การศึกษาการจัดการระบบสำรองวัสดุการแพทย์ของโรงพยาบาลพนมสารคาม.


Re-management of Medical Inventory in Panomsarakarm Hospital in 2004-2005.

นำพล แดนพิพัฒน์ *, บุญเตือน วัฒนกุล*. พลประสิทธิ์ สิริจันทรดิลก*.

การศึกษาการจัดการระบบสำรองวัสดุการแพทย์ของโรงพยาบาลพนมสารคาม.  Re-management of Medical Inventory in Panomsarakarm Hospital. *โรงพยาบาลพนมสารคาม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา.

เหตุผลการทำวิจัย  :  นโยบาย 30 บาท ทำให้มีการกระจายเงินไปสู่โรงพยาบาลต่างๆ ตามขนาดประชากร โรงพยาบาลบางแห่งได้รับผลกระทบโดยตรง คือ มีเงินบำรุงลดลง หรือ มีหนี้สินค้างชำระมากขึ้น ดังนั้นมูลค่าวัสดุคงคลังของโรงพยาบาลเป็นเรื่องที่ได้ถูกนำมาพิจารณา โดยแนวคิดว่า หากสามารถลดมูลค่าวัสดุคงคลังให้เหลือน้อยที่สุดได้ จะทำให้สามารถลดการใช้เงินในส่วนนี้มาบริหารจัดการในเรื่องอื่นๆ

วัตถุประสงค์        :  เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าวัสดุการแพทย์ในคลังสำรองของโรงพนมสารคามระหว่างการเบิกจ่ายเดือนละครั้งในปี 2546 กับ การเบิกจ่ายเบิกทุกวัน ในปี 2547

รูปแบบการวิจัย    Retro-prospective Study

สถานที่ทำการศึกษา  โรงพยาบาลพนมสารคาม อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา

ตัวอย่างและวิธีการการศึกษา : รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากรายงานการเบิกจ่ายวัสดุการแพทย์ ปี 2546 และเก็บข้อมูลการเบิกจ่ายวัสดุการแพทย์ ปี 2547 และเปรียบเทียบกับข้อมูลจากรายงานมูลค่าคลังวัสดุทางการแพทย์ของโรงพยาบาลอื่นๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการปรับค่าของข้อมูลเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในในเดือนหรือปีนั้นๆ ในการเบิกจ่ายวัสดุทางการแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาล

ผลการศึกษา       จากการศึกษาพบว่า หลังการปรับวิธีการเบิกเป็นทุกวัน ในปี 2547 เปรียบเทียบกับวิธีการเบิกเดือนละครั้ง ในปี 2546 พบว่า ปริมาณการสต็อกสินค้าในคลังรวมและคลังย่อยตามหน่วยบริการต่างๆ ลดลง มูลค่าการสำรองวัสดุการแพทย์ในคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.86, p = 0.0001;  95% CI) เมื่อทำการเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2547 โรงพยาบาลพนมสารคามมีมูลค่าการสำรองวัสดุการแพทย์คลังเวชภัณฑ์ต่อผู้ป่วยในต่ำที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา คิดเป็น 300.95 บาทต่อAdmission จากการสำรวจความเห็นและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่อระบบใหม่ของการเบิกจ่ายวัสดุการแพทย์ทางการแพทย์ พบว่า ความพึงพอใจต่อระบบการเบิกจ่ายวิธีใหม่ทั้งในด้านความสะดวกในการปฏิบัติงาน (70.14%) การมีวัสดุเพียงพอต่อการใช้ (64.18%) คุณภาพของสินค้าที่นำมาใช้ (58.2%) พึงพอใจการปฏิบัติงาน (86.57%) และมีความรู้สึกว่าระบบใหม่ดีขึ้น (74.63%)

สรุป               :  การเปลี่ยนระบบการเบิกจ่ายวัสดุการแพทย์เบิกจ่ายทุกวันตามปริมาณการใช้จริงๆ ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวก ทำให้โรงพยาบาลลดปริมาณและมูลค่าการสำรองวัสดุการแพทย์ลงได้อย่างชัดเจนและ เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีหน้าที่ในการเบิกจ่ายวัสดุทางการแพทย์ยังมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับดี

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5898เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2005 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท