​เกษตรกรต้นแบบการปรับปรุงบำรุงดิน


เกษตรกรต้นแบบการปรับปรุงบำรุงดิน

นายจรัน จันทะบุตร อยู่บ้านเลขที่ 177 หมู่ที่ 16 ตำบล บ่อถ้ำ อำเภอ ขาณุวรลักษบุรี จังหวัด กำแพงเพชร เบอร์โทรศัพท์ 08-9271-3552

องค์ความรู้เด่น : การปรับปรุงบำรุงดิน โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี

การใช้ปูนโดโลไมท์ : หว่านปูนโดโลไมท์รองพื้นก่อนยกร่องปลูกในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับโครงสร้างของดิน

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ : ส่วนประกอบที่สำคัญ มูลสุกร แกลบดำ และ ปูนโดโลไมท์ ในอัตรา 2:2:1 ผสมกับ กากน้ำตาล หินฟอสเฟต ฮิวมิค และพด.1 แล้วกองไว้ประมาณ 2 เดือน นำไปใส่ในแปลงมันสำปะหลังในช่วงกำจัดหญ้าครั้งแรกด้วยการใช้ผานแหวกตามร่องพร้อมใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วกลบ อัตราการใช้ 50 กิโลกรัม/ไร่

การหว่านปอเทือง : หว่านปอเทืองก่อนการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง 2 เดือน เมื่อปอเทืองโต ใช้เครื่องจักรกลเกษตรไถกลบพร้อมกับขุดหัวมันสำปะหลังขึ้นมาในคราวเดียวกัน เพื่อลดต้นทุนและร่นระยะเวลาการไถกลบปอเทือง

ผลผลิต :

  • ผลผลิตก่อนการปรับปรุงบำรุงดิน เฉลี่ย 3,300 กิโลกรัม/ไร่
  • ผลผลิตหลังการปรับปรุงบำรุงดิน เฉลี่ย 3,800 กิโลกรัม/ไร่
  • ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15

ต้นทุนการผลิต :

  • ปูนโดโลไมท์ เฉลี่ย 200 บาท/ไร่
  • ปุ๋ยอินทรีย์ เฉลี่ย 200 บาท/ไร่
  • ปอเทือง ขอรับสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดิน

สนับสนุนข้อมูลโดย...

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

หมายเลขบันทึก: 593495เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2015 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้ะคุณสิงห์ ป่าสัก

มาทำความรู้จักกับเกษตรกรคนเก่งจ้ะ

ชื่นชมจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท