ระบบ GSP ของสหภาพยุโรป


การขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ทำให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีประเทศสมาชิกจำนวน 25 ประเทศ (ประกอบด้วย อังกฤษ  เยอรมัน ฝรั่งเศส  อิตาลี เบลเยี่ยม  เนเธอร์แลนด์  ลักแซมเบร์ก  เดนมาร์ค  ไอร์แลนด์  สเปน  โปรตุเกศ  กรีซ ออสเตรีย  ฟินแลนด์  สวีเดน  ไซปรัส  มอลต้า โปแลนด์  ฮังการี  สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเวีย  สโลเวเนีย  ลัตเวีย  ลิธัวเนีย  และเอสโทเนีย)

ซึ่งสหภาพยุโรปเริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดรวมทั้งดินแดนในเขตปกครองต่างๆ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2514 เป็นต้นมา การให้สิทธิ GSP มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการผลิต การลงทุนและเพิ่มรายจากการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา โดย GSP โครงการที่ 4 สามารถจำแนกประเภทของการให้สิทธิได้เป็น 3 แบบ ดังนี้-      การให้สิทธิพิเศษภายใต้ GSP ปกติ (General Arrangement)-      การให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Special Arrangement for Least Developed Countries)-    การให้สิทธิเพิ่มเติมภายใต้มาตรการจูงใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและธรรมาภิบาล (Special Incentive Arrangement for Sustainable Development and Good Governance)

*** ประเทศไทยรับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรปภายใต้มาตรการ GSP ปกติ

สหภาพยุโรปกำหนดให้สิทธิพิเศษ GSP เป็นโครงการโครงการละ 10 ปี โดยในแต่ละโครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ปัจจุบันนับเป็นโครงการที่ 4 มีรายละเอียด ดังนี้ช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 - 31 ธันวาคม 2551ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2554ช่วงที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 31 ธันวาคม 2558

สหภาพยุโรปจะให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศที่ไม่ใช่ประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) ตามการจัดอันดับของธนาคารโลก รวมทั้งประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Country)

ภายใต้ GSP โครงการปัจจุบันสหภาพยุโรปได้เพิ่มเติมรายการสินค้าที่ให้สิทธิจาก GSP โครงการปัจจุบันอีกประมาณ 300 รายการ ทำให้มีรายการสินค้าทั้งสิ้นประมาณ  7,200 รายการ โดยจะครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ภายใต้โครงการใหม่ ประเทศไทยได้รับคืนสิทธิใน 6 กลุ่มสินค้า ซึ่งประกอบด้วย สินค้ากลุ่มประมง กลุ่มอาหารปรุงแต่งและเครื่องดื่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง กลุ่มรองเท้า กลุ่มแก้วและเซรามิก และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือนบางรายการ

 ***รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP สหภาพยุโรป สามารถตรวจสอบได้จาก Council Regulation (EC) No. 980/2005 of 27 June 2005 Annex 2 (ซึ่งสามารถเปิดได้จากระเบียบ GSP ปี 2549-2551)

ภายใต้การให้สิทธิ GSP ทั่วไป สหภาพยุโรปแบ่งกลุ่มสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าไม่อ่อนไหว (Non-Sensitive Products) และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Products) โดยมีรูปแบบการลดหย่อนภาษี ดังนี้1) สินค้ากลุ่มไม่อ่อนไหว (Non-Sensitive Products) สหภาพยุโรปยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้ทุกรายการ2) สินค้ากลุ่มอ่อนไหว (Sensitive Products)2.1) กรณีที่สินค้ามีการจัดเก็บภาษีนำเข้าตามมูลค่า (Ad Valorem Duty) จะลดหย่อนภาษีจากอัตราภาษีปกติ (MFN Rate) 3.5 หน่วยเปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ GSP rate = MFN Rate – 3.5 ยกเว้น สินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (พิกัดศุลกากรที่ 50-63) จะลดหย่อนภาษีนำเข้าให้ร้อยละ 20 ของอัตราภาษีปกติ กล่าวคือ GSP Rate = 0.8 × MFN Rate2.2) กรณีที่สินค้ามีการจัดเก็บภาษีนำเข้าตามสภาพ (Specific Duty) จะลดหย่อนภาษีนำเข้าร้อยละ 30 ของอัตราภาษีปกติ กล่าวคือ GSP Rate = 0.7 × MFN Rate

2.3) กรณีที่สินค้ามีการจัดเก็บภาษีภายใต้ GSP ต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือ 2 ยูโร ก็สามารถให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสินค้ารายการนั้นได้

 

 
หมายเลขบันทึก: 60015เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท