จังหวะ...ดนตรี...สิ่งนี้จรรโลงโลกจริงหรือ


ที่จริงดนตรี...เป็นของขวัญสำหรับสิ่งมีชีวิต...หรือเป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกมาก่อนเรา

เวลาอารมณ์ร้อน...เราก็ฟังเพลง...เพื่อให้อารมณ์เย็นลง

เวลาอารมณ์เย็น...เราก็อยากฟังเพลงที่พาใจล่องลอยสู่ธรรมชาติ

เวลาอารมณ์รัก...เราก็ฟังเพลงที่ซาบซึ้ง...ดื่มด่ำ...ชวนให้ไหลหลง

 

เมื่อวานผมถามลูกชายว่า... เรารู้จักดนตรีกันตั้งแต่เมื่อไร...

ลูกชายคนกลางผมคงงง...มาชวนคุยเรื่องดนตรีอะไรกันตอนหิวข้าว...555 

หลังจากที่พบว่าลูกชายผมชอบเพลงสมัยใหม่...บางเพลงผมก็ฟังไม่รู้เรื่อง...(ร้องกันไปได้ยังไง...555)

ใครนะ...เป็นคนค้นพบจังหวะ...และให้ชื่อว่าเป็นดนตรี...

"สงสัยเป็นเสียงที่เขาเอาหินทุบหัวไดโนเสาร์มั้งพ่อ"... ลูกชายผมว่าไปนั่น

"นั่นซิ....แล้วใครบ้างที่ไม่รู้จักจังหวะ...ไม่รู้จักดนตรี" อันนี้ผมหันไปถามภรรยา

"ขนาดต้นไม้ยังชอบฟังดนตรีเลยนะพ่อ...คนบ้าที่ไหนจะไม่รู้จักดนตรี" ภรรยาผมคงนึกไปถึงสิ่งที่เธอชอบทำ(ที่จริงผมว่าเธออยากฟังเองแล้วอ้างว่าเปิดให้ต้นไม้ฟังมากกว่าม้าง...555)

เออ...นั่นซิ...มีใครทำวิจัยเรื่องคนบ้ากับดนตรีกันมากน้อยแค่ไหนนะเนี่ย...

หรือว่าแท้ที่จริงดนตรี...ของขวัญสำหรับสิ่งมีชีวิต...หรือเป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกมาก่อนเรา... หรือว่าแท้จริงแล้วดนตรีเกิดมาก่อนโลกกันแน่...

 ชนใดไม่มีดนตรีกาล...ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก... เป็นข้อบ่งชี้ประการหนึ่งสำหรับผู้เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งดนตรี..

แล้วคนที่ฟังดนตรีแต่ละประเภท...แต่ละยุค...แต่ละวัย...ไฉนจึงแตกต่างกันมากนัก

"นี่ตั้ก...ลูกฟังเพลงอะไรกัน...ทำไมมันดุเดือดเลือดพล่านโหดร้ายรุนแรงกันจังเลยล่ะลูกพี่จี้ดถามลูกสาวด้วยความห่วงใย

"แม่...เพลงสมัยแม่น่ะ โหดร้ายกว่านี้เยอะ...เล่นตัดนิ้วกัน(ดรรชนีไฉไล)..แม่ทนฟังไดงัยน่ะ.." ตั๊กย้อนให้เล่นเอาแม่จี้ดอึ้ง

"แถมยังมีเพลงลามก น่าเกลียดกว่าเพลงของหนูอีก...เล่นแก้ผ้าแล้วปีนขึ้นไปแอบดูเขา(เกลียดห้องเบอร์ 5) ทำไปได้..."  เธอขโยกต่อเล่นเอาพี่จี้ดหัวร่อก๊ากก...ขำกลิ้ง(แสดงว่าลูกสนใจเพลงรุ่นเราเหมือนกันแฮะ...แต่เราดันไม่ค่อยสนใจเพลงรุ่นพวกเธอ....อิอิ)

ผมเคยถกเรื่อดนตรีเป็นเครื่องชี้นำสังคมกับนักประชาสังคมทั้งหลาย...

นัยว่าเพลงเย็น ๆ สมัยรุ่นที่เราฟัง...มีส่วนสำคัญทำให้คนไทยมีภาวะจิตที่อ่อนโยน..สงบสุข...ร่มเย็น...

ผิดกับสมัยใหม่ที่เอาดนตรีที่รุนแรงมาสร้างกระแสอารมณ์สู่พฤติกรรมวัยรุ่นสมัยใหม่...ให้ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงในสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน...

แม้ว่าดนตรี...จะเกิดมาอย่างไร...กำลังจะไปทางไหน...เดินทางของมันอย่างไรต่อไป...และสิ้นสุดลงที่ตรงไหน...

...ดนตรี...เพลง...ก็เป็นเครื่องประโลมโลก...และก็กล่อมเกลาโลกให้เป็นไปตามจังหวะแห่งกาล...ต่อไป...ไม่มีที่สิ้นสุด...

 

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี#เพลง
หมายเลขบันทึก: 59153เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เพลงไทยเรามี ลูกทุ่ง กับ ลูกกรุง

เพลงลูกทุ่ง มักมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคน
เราสามารถบอกช่วงกำเนิดของเพลงลูกทุ่งเพลงนั้นๆได้เสมอ จากเนื้อร้องที่บ่งบอกถึงตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น


ต่างจากเพลงลูกกรุงที่ มุ่งเน้นถึงความละเมียดละมัย ความซาบซึ้งถึงบทกวี แห่งความรัก ห่วงหา อนาทร และความฝันที่ไม่อาจเป็นจริง

แต่สำหรับเพลงสตริง ออกจะไปทาง ดุเดือดเลือดพล่านโหดร้ายรุนแรง อย่างที่สอนบอก แต่ก็สามารถจรรโลงโลกได้เหมือนกัน(สำหรับบางคน) ดังสุนทรภู่ว่าไว้ในพระอภัยมณีว่า

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป  ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์ 

สิ่งหนึ่งที่คิดคำนวณไม่ถึงก็คือ

ที่จริงจิตของปัจเจกชนล้วนล่องลอย ไร้ทิศทาง...และเป็นไปตามความเป็นไปที่ไม่แน่นอนจริงหรือไม่....

พอจิตของปัจเจกชนเกิดการปะทะสังสรรค์กับจิตอื่นๆจนเกิดการเรียนรู้ในการปะทะสังสรรค์ครั้งนั้น ๆ.... ซึ่งก็ยังคงยากที่จะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการเรียนรู้...เนื่องจากความแตกต่างของระดับ...และความถี่ของคลื่นกระแสจิต...

จังหวะ...ดนตรี...จึงเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยปรับระดับกระแสจิต...ให้สื่อสารกันง่าย...เร็ว...และตรงมากขึ้น...กระนั้นหรือ

จังหวะดนตรี...หรือดนตรี.เป็นมากกว่าเครื่องมือ..

ไม่ว่าจะจังหวะใดก็ตาม..การนำไปใช้และการเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของดนตรี..อย่างแท้จริง.จะเป็นคำตอบว่า.....ทำไม..เมื่อดนตรีบรรเลง..จึงสามารถรวมคนให้มาฟัง..โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน

....ทำไมเมื่อดนตรีบรรเลง....จึงมีคนคอเดียวกันหรือภาคเดียวกัน...เข้าไปนั่งฟัง  โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน......และได้มิตรภาพใหม่

....การสื่อสาร...อาจใส่ในเนื้อเพลง.+จังหวะ..นั่นคือการสื่อสารที่แฝงไปด้วย..อารมณ์และความรู้สึก...ซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้แต่ง.......

ส่วนจะช่วยปรับกระแสจิต ให้ตรงมากขึ้น..ไม่แน่ใจนะคะ แต่ปรับระดับอารมณ์ได้แน่ๆค่ะ

คิดว่าต้องเข้าถึงแก่นแท้มากๆ ...จึงจะมีคำตอบ

 ขอร่วมแสดงความเห็นนะคะ......

ยินดีครับ...ไม่นึกว่าน้องจากพรหมพิรามจะเป็นที่เข้าถึงดนตรีได้ลึกซึ้งปานนี้...

 

เท่าที่พี่ทราบ...ขณะนี้กระบวนการจัดการความรู้(KM)เข้าให้ความสนใจในการปูพื้นเรื่อง Deep listenning โดยใช้การฟังเพลงแล้ววิเคราะห์ให้เข้าถึงแก่นแท้แบบที่ฉัตรว่าแล้วแหละ...

 

เพลง ขอได้ไหม ของวงเซเว่น ที่อาจารย์วิไลนำเสนอเป็น Active listenning ในกระบวนการ Counselling(ในงานมหกรรมKM) ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง... ว่าง ๆ ลองหามาฟังดู... พี่ยังไม่ถึงขั้นแยกความรู้สึกของทั้ง 7 สาว เลยว่าแต่ละท่อนมีอารมณ์ความรู้สึกกี่แบบ...อิอิ

จังหวะ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ในปกติวิสัย เราไม่สามารถทำสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน อย่างเช่นว่า เราไม่สามารถที่จะก้าวขาขวาพร้อมกันกับขาซ้ายได้

หรือ จังหวะ อาจจะหมายถึง คำที่สมมุติให้กับสิ่งที่ผมอธิบายข้างบน(เหมือนไม่ได้ตอบอะไรเลย)

จังหวะ เมื่อรวมกันกับเสียง และการสมมุติของเราแล้ว เกิดเป็น สิ่งที่เราสมมุติอีกว่า "ดนตรี" หรือ "ทำนอง(นั้น)"

ผ่านการโปรแกรม(ฝังเข้าสู่สมอง)นานนนนนนนนนนน
จากรุ่นสู่รุ่น ก่อให้เกิดนิยามใหม่ คือ "ความไพเราะ" ความผิดเพี้ยนของการโปรแกรมนี้คือ (หรืออาจจะเรียกว่ากลายพันธ์ก็ได้)

แต่ละคนนิยามความไพเราะ ไม่เหมือนกัน เป็นผลทำให้ แต่ละคน แต่ละรุ่นชอบไม่เหมือนกัน

ยินดีครับคุณอุทัย....

 

ก้าวขาซ้ายพร้อมขวาไม่ได้ครับ...แต่ถ้าจะทำต้องกระโดดครับ....555

 

ถูกครับ...ความไพเราะขึ้นอยู่กับจริต...ซึ่งรวมถึงภาวะวิสัยของแต่ละคนด้วยครับ...

 

เพียงเรื่องเดียวที่ผมข้องใจคือ...ไม่ว่าชาติใดศาสนาใด ยุคไหน(ไม่รู้ว่ายุคไดโนเสาร์ด้วยมั้ย)...ใยถึงรู้จักจังหวะ...ดนตรีได้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท