จุดประกายชุดโครงการวิจัยกลุ่มสหเวชศาสตร์


หัวปลา หรือ knowledge Vision ของกลุ่ม คือ กรอบงานวิจัยกลุ่มโรคความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด

ตั้งแต่ได้เริ่มเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ และสถานการณ์อำนวยให้ดิฉันมีโอกาสสร้างเสริมประสบการณ์การเป็น FA ทีละเล็กละน้อย  ไม่นึกว่า ที่แท้นี่คือกระบวนการที่สามารถประยุกต์ใช้กับการจัดการอะไร อะไร ได้อีกหลายอย่าง  ดังเช่น วันที่ 26 ต.ค. ดิฉันได้ลองนำวิธีของ KM บางส่วนไปใช้ในการสร้างประชาคมนักวิจัยในกลุ่มสหเวชศาสตร์

หัวปลา หรือ knowledge Vision ของกลุ่ม คือ กรอบงานวิจัยกลุ่มโรคความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด มี อ.สราวุธ  คำปวน  อาจารย์หนุ่มไฟแรง สาขาเทคนิคการแพทย์ ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย King's College London เดือนหน้านี้ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ

ก่อนอาจารย์จะไป  เราก็ต้องให้ไปอย่างมีเป้าหมายและกลับมาสานต่อได้  ดังนั้น งานวิจัยของคณะจึงเชื้อเชิญคณาจารย์ทุกท่านของสหเวชฯ ไม่ว่าจะเป็นสาขาเทคนิคการแพทย์  เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก  รังสีเทคนิค  หรือกายภาพบำบัด มาร่วมเสวนาระดมสมองกัน

ก่อนอื่นก็ให้ อ.สราวุธ เล่าให้ฟังก่อนว่า คิดอย่างไรจึงเลือกเรื่องนี้  อ.สราวุธ มีข้อมูลเพี๊ยบ ทั้ง review literature สถิติต่างประเทศ  ในประเทศ และ SWOT ให้ฟัง จนทุกคนเคลิบเคลิ้มเห็นดีเห็นงามตามไปด้วย  แล้วเราก็แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มคละสาขากัน โดยแต่ละกลุ่มจะมี FA และ Note taker ประจำ (ก็อาจารย์ในกลุ่มนั่นแหละ ออกความเห็นด้วย ทำหน้าที่ด้วย)  กำหนดให้แต่ละกลุ่ม  ค้นหากรอบงานวิจัยกลุ่มโรคความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด ที่ทุกสาขาสามารถเข้ามา joint กันได้ว่าควรประกอบด้วยประเด็นใดบ้าง  และลำดับความสำคัญของประเด็น  ตลอดจนบรรจุโครงการย่อยในแต่ละประเด็น ว่าอาจารย์ท่านใด สนใจจะทำวิจัยเรื่องอะไรกันบ้าง

 

  

  

ผลที่ได้ก็นำมา present กัน อาจารย์หลายคนรู้สึกพอใจ ที่อย่างน้อย ณ ขณะนี้ได้ทราบว่า คณะสหเวชศาสตร์ มี selected field เรื่องหนึ่งแล้ว โดยเกิดจากความเห็นร่วมกันระหว่างต่างสาขา

แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพื่อจุดประกายชุดโครงการวิจัยกลุ่มสหเวชศาสตร์  ท่านรองวิจัยฯ (ดร.ศิริลักษณ์  ธีระภูธร) รับที่จะเป็นผู้ประสานงานชุดโครงการนี้ไปพลางก่อน จะทำรายงานสรุปแจ้งกลับไปยังกลุ่มนักวิจัยที่มาร่วมประชุมในวันนี้

นอกจากนี้  ยังอำนวยความสะดวกในการประสานกลุ่มให้ช่วยกันเขียนโครงร่างชุดโครงการวิจัยนี้ ควบคู่ไปกับการแสวงหาแหล่งทุนวิจัย เพื่อขอความสนับสนุน

ลำดับถัดไป ดูเหมือนเรื่องจะยากขึ้น ยากขึ้น เรื่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 5974เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2005 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท