ทำไมถึงเดินช้า คำถามจากผู้ใหญ่เพ็ญฯ


หากไม่มีคำถามนี้จากผู้ใหญ่เพ็ญฯ ผมจะไม่รู้เลยว่ากำลังถูกตั้งคำถามจากชุมชนนี้อยู่

     เมื่อวาน (วันที่ 26 ต.ค. 2548) ผมต้องเข้าไปวางแผนการประเมินผลโครงการพัฒนาหมอนวดแผนไทยตามหลักเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ ที่ชุมชนเกาะเรียน ณ เทศบาลตะโหมด ผมได้พบกับผู้ใหญ่เพ็ญฯ ซึ่งก็ได้พูดคุยกันในหลาย ๆ เรื่อง มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมถูกถามคือ ทำไม “ไตรภาคีฯ” ถึงเดินช้า เป็นคำถามจากผู้ใหญ่เพ็ญฯ ที่อยากเห็นการก่อร่างสร้างรูปของการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งผมก็ได้ตอบไปว่าสำหรับผมพร้อมเสมอ ก็รอแต่ให้ทางชุมชนเสร็จจากโครงการนี้ก่อน และก็ไม่อยากรีบเร่งให้เกินธรรมชาติไป

     ในตอนท้ายก็ได้ร่วมกันคิดวางแผนว่าชุมชนที่จะดำเนินการทั้ง 5 ชุมชนตามที่ได้ตกลงกันไว้คราวที่แล้วน่าจะได้เริ่มลงมือเดินเก็บเกี่ยวเรื่องราวที่เป็นความต้องการของชุมชนย่อย ๆ ก่อนให้ครอบคลุม ซึ่งอาจจะใช้ทีมเยาวชน ทีมอสม. หรือทีมผู้นำฯ ผู้นำชุมชน กรรมการ ให้ออกมาช่วยกันเดินและสร้างเวทีเล็ก ๆ โดยให้แต่ละคนได้จดบันทึกเรื่องราวไว้ จากนั้นทีมไตรภาคีที่จังหวัดจะได้จัดเวทีรวมให้สักครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน 2548 นี้ ก็เป็นอันว่าตกลงตามนี้ โดยให้พี่หรอย (อนุกูล ทองมี) หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านเกาะเรียนได้รับไปจัดทำโครงการ/วางแผนกำหนดเรื่องนี้ในเร็ววันนี้

     บันทึกนี้ไว้เพื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยบอกและยืนยันว่า หากเราได้เริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนแล้ว บางครั้งที่เราเคยบอกว่าชุมชนจะฉื่อยชานั้น ไม่จริงเสมอไปครับ หลาย ๆ ครั้งแล้วที่เราซึ่งเป็นทีมนำฯ จากระดับจังหวัดโดนรุกไล่จากแกนนำภาคประชาชน ฉะนั้นเราควรจะได้แยกออก และมอบให้ชุมชนได้เดินเอง โดยไม่ต้องรอคอยเราจะดีที่สุด จึงจะไม่เกิดคำว่า “ทำไมถึงเดินช้า” เพราะเขารอคอยเราอยู่ ซึ่งต้องพยายามไม่ให้เกิดขึ้น ต้องให้เขาเดินได้เองเมื่อเขาคิดว่าพร้อม และหากไม่มีคำถามนี้จากผู้ใหญ่เพ็ญฯ ผมจะไม่รู้เลยว่ากำลังถูกตั้งคำถามจากชุมชนนี้อยู่

หมายเลขบันทึก: 5976เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2005 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท