ชมรมผู้ไร้กล่องเสียง ...ตอนที่ 2


ความรักอันอบอุ่น กำลังใจจากครอบครัว สังคมรอบข้าง มีความสำคัญต่อการปรับตัวและ เป็นยาใจที่ดีสำหรับผู้ป่วย

         วันเปิดชมรม ( ปฐมฤกษ์ ) **

เช้าวันนั้น จำได้ว่าเป็นเช้าวันพฤหัสบดี ที่ 5 มีนาคม 2546 ที่ห้องบรรยายภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาดูจะคึกคักเป็นพิเศษ แต่ดิฉันในฐานะที่ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นดูจะหนักและเหนื่อยเป็นทวีคูณ ในใจก็บอกว่าอย่าเพิ่งหมดกำลังใจน่ะ สู้ อีกหน่อย วันนั้นมีผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดไปแล้ว และญาติ  ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัดกล่องเสียงและเจ้าหน้าที่จากหอผู้ป่วยก็ลงมาร่วมงาน พิธีเปิดชมรมผู้ไร้กล่องเสียงก็เริ่มขึ้นโดย รศ. พญ.   พรรณทิพย์   สงวนเชื้อ   รองคณบดีฝ่ายบริหาร มาเป็นประธานเปิด  หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมการฝึกครั้งแรกของชมรม  สมาชิกแรกเริ่มของชมรม มี 16 คน มีคนไข้ 3 รายที่สามารถออกเสียง เก้า ได้เลย  ผู้ป่วยเขียนบอกว่าไม่เคยคิดว่าจะพูดได้อีก ไม่เคยมีเสียงเลยหลังจาผ่าตัดมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ภาพทั้งน้ำตาผู้ป่วยและญาติที่ไหลออกมาพร้อมกัน ยังคงกระจ่างในความรู้สึกตลอดมา ความรักอันอบอุ่น กำลังใจจากครอบครัว สังคมรอบข้างไม่ว่าจะเป็น  เพื่อนฝูงรวมถึงเพื่อนผู้ป่วยโรคเดียวกัน เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข ต่างก็มีความสำคัญต่อการปรับตัวและ เป็นยาใจที่ดีสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้   วันนั้นความเหนื่อยที่เคยมีหายไปหมดสิ้น แถมกำลังใจอีกมากมายที่บอกกับตัวเองว่านี่คือผลตอบแทนที่ได้รับและต้องสู้ต่อเพื่อคนไข้เหล่านี้

หมายเลขบันทึก: 59474เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อ่านแล้วก็ประทับใจไปด้วยค่ะ ขอบคุณที่เอาเรื่องดีๆแบบนี้มาบันทึกให้ได้ร่วมรับรู้ พวกเราชาวห้อง lab ไม่ค่อยมีโอกาสได้รับรู้แรงตอบสนองแบบที่คุณกัญญารัตน์เล่ามา จะได้เป็นกำลังใจให้เราได้รับรู้ถึงสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการของเราไปด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท