ปัญหาการศึกษา(9) สพฐ.ผนึก กทม.แก้ปัญหารับ นร.ม.1 - ทินกร กระมล


สพท.กทม.เขต 2 มีปัญหาการรับนักเรียนเข้า ม.1 รุนแรงที่สุด และสะสมมานานจากตัวเลขเดิมที่นักเรียนเกินจะรับได้รวมแล้วเกือบ 10,000 คน เฉพาะโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยเกิน 8,000 คน ย่านแจ้งวัฒนะ รามอินทราเกิน 5,000 คน

     

ที่มา:http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000138683

เนื้อหา:

เลขาธิการ กพฐ.หารือร่วมจัดการศึกษากับรองผู้ว่าฯ กทม.เพื่อแก้ปัญหารับนักเรียน ม.1 โดยจะเร่งสำรวจโรงเรียนที่รับนักเรียนได้ และจำนวนนักเรียนที่เกินให้ได้ภายใน 1 สัปดาห์ แล้วหาวิธีให้โรงเรียนขยายโอกาสใน กทม.ช่วยขยายห้องเรียนรับนักเรียนเพิ่ม โดยมีครูและระบบการสอนของ สพฐ.เข้าไปช่วย รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนที่มีอยู่แต่ยังรับเด็กได้ไม่เต็มจำนวน
       
       คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) หารือแก้ปัญหาการรับนักเรียนชั้น ม.1 ในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการ กทม. นายอนันต์ สิริภัสราภรณ์ รองปลัด กทม. ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม.และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กทม.เขต 1-3

สพท.กทม.เขต 2 มีปัญหาการรับนักเรียนเข้า ม.1 รุนแรงที่สุด และสะสมมานานจากตัวเลขเดิมที่นักเรียนเกินจะรับได้รวมแล้วเกือบ 10,000 คน เฉพาะโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยเกิน 8,000 คน ย่านแจ้งวัฒนะ รามอินทราเกิน 5,000 คน ย่านลาดพร้าวเกิน 1,000 คน ย่านลาดกระบัง และรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิน 1,000 คน ขณะที่ สพท.กทม.เขต 3 มีจำนวนนักเรียนที่เกินกว่าโรงเรียนจะรับได้ประมาณ 4,000 คน
       
       คุณหญิงกษมา กล่าวว่า จากการหารือกันเห็นตรงกันว่าจะต้องทำให้เด็กได้เรียนโรงเรียนดีและอยู่ใกล้บ้าน ดังนั้น สพท.กทม.ทั้ง 3 เขต และ กทม.ควรจะเริ่มวางแผนรับเด็กร่วมกันรับพร้อมกัน ซึ่งโรงเรียนสังกัด กทม.จะมีโรงเรียนขยายโอกาสที่ขอให้ทางผู้อำนวยการ สพท.กทม.ไปจับคู่กับโรงเรียนมัธยม ทำให้เกิดโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องเพื่อดูแลคุณภาพที่ดีขึ้น หรือจะขอให้ กทม.เปิดรับโรงเรียนในที่ดินของ สพท.กทม.รวมทั้งอาจจะต้องหารือหน่วยงานเข้ามาร่วมจัดการศึกษา เช่น การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่มีโครงการบ้านเอื้ออาทรอยู่ติดกับรั้วโรงเรียน
       
       นอกจากนี้ จังหวัดรอยต่อกับโรงเรียนในพื้นที่ กทม.ที่ส่งเด็กเข้ามาเรียนกันมาก ทำอย่างไรจะทำโรงเรียนที่อยู่ระหว่างต่อแดนให้มีคุณภาพ ซึ่งจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ให้ผู้อำนวยการ สพท.กทม.ได้หารือร่วมกับผู้บริหารด้านการศึกษาของ กทม.โดยร่วมเป็นคณะทำงานและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปตัวเลขนักเรียนและโรงเรียนที่จะรองรับ รวมถึงสำรวจโรงเรียนอื่นที่จะสามารถรับเด็กได้เพิ่มอีกโดยต้องเข้าไปปรับปรุงโรงเรียนให้ดีขึ้น ส่วนการเสนอสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่นั้นยังไม่ฟันธง ต้องพิจารณาโรงเรียนที่มีอยู่จริงก่อนว่าสามารถรับได้เพียงใด

อ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ที่ให้ใว้นะครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ทินกร
หมายเลขบันทึก: 59407เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท