ตัวชี้วัดกับผลการทำงาน


สิ่งที่ทำให้ทุกคนมีความทุกข์มาจากอะไร ตอบอย่างง่ายๆก็น่าจะเป็นคนวางกติกาไม่ได้ทำ คนทำไม่มีโอกาสได้กำหนดกติกา
ตอนนี้ผมได้ข่าวอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านการจัดการทรัพยากรน้ำที่ผมและคณะทีมงานร่วมกันเสนอในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งค่อนข้างแน่นอน ทางทีมงานก็เลยเริ่มตระเวณเก็บข้อมูลเพื่อการเตรียมตัวจัดตั้งสำนักงาน กรรมการบริหาร การแบ่งงาน กำหนดภาระกิจในระหว่างทีมงาน จากการตระเวณ ก็ได้พบว่าปัญหาใหญ่ของการจัดตั้งศูนย์วิจัยก็คือ ตัวชี้วัดความสำเร็จของงานที่ตั้งไว้โดยผู้ติดตามประเมินผลตามลำดับชั้น ว่าจะต้องมีให้ครบทุกประการ ซึ่งกลายเป็นความทุกข์อย่างยิ่งของคนทำงาน เพราะมีทั้งการสร้างบุคลากร การสร้างความรู้ การตีพิมพ์ การเผยแพร่ และผลกระทบทางการพัฒนาด้านต่างๆ ที่มักไม่ค่อยครบในการทำงานจริงๆ นอกจากจะเห็นใจเพื่อนร่วมสถาบันแล้ว ผมก็มากังวลกับงานของตนเองว่าจะต้องสร้างงานอย่างไร กำหนดยุทธศาสตร์อย่างไรจึงจะพากระบวนไปได้ตามเป้าหมายที่ผู้ประเมินวางไว้ให้เดนตาม ประเด็นสำคัญของตัวชี้วัดก็คือ ทุกศูนย์จะต้องมีตัวชี้วัดครบทุกตัว (แบบหารยาว) โดยไม่พิจารณาตามศักยภาพและลักษณะของงาน ทำให้ทุกศูนย์มีปัญหาคล้ายกัน เพราะยากที่ทำให้ไดครบทุกด้านอย่างครอบคลุมครบถ้วน จะเกลี่ย หรือชดเชยก็ไม่ได้ เพราะเบื้องบนก็ต้องหาตัวชี้วัดให้ครบเหมือนกัน ผมมาประเมินดูแล้ว และพยายามจะทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ทำให้ทุกคนมีความทุกข์มาจากอะไร ตอบอย่างง่ายๆก็น่าจะเป็นคนวางกติกาไม่ได้ทำ คนทำไม่มีโอกาสได้กำหนดกติกา และเน้นเอาง่ายในการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์เข้าว่า พอจะเข้าใจได้ในระดับหนื่งที่ใช้ป้องกันพวกเบียวงาน แต่บางทีคนไม่เบี้ยวงานก็ยังสาหัส แล้วเราจะปล่อยไว้เช่นนี้หรือ เราทำให้ง่ายต่อการประเมินไปเพื่ออะไร เพราะความง่ายนั้นบางทีก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เช่นตัวชี้วัดเรื่องตีพิมพ์ต่างประเทศนั้น ไม่มีความเหมาะสมกับงานที่ทำในระดับท้องถิ่น และงานระดับลึกซึ้งทางวิชาการหลายๆอย่างก็ยากที่จะนำไปใช้ให้เกิดผลได้โดยตรงกับชาวบ้าน จากการคุยกัน ก็มีแต่ตกลงกันว่าน่าจะมีการเกลี่ย และชดเชยให้มีน้ำหนักพอสมควร กระจายตัวพอสมควร แล้วใช้นำหนักรวมเป็นเกณฑ์สำคัญในการประเมิน ตรงนี้ผู้ประมินจำเป็นต้องใช้สมองนิดหน่อยก็ทำให้ทุกคนที่ทำงานหนักเป็นสุขขึ้นมาบ้าง ไม่ลำเอียงในการประเมิน แต่ผู้ประเมินหลายท่านคงไม่เห็นด้วยกับผมหรอก เพราะทำให้ท่านต้องเหนือยมากขึ้นในการประเมินสิ่งชดเชยกันในระบบคะแนนการประเมิน อย่างไรก็ตามก็อยากให้ลองคิดดูเผื่อจะทำให้คนที่ทำงานหนักแล้ว มีความสุขมากขึ้นอีกนิดหน่อย แต่ไม่ต้องสงสารคนขี้เกียจหรอกนะครับ ผลกระทบในเชิงการใช้งานจริงน่าจะยังคงไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันไปทุกเรื่อง หรือท่านจะมีความเห็นว่าอย่างไรครับ
คำสำคัญ (Tags): #kpi
หมายเลขบันทึก: 59706เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท