ซินจ่าวเวียตนาม


ซินจ่าวเวียตนาม

หลังทานอาหารแล้วต้องบอกก่อนว่าอาหารของประเทศลาวนั้นคล้ายของไทยมากแต่จืดกว่า เห็นไกด์หนุ่มบอกว่าเป็นร้านที่อร่อยที่สุดอยู่กึ่งกลางระหว่าง สหวันนาเขตกับด่านลาวบาวของเวียตนามพอดี แต่ที่น่าสนใจคืออาหารว่างของเขานั้นเป็นกล้วยน้ำว้าคนละลูกนะ ก่อนถึงด่านเราคงต้องมาทราบประวัติของคนเวียตนามกันก่อนนะตามที่เขาเล่ามานะ คือคนเวียดนามเป็นคนขยัน อดทน เนื่องจากเผชิญความทุกข์ยากจากสงครามมานาน จึงมีความรักชาติมาก ทุกอย่างจะมุ่งไปที่การพัฒนาชาติ การทำงานหนักจึงเป็นเรื่องปกติวิสัยของคนเวียดนาม ไปรษณีย์เปิด  7.00 -21.30  น.  สำนักงานท่องเที่ยวเปิด  06.30 23.00 น. ร้านค้าทั่วไปปิดประมาณ 4 5 ทุ่ม  ชาวไร่ชาวนาชาวสวนผักผลไม้จะตื่นตั้งแต่ตี 2 ออกมาเก็บพืชผลไปขาย แล้วกลับมาทำงาน ในไร่นากว่าจะกลับก็ 2 3 ทุ่ม โดยอาศัยแสงไฟริมทาง            คนรุ่นใหม่ในเวียดนามทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด แต่จะผลัดกันรับโบนัสอันเป็นที่ใฝ่ฝันของหนุ่มสาวชาวเวียดนามคือ การได้มาพักผ่อนที่ชายทะเลเมืองไทย หาซื้อเครื่องประดับเงินแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก แล้วคณะเราก็มาถึงด่านลาวบาวของเวียตนามไกด์ก็ไปติดต่อเรื่องหนังสือเดินทางของพวกเราส่วนเราก็ไปถ่ายภาพด่านและทิวทัศน์ที่สวยงามของเวียตนามกันสนุกสนาม แล้วจะลงรูปมาให้ดูนะ แล้วเราก็เอ่ยคำว่า ซินจ่าวเวียตนาม(สวัสดีเวียตนาม)              มีเรื่องตลกมาเล่านะคือห้องน้ำของประเทศลาวเขาไม่เหมือนของไทยเลยที่เราเข้าไปใช้เป็นห้องน้ำสุภาพสตรีแต่เหมือนห้องน้ำชายเลยไม่มีประตูปิด(คงนึกออกนะว่าที่ปัสสาวะของชายเป็นอย่างไรห้องน้ำผู้หญิงบ้านเขาก็เป็นอย่างนั้นนะ) หลังเสร็จเรื่องที่ด่านลาวบาวแล้วก็ใกล้จะเย็นเราเลยได้ไปเที่ยวที่เดียวก่อนเข้าที่พักที่เว้ คือ            อุโมงค์หวิงห์มว๊อก (Vinh Moc tunnels)ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเว้มาทางทิศเหนือราว 65 กิโลเมตร นับเป็นอุโมงค์ ใต้ดิน  ที่คนทั้งหมู่บ้านอาศัยอยู่เป็นเวลาหลายปี เพื่อหลบภัยจากการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องในสมัยสงครามเวียดนามแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพากันอพยพไปอยู่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ แต่ก็มีชาวบ้านจำนวนกว่า 300 คน ที่ยังคงอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์คนรูแห่งนี้เป็นเวลากว่า 5 ปี นับจากปี พ.ศ. 2509-2514 <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p></td></tr></tbody></table><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div class="shape" style="padding-right: 7.2pt; padding-left: 7.2pt; padding-bottom: 3.6pt; padding-top: 3.6pt"><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p></div></td></tr></tbody></table>            ภายในเครือข่ายอุโมงค์ที่มีความยาวกว่า 2,000 เมตรนี้ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น มีทางเข้าออกทั้งหมด                   13 ทาง  แต่ละชั้นจะมีการสร้างเป็นห้องต่าง ๆ ทางซ้ายและขวา โดยชั้นแรกมีจุดเด่นน่าชม อยู่ที่ห้องใช้คลอดเด็กทารกถึง 17 คน ชั้นที่สองเป็นส่วนที่ใช้ในการประชุมสมัยสงคราม จากนั้นจะมีทางเดินลงสู่ชั้น 3  ของ อุโมงค์  ซึ่งค่อนข้างชันควรใช้ความระมัดระวัง อุโมงค์หวิงห์มว๊อกสามารถมาเที่ยวชมได้ตลอดปี เพียงแต่ในฤดูฝนอาจมีความยากลำบากในการเดินทางสักหน่อยและควรนำไฟฉายติดตัวมาด้วยเพราะทางเดินภายในอุโมงค์ค่อนข้างมืด กว่าเราจะออกจากอุโมงค์ก็ค่ำพอดีเลยไม่ได้เห็นตัวเมืองเว้เท่าที่ควร แล้วก็ถึงภัตราคารมือค่ำของเราแล้วขอทานข้าวก่อนนะแล้วมาคุยกันใหม่ บาย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ทัศนีย์ เป็นอย่างมากที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจขอบคุณอีกครั้งครับ</p>

</span>

หมายเลขบันทึก: 59811เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เข้าอ่านแทบทุกวันละค่ะ ตอนนี้ก็ทำให้นึกออกแล้วค่ะว่าสวัสดีภาษาเวียตนามเป็นอย่างไร เคยเรียนไว้ 4-5 คำเวลาต้อนรับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเวียตนามมาเยี่ยม กั๊มเอิ้น กั๊กบ้ะ ขอบคุณมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท