีทุก combination ตรงนี้ได้คละ    พอเราได้คละแล้วก็ดูเพศ หญิงชายด้วย หลายตัวแปร  ดังนั้นเลือกออกมาแล้วสกรีนแล้วสกรีนอีก 17 เขตพื้นที่การศึกษานะคะ เราก็ตั้งใจจะทำ 13 เขตพื้นที่การศึกษา เพราะต้องเจาะลึกลงไป ก็ทำ 13 X 4 โรงเรียน ก็กะหัวเฉลี่ย   ดังนั้นตอนทำ  Feasibility Study   เราเชิญตัวแทนเขตมาคุยรอบแรกทั้ง 17 เขตมานั่งคุยกัน ขายความคิดว่า เพราะการจัดการความรู้อยู่ในมาตรฐาน 3 นะ    ทำให้ทั้ง 17 เขตพื้นที่การศึกษามีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ     เนื่องจากถูกบังคับทำอยู่แล้วโดย กพร.   และแจ้งว่า รู้สึกดีใจมาก  โดยที่เราขายความคิดก่อน  ถ้าใครตกลงสมัครใจจึงจะแจกใบสมัคร แล้วในใบสมัครมี commitment  3 เกณฑ์ อย่างที่บอก 1. ทำงานเป็นทีม 2 สนใจวิชาการ 3. ไม่ย้ายอย่างรวดเร็ว

           เมื่อเซ็นสัญญาว่าสนใจสมัคร  ทีมงานวิจัยจะลงไปในพื้นที่  เพื่อตรวจสอบ รวมทั้งเก็บข้อมูล รู้เขารู้เรา  ตรง Feasibility Study  มันมี impact   เพราะว่ามันเปิดเรื่อง KM แล้วเนี้ยะ ปรากฏว่าเรายังไม่ได้ไปตัดสินใจเลย ว่าเราจะทำงานกับเค้าไหม ปรากฏโรงเรียนที่สนใจได้ไปศึกษา ไปเตรียมการก่อน เรามารู้เอาที่หลัง เราไป workshop ที่ไปตามงาน เค้าเริ่มตั้งแต่มกราคม โน้นแหละ ตอนที่ อ. มาคุย    ตายแล้วตรงนั้นมันไม่ช่าย!!!  แต่เค้าถือว่าใช้  และเราตัดไม่ได้เลยซักเขต   และเค้าก็บอกเราอีกว่า อาจารย์คิดไม่มีเหตุผล   เขตใหญ่อาจารย์ให้ 4     เขตเล็กอาจารย์ ให้ 4    เอาอย่างนี้แล้วกัน อะลุ้มอล่วย  4 ถึง 6    6 สูงสุด เกินกว่านี้ไม่ไหว  ตัวเลขออกมา 78 โรงเรียน 17 เขต กระจาย 17 จังหวัด    Represented เขตตรวจราชการ 13 เขตของกระทรวงศึกษาธิการ รวมกทม.  และที่ออกมาดีมากๆ ไม่ได้เพียงแต่คุณบอกมา ทำให้ไปเจอเขตที่หลากหลายในศักยภาพ      ตัวนี้ดีเพราะจะพบเลยว่า ผู้อำนวยการที่มีประสบการณ์จากการเป็น ผอ. บจ.   ท่านจะทำงานในลักษณะของการมีส่วนร่วม ชุมชนต้องเข้ามาเป็นกรรมการ แต่ถ้าเป็นมัธยม แน่นวิชาการ แต่ค่อนข้างจะ Autonomous  เราจะเจอวัฒนธรรมองค์กรที่ต่าง แต่ว่าเราพยายามที่จะศึกษา     KM เข้ามาในจังหวะที่ดีของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็คือว่า มันจะทำให้คนที่ยังปรับวัฒนธรรมองค์กร ก็เคยอยู่ประถม เคยอยู่มัธยม  มัธยมนี่เค้ามีอิสระ  เค้าจะบริหารจัดการอะไรได้คล่อง แต่ประถมขับเคลื่อนช้า เพราะฉะนั้น ตรงนี้ที่เราเป็นฐานที่เรามาออกแบบงานวิจัย และก็ทำงาน 

           สรุปสั้นๆ เพื่อความเชื่อมโยงกับ สคส.  ก็คือ ว่า เราไม่มีศักยภาพในการที่จะอบรมคุณอำนวย ก็เลยตกลงกับ สคส. ว่า สคส. Support in-kind    สกว. และ สกศ. Support in-cash  แล้วเราลงแรงลงปัญญา แต่ว่า สคส. เข้ามาช่วย workshop เราต้องจัด workshop 6 ครั้ง     สคส. ช่วย 2 ครั้ง  ซึ่งจากการสังเกตการณ์ของทีมนักวิจัย  2 ครั้งพบว่า  สาวๆ  ที่เป็นวิทยากรกระบวนการสามารถทำให้เปลี่ยนโลกทัศน์ของพวกการศึกษา   ซึ่งเค้าบอกว่า เค้าที่สงสัยกันมาก คนแก่นั่งเรียงกันเป็นทิวแถว นั่งจ้องกันเป็นตาแป๋ว ไม่เห็นได้ทำเลย แต่สาวๆ ออกไป action     ปรากฏว่าดี  ผู้เข้าร่วมประชุมคาดหวังว่า อ. สุวัฒน์ อดีตอธิบดีจะออกมาพูดอะไร    กลับมานั่งเอาจริงเอาจัง  Deep Listening  จด สังเกต   แต่น้อง 2 คนนำกระบวนการ เค้าชอบ เออ....มันเปลี่ยนวัฒนธรรมนะอาจารย์     เราเนี้ยะ  เคยชินกับการเอาคนวัยวุฒิ  คนทรงคุณวุฒิ มา  แต่ น้องๆ สคส.  2 คน มานำกระบวนการนะดี ชอบมาก

           และมันมีผลกระทบ พอไป site 3 พิษณุโลก   หญิง (คุณนภินทร ศิริไทย) มานั่งเป็นพี่เลี้ยงและสังเกตการณ์    เค้าบอกว่า  ทำไมมันมีแต่คนแก่ แล้วคนแก่มาจัดเกมส์หัวจงหัวใจ   ช่ายไหมคะ เราก็ต้องปรับตัว    เสร็จแล้วปรากฏว่า หญิงเข้ามาช่วยประเมิน  แล้วบอก site หน้าจะต้องมานั่งนะ   หญิงต้องมานั่งนะ แต่อย่าสบตาพวกพี่ หญิงทำอะไรก็ได้ แต่หญิงต้องเก็บข้อมูล    แล้วพอ AAR  หญิงต้องบอกเลย มันก็จริงเลยคะ    เราเปลี่ยนมาก ความเคยชิน ความเป็นครูเก่าก็พูดมาอยู่แล้ว   ตรงเนี้ยะ เพราะฉะนั้น impact ที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะแต่ คนที่เข้ามาในโครงการ  ตัวทีมที่เป็นนักวิจัย เราก็กลายเป็นนักจัดการความรู้  ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งคิดดูว่าตนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเนี้ยะ  OK เพราะไม่มีหมวก ไม่มีบารมีอะไรกับใคร  เราก็เป็นคนมีอิสระ     แต่ท่านสุวัฒน์ ซึ่งมีบารมี เปลี่ยนเลย แล้วบอกว่า ถ้าผมรู้ตั้งแต่ตอนที่ผมเป็นอธิบดี ผมจะทำงานได้ดีมาก เพราะท่านจะฟัง และท่านก็จะไปเตือนทุกทีถ้าใครคุย ท่านบอกว่า   อ้าวพรรพวก อย่าลืมนะ เรา KM แล้วนะ ต้อง Deep Listening นะ ต้องฟัง ดุเค้า ตัวนี้เนี้ยะคะ    Impact แรกที่เกิดตั้งแต่ Feasibility Study มาจนถึงวันนี้   เราประสบความสำเร็จในตัวเรา ที่เปลี่ยนแปลงและเรียนรู้     แต่เราก็ยังไม่ได้บอกว่าเราเข้าใจ KM      เพราะฉะนั้นพอเรา workshop เสร็จแล้ว    เราลงไปติดตามนิเทศและพึ่งเสร็จสิ้น ใช้เวลาเดือนครึ่ง  พึ่งไปตาม 3 เดือนหลังจาก workshop  ประเด็นที่ว่า ขีดความสามารถในการจัดการตนเอง ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนก็ดี ภาคการศึกษา ครูกับผู้บริหารระดับโรงเรียนเค้ามีความสามารถในการจัดการ เพราะโครงการฯ  เราให้แต่เครื่องมือ  เราให้แต่ concept    แต่คุณไปคิดเอง ทำเอง  แก้ปัญหาเอง  เราไปพบ 78 แห่ง 17 เขต    approach เริ่มเนี้ยะต่างกันหมด  ต่างกันหมดเลยวิธีคิดของเค้า "

ตอนที่ 1

สร้าง: พ. 08 พ.ย. 2549 @ 07:54   แก้ไข: ศ. 10 พ.ย. 2549 @ 08:34
ข้อคิดเห็น
ลำดวน เมื่อ พ. 08 พ.ย. 2549 @ 08:30 (92992)
รอคอยเพื่อติดตามตอนต่อไปอยู่อีกนะคะ
จ๊ะจ๋า เมื่อ พ. 08 พ.ย. 2549 @ 12:14 (93160)
ยินดีมากคะ  โปรดติดตามตอนต่อไปคะ
หมายเลขบันทึก: 60067เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท