วรรณกรรมข้าม(หลาย)ศตวรรษ


ปี 1895 H. G. Wells เขียน The Time Machine

ถัดมา 100 ปี Stephen Baxter ต่อภาค 2 ในชื่อ The Time Ships ซึ่งก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมข้ามศตวรรษที่ต่อเรื่องได้'เนียน'มาก

อะไรแปลก ๆ ที่อธิบายไม่ได้ในภาคแรก ก็มาอธิบายให้ในภาคสอง เช่น ก่อนจบภาคแรก ตัวเอกเจอยานท่องเวลาแบบ 'แปลกผิดคาด' ใครที่เคยอ่าน จะพอรู้สึกได้ว่า ทำไมจบแปลก ๆ ซึ่งก็มาขยายความในภาคสองว่า เกิดอะไรขึ้น

การที่หลายคนช่วยกันเขียนต่อ ๆ กันในโครงเรื่องที่ต่อเนื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลก เช่น หลัง Asimov ตายไป ก็มีการช่วยกันรุมเขียนต่อในนิยายวิทยาศาสตร์ชุดสถาบันสถาปนามาแล้ว แต่ระยะห่างกันก็ไม่นานมาก 

ถามว่านี่เป็นสถิติที่ 'สุดยอด' แล้วยัง ?

คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ

ที่เขียนต่อกันได้น่าทึ่งกว่า คือ สมุทรโฆษคำฉันท์ ครับ

เริ่มที่....พระมหาราชครู

ต่อด้วย...สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

แล้วทิ้งช่วงไปนานจนถึงยุครัตนโกสินทร์

จนที่สุด...สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

มาต่อให้จบเรื่อง เป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าสามสำนวน ต่อกันได้เนียนสนิท

เรื่องนี้ทิ้งช่วงได้นานสะใจกว่า ใช้เวลาถึง 250 ปี กว่าจะจบเรื่อง ความยากไม่ใช่พล็อตเรื่อง เพราะหยิบมาจากชาดก แต่อยู่ที่ระดับความลึกล้ำของภาษา

 

หมายเลขบันทึก: 59707เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท