รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๓ ศิลปะวิจักษ์ (๒)


รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๒๐๐๔ ศิลปะวิจักษ์ (๑)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลังจากการเรียนการสอนไป ๑ ภาคเรียน ถือเป็นงานเร่งด่วนที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเป็นวิชาใหม่ อะไรๆ ก็ย่อมต้องช่วยกันปรับช่วยกันดูไป โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมาย ให้อาจารย์ผู้สอนได้ทบทวนการสอนในภาคเรียนที่ผ่าน และถอดบทเรียนเอาประสบกาณ์ที่ได้ผลซึ่งทำจนสำเร็จมาแล้ว มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก่อนจะร่วมกันกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนารายวิชาต่อไป

ทบทวนผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคเรียน ๑/๒๕๕๘

บรรยายกาศการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์ที่แต่ละท่านสะท้อนให้ฟัง ตลอดระยะเวลาการสนทนา สรุปประเด็นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคใสการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญ ได้แก่ การมาเรียนสาย การขาดเรียน บางห้องเครื่องเสียงไม่ดี บางที่โปรเจ็คเตอร์ไม่ชัด จึงทำให้การสาธิตหรือกิจกรรมที่จะให้นิสิตเห็นตัวอย่าง หรือเข้าถึงสุนทรียะ จึงเป็นเรื่องยาก เช่น จะสอนให้เห็นความงามจากการใช้สีของงานด้านทัศนศิลป์ แต่ปรากฎว่าไฟล์สีที่นำมาแสดงออกมาเป็นสีเพี้ยนไปหรือให้รายละเอียดไม่ได้ จะสอนให้เข้าถึงความงามของเสียงดนตรี แต่เครื่องเสียงในห้องเรียนคุณภาพไม่ดี เป็นต้น

ประสบการณ์ที่เคยใช้แล้วได้ผล

๑) การเช็คชื่อนิสิตเข้าเรียน

อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๓ ศิลปะวิจักษ์เกือบทั้งหมด เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปมาก่อนตั้งแต่หลักสูตรเดิม (พ.ศ. ๒๕๕๔) เช่น วิชาศิลปะวิจักษ์ วิชาดนตรีกับชีวิต และวิชาศิลปะกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยใช้แล้วได้ผลดี อาจารย์หลายท่านจึงนำเอาเทคนิคต่างๆ ที่เคยใช้มาก่อน โดยเฉพาะการเรื่องการเช็คเวลาเรียนนิสิต

วิธีที่ได้ผลดีและสะดวกที่สุดที่ท่านเคยใช้คือ การปั้มสัญลักษณ์มาหรือมาสายด้วยตรายางลงในใบงานหรือใบกิจกรรม ทดแทนการเซ็นชื่อ ตราปั้มอาจจัดทำขึ้นเองให้เป็นรูปแบบเฉพาะของอาจารย์แต่ละท่าน หรืออาจซื้อจากร้านสะดวกซื้อได้ ซึ่งจะมีหลายๆ อันในเซ็ตเดียวกัน ให้อาจารย์สามารถเปลี่ยนเวียนไปในแต่ละสัปดาห์

วิธีการเช็คชื่อนิสิตโดยการ "ปั้มตรา" ในใบงาน มีจุดอ่อนเล็กน้อย คือ ถ้าปั้มตราตอนท้ายของชั่วโมงเรียน พบว่านิสิตจะมาเรียนสาย แต่ถ้าปั้มตราต้นชั่วโมงเรียน นิสิตที่มาเรียนจะแอบออกก่อนเวลา ... จริงๆ ต้องถือเป็นปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านวินัยและความรับผิดชอบ

๒) กิจกรรมส่งเสริมการฝึกทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (ทักษะการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

ในรายวิชาดนตรีกับชีวิต กิจกรรมที่นำมาใช้ในการประเมินผลคือ ให้นิสิตแบ่งกลุ่มกันทำ Music Video (MV) อาจารย์สะท้อนว่า นิสิตสนุกและได้ฝึกทักษะต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งการสืบค้น คิดออกแบบ และลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งนิสิตแต่ละกลุ่ม จะได้ฝึกทั้งทักษะด้านการคิดการวางแผน และการลงมือทำร่วมกันเป็นทีม โดยเฉพาะระหว่างที่นิสิตร่วมกันทำ MV จะต้องช่วยสืบค้นข้อมูลสารสนเทศต่างๆ และฝึกใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์งาน

ทำแล้วได้ผลดี จึงได้เสนอให้ นำมาใช้ในการประเมินผลของรายวิชา ในภาคการศึกษาต่อไปด้วย

๓) เทคนิคการสอนที่ได้ผล

อาจารย์ด้านดุริยางคศิลป์บอกว่า สัปดาห์ที่่ประสบผลสำเร็จในการสอนมากๆ สัปดาห์หนึ่ง คือ เมื่อท่านนำเอาเครื่องดนตรี ไปแสดงให้ดูชมแบบสดๆ สามารถเรียกความสนใจ และสร้างความประทับใจให้นิสิตมาก ในการสอนรายวิชาดนตรีกับชีวิตที่ผ่าน จะเวียนเอาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญดนตรีต่างๆ ไปแสดงสดๆ แบบนี้บ้าง ดังนั้น ในแต่ละกลุ่มเรียนจึงควรมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ละประเภทดนตรีเวียนเปลี่ยนมาสอนบ้าง

ที่ประชุมเห็นด้วยครับ แต่คงไม่สามารถเขียนกำหนดไว้ในตารางสอนอย่างชัดเจนได้ จึงมอบให้อาจารย์ด้านดุริยางคศิลป์ ทำการแลกเวียนคาบเรียนกันเองตามความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละกลุ่มเรียน

... ตรงนี้น่าสนใจมากๆ ครับ โดยเฉพาะ คาบเรียนใดที่มีการสาธิตจากอาจารย์ผู้สอนเอง หากแจ้งมายัง CADL เราคุยกันว่าจะไปขอบันทึกบรรยายกาศไว้ เป็นตัวอย่างการสอนที่ดีต่อไป ....


แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๗

หลังจากการทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา และนำเอาประสบการณ์ที่เคยทำสำเร็จมาแลกเปลี่ยนกัน สิ่งที่ต้องระดมสมองกันคือ จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรในภาคการศึกษาถัดไป คือ ๒/๒๕๕๘ สรุป เป็นรายละเอียดข้อตกลงร่วมกัน ได้ดังนี้

๑.เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้

๑.๑.เนื้อหาควรเป็นเนื้อหาที่นิสิตสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

๑.๒.ควรหยิบเอาสื่อใกล้ตัวมาใช้ เช่น เพลงจากเครื่องชั่งน้ำหนักหน้าเซเว่นฯ

๑.๓.ให้เด็กฟังเพลงที่มีเนื้อหาก่อน แล้วค่อยเปิดเพลงบรรเลงที่มีเฉพาะดนตรี แล้วค่อยอภิปรายสรุปให้เห็น ความงามหรือสุนทรียะ (Active Learning)

๑.๔.ให้นิสิตมีส่วนร่วมในการปฏิบัติในการเล่นดนตรี หยิบยกเอาสถานการณ์สดของนิสิต เช่น เล่นเพลงอวยพรวันเกิดให้นิสิตในชั้น

๑.๕.สัปดาห์สุดท้าย (หรืออาจเป็นสัปดาห์แรก) หรือย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ควรเป็นการเล่นดนตรีจริงๆ

๑.๖.ใบงานกิจกรรมที่ทำให้นิสิตมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สามารถลดภาระการทำงานได้โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการประเมินด้วย เช่น การสลับกันตรวจ

๒.เอกสารประกอบการสอน

๒.๑.กำหนดรูปแบบในการจัดทำเอกสารประกอบการสอน ได้แก่ ชื่อบท -> จุดประสงค์ -> แนวคิด -> เนื้อหา -> กิจกรรมการเรียนการสอน -> การประเมินผล -> แบบทดสอบท้ายบทเรียน

๒.๒.ส่งมายังอาจารย์ผู้ประสานงานภายในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๕๘และอาจารย์ผู้ประสานงานส่งให้ สำนักศึกษาทั่วไป วันที่ ๓๐ ธันวาคม

๓.ประเมินผล

๓.๑.สัดส่วนการประเมินผล

ลำดับที่

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิธีประเมินผล

สัดส่วน (%)

๑.

ด้านคุณธรรมจริยธรรม

เข้าเรียน

๑๐

๒.

ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยี

ใบงาน/ใบกิจกรรม

๒๐

๓.

รายงานการชมงานศิลปะและการแสดง

๓๐

๔.

ผลิตสื่อ ชิ้นงาน หรือการแสดง ในลักษณะ MV (กลุ่มละ ๑๐)

๑๐

๕.

ด้านความรู้

สอบปลายภาค

๓๐

รวม

๑๐๐

๓.๒.การเข้าเรียน

๑) การมาเรียนสาย หมายถึง การมาเรียนช้าเกินกว่า ๑๕ นาที

๒) สาย ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง

๓) การลา ๒ ครั้ง มีค่าเท่ากับการขาดเรียน ๑ ครั้ง การลาต้องมีเหตุจำเป็นและหลักฐานประกอบ

๔) ขาดเรียนมากกว่า ๔ ครั้ง หมดสิทธิ์ในการสอบปลายภาค

๕) วิธีการเช็คชื่อ ให้ นิสิต LA แจกใบงาน/ใบกิจกรรม ก่อนเข้าชั้นเรียน และทำสัญลักษณ์ “มาสาย” หากเข้าเรียนเกินกว่า ๑๕ นาที

๓.๓.ใบงาน/ใบกิจกรรม

๑) ไม่แจกใบงานล่วงหน้า

๒) ไม่รับส่งงานย้อนหลัง เว้นแต่มีใบลา

๓) การตรวจใบงานที่มีข้อคำถามปลายเปิด ให้คะแนน “๘, , ๑๐”

๓.๔. รายงานการชมงานศิลป์และการแสดง

๑) ให้นิสิตเข้าชมการแสดงด้านทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และศิลปะการแสดง ที่กำหนด และ ทำสรุปผลการชมงานตามแบบฟอร์ม ด้านละ ๑ ครั้ง (รวม ๓ ครั้ง)

๒) กำหนดเวลาส่งภายใน ๑ สัปดาห์ หลังจากการแสดง

๓) การตรวจรายงานให้ยึดสัดส่วน ความครบถ้วน : ความถูกต้องหรือมีการวิเคราะห์สังเคราะห์ : ความสวยงามหรือความประณีตเรียบร้อย เป็น ๓ : :

๓.๕. การผลิตสื่อ ชิ้นงาน หรือการแสดง ในลักษณะ Music Video (MV)

๑) นิสิตกลุ่มละ ๑๐ คน

๒) ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่มเรียนเป็นผู้ตรวจ และมีการเวียนอาจารย์ผู้รับผิดชอบทุกภาคการเรียน

๔. การสื่อสารกับนิสิต

๔.๑.จัดทำ เฟสบุ๊ค เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ โดยให้อาจารย์ทุกท่านร่วมกันดูแล โพสท์สารสนเทศที่ส่งเสริมความเข้าใจและความซาบซึ้งในงานศิลปะและการแสดง

๔.๒.ให้จัดตั้ง กลุ่มในเฟสบุ๊ค เพื่อติดต่อสื่อสารเรื่องการเรียนการสอนระหว่าง อาจารย์ นิสิต LA และ นิสิตผู้เรียน






หมายเลขบันทึก: 600305เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2016 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท