Km คณะแพทยศาสตร์ มอ.


Km คณะแพทยศาสตร์ มอ.
ประสบการณ์การจัดการความรู้ในภาคราชการ :กรณีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *

.นพ.พิเชฐ  อุดมรัตน์ * *

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เคยกล่าวชมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ไว้ว่า ได้มีการจัดการความรู้ (knowledge management, KM) ที่ทำกันเองตามธรรมชาติมานานแล้ว  อาจเรียกได้ว่าการจัดการความรู้ในระยะดังกล่าว อยู่ใน phase ศูนย์ แต่คณะแพทยศาสตร์ได้มาเริ่มดำเนินการเรื่อง KM อย่างเป็นระบบเมื่อ พ..2545 นี่เอง  โดยการจัดการความรู้ใน phase ที่หนึ่ง (2545 – พฤษภาคม 2547) นั้น อาศัยกลไกของ คณะกรรมการบริหารพัฒนาบุคลากรและจัดการความรู้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยใน phase แรกนี้ได้เริ่มต้นจากการทำความกระจ่างในเรื่อง KM เพื่อให้คนในคณะได้เข้าใจ KM ตรงกันเสียก่อน  ซึ่งได้ใช้ทั้งวิธี outside-in และ inside-out ในช่วงต้นคณะกรรมการใช้การสื่อสารผ่าน website ของคณะเป็นหลัก  ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการสื่อสารหลายช่องทางคือ ใช้ทั้งการพูดคุย (ในการประชุม, ในการบริหารโดยการเดินเยี่ยมหน่วยงาน) ผ่านทางกระดาษ (สาร Knowledge sharing – Getting better practice) และทาง website พร้อมกับจัดให้มีกิจกรรม วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟังหรือ “Knowledge Sharing Day” ขึ้น  และกิจกรรม โครงการขอความรู้จากผู้ลาจาก ฝากไว้ให้คณะ  เพื่อให้บุคลากรของคณะที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของรัฐบาลได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานไว้ให้กับหน่วยงานของคณะก่อนเกษียณใน phase ที่สองของการจัดการความรู้ (เริ่มจากมิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน) คณะแพทยศาสตร์ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่เรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้โดยมีคณบดีเป็นประธาน  คณะกรรมการชุดนี้มีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน และได้สรุปว่าในช่วง 2 ปี (2547-2549) นี้ จะใช้ “DISCO” model เป็นแนวทางในการจัดการความรู้ คือ มี day of sharing knowledge (จะจัดให้มีกิจกรรม วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟังปีละ 3 ครั้ง และมีการสื่อสารผ่านทาง KM News ทุก ๆ 3 เดือน),  individual learning of knowledge (จัดให้มี e-learning ที่บุคลากรของคณะสามารถเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ในเรื่องที่คณะกำหนดไว้), switching  tacit  to  explicit  knowledge (จัดให้มีการเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในบุคลากรออกมาเป็นความรู้แจ้งชัด โดยผ่านกลไกของชุมชนนักปฏิบัติหรือ Community of Practice ซึ่งใน 2 ปีนี้ คณะกำหนดไว้ว่าจะให้มี CoP ขึ้น  5 กลุ่ม), continuity management of knowledge (เป็นกิจกรรมที่สืบต่อมาจากโครงการขอความรู้จากผู้ลาจากฝากไว้ให้คณะ  แต่จะดำเนินการเป็นระยะ ๆ โดยไม่ต้องรอให้บุคลากรคนนั้นเกษียณหรือลาออก) และ organise knowledge (เป็นการจัดความรู้ขององค์กรให้เป็นระบบและเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสืบค้น  รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านของบุคลากรในคณะ)  ทั้งนี้ คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้กำหนด key performance indicators (KPIs) ของคณะกรรมการชุดนี้เอาไว้แล้ว  ซึ่งคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคณะกรรมการชุดนี้เป็นอย่างยิ่งที่จะบริหารจัดการเรื่อง KM ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. ให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 59687เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรื่องน่าสนใจดี แล้วมีวิธีการถ่ายทอด หรือให้ความรู้ในเรื่องของ KM ในองค์กรอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท