จากโครงงานสู่การจัดการความรู้


ที่สำคัญที่สุดคือทุกคนในชุมชนต้องมีใจร่วมคิดร่วมทำ เพื่อไปสู่ชุมชนที่พัฒนาเข้มแข็งยั่งยืน

        การเกิดโรงสีชุมชนได้เกิดจากแนวคิดของชุมชนบ้านบางพุทรา โดย อาศัยความรู้เดิมที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษได้รวม ตัวกันเป็น กลุ่มเล็ก ๆ ได้ซื้อโรงสีข้าวเก่ามาปรับปรุงเพื่อสีข้าวในชุมชนบ้าน บางพุทราระยะหลังเกิดปัญหาผู้นำ ( ผู้ใหญ่บ้าน ม. 1  )ได้นำปัญหามา พูดคุยกับครู กศน. ต.บางจากเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา  ครู กศน.ก็ ได้นำ คณะทีมงาน กศน. เมืองนครฯ ลงไปทำเวทีร่วมกับชุมชนบ้าน บางพุทราเพื่อให้กิจกรรมโรงสีชุมชนบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ โดยขั้นต้น
      1.สร้างทัศษะกระบวนการใหัสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
      2. ให้ชุมชนฝึกตั้งเป้าหมายของกลุ่ม  
      3. หนุนเสริมวัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม
      4. ชุมชนปฎิบัติจริง  ชุมชนบ้านบางพุทราก็ได้พัฌนาขึ้น คือ ได้เกิดเป็นกิจกรรมย่อยกลุ่มคือกลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงเป็ด  กลุ่มเลี้ยงไก่เพื่อที่จะนำรำข้าวจากโรงสีชุมชนจำหน่ายให้กับกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อนำเงินที่ได้มาบำรุงโรงสีชุมชน
        คิดว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กิจกรรมของชุมชนบรรลุตามวัตถุ ประสงค์และความต้องการหรือเป้าหมายของชุมชนประกอบด้วย ปัจจัยหลาย ๆ ด้านดังต่อไปนี้
        - ผู้นำชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
        - คนในชุมชนมีความพร้อมและมีความสามัคคี
        - แกนนำมีความรู้ความสามารถในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
        - การรู้จักใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
        ที่สำคัญที่สุดคือทุกคนในชุมชนต้องมีใจร่วมคิดร่วมทำ เพื่อไปสู่ชุมชนที่พัฒนาเข้มแข็งยั่งยืน


หมายเลขบันทึก: 59894เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     เรียน ครูแต้ว เมืองคอน.

     เห็นด้วยครับ ที่ว่าต้องมีใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ความมีคุณธรรม จิตสำนึก จิตสาธารณะ ต้องนำมาร่วมประกอบการพัฒนาสัฃคมขุมขนเช่นกันครับ

     ปราชญ์ลูกทุ่ง ครับ. 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท