สันติวิธีเชิงปฏิบัติในชั่วโมงฝึกศิลปการต่อสู้


สันติวิธีมิเพียงแต่ต้องฟูมฟักมาแต่เยาว์วัย หากแต่ต้องเรียบง่ายและเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ทั้งยังควรจะมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น สนุก สร้างสรรค์ และที่สำคัญคือต้องมีอิสรภาพอย่างต่อเนื่อง

ตอนนี้ หลายๆวงการกำลังตื่นตัวกับคำว่า สมานฉันท์และ สันติภาพและดูเหมือนว่า รัฐพยายามผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติอีกวาระหนึ่งไปแล้ว แต่คำๆนี้ จะกลายเป็นแค่แฟชั่นวูบวาบหรือเปล่า ก็ยังต้องดูกันยาวๆต่อไป คนธรรมดาๆคนนี้ก็เอาใจช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมฯอีกแรง  

 

เห็นข่าวว่าท่านรัฐมนตรีเปรยๆมาว่าจะส่งเสริมสถาบันสันติวิธีขึ้นในระดับท้องถิ่น ผมก็เห็นด้วยนะครับ และมิอาจจะไปวิพากษ์วิจารณ์อะไร ต้องให้เวลาท่านทำงาน และสังคมตื่นตัวกันมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ผมก็มีประสบการณ์การสอนสันติวิธีที่ทำมากือบปีแล้วได้เสียงตอบรับค่อนข้างดี มาเล่าสู่กันฟังนะครับ  

 

ที่อำเภอปางมะผ้า ซึ่งเป็นอำเภอเล็กๆของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโรงเรียนในโลกกว้างของผม ที่นี่ ผมได้ทดลองเป็นครูอาสาฝึกสอนศิลปการต่อสู้ ที่เรียกว่า ไอคิโดที่ร่ำเรียนมาจากชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้กับเด็กและเยาวชนที่นี่ ทำมาได้เกือบหนึ่งปีแล้ว ยังไม่มีเงินสนับสนุนจากที่ไหน อาศัยทุนตัวเองนี่แหละครับ และบางส่วนเด็กๆก็กันเงินอุดหนุนจากโครงการบางอย่างมาช่วยบ้าง เพื่อนๆรุ่นพี่รุ่นน้อง อาจารย์จากชมรม ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็บริจาคชุด บริจาคเบาะฝึกมาช่วยก็เป็นกำลังใจสำคัญ  

<address style="text-align: center">บรรยากาศการฝึกไอคิโด ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ</address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify">  </address> <address class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify"></address><pre> ภาพบรรยากาศการฝึกไอคิโด ที่ มช.ครับ</pre><pre> </pre><pre> </pre><p> แรกๆ ผมก็ชวนเด็กวัยรุ่นแถวบ้านมาฝึกด้วย เพราะปกติแล้ว ผมจะไปฝึกซ้อมที่ชมรมในมหาวิทยาลัยทุกเย็น มาทำงานอยู่ไกลอย่างนี้ ถ้าไม่ซ้อมเลย เดี๋ยวฝีมือตก แรกๆ ผมคิดอย่างนี้ ไม่ได้คิดว่ามันจะมีพลังไปขับเคลื่อน หรือสร้างแรงบันดาลใจอะไรให้กับใคร  ซ้อมไปซ้อมมา เอ ชัก มันส์ แม้จะมีคนมาฝึกกันน้อย เพราะ ไอคิโดเป็นศิลปการต่อสู้ที่ยาก ที่ยากนี้ คือ มันไม่มีการเตะต่อยหรือเจตนาทำร้ายคู่ต่อสู้  ไม่มีการแข่งขัน หรือให้รางวัล ตัดสินแพ้ชนะ แต่ต้องทำให้คู่ต่อสู้ยุติความก้าวร้าวที่มีต่อเราอย่างละมุนละม่อมที่สุด ไม่ได้เป็นแบบบู๊ล้างผลาญแบบหนัง action-hero ที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์เมืองนอกที่สร้างขึ้นมาล้างสมองเด็กบ้านเรา นี่คือสิ่งที่แฝงอยู่ลึกๆในท่วงท่าการหักข้อต่อ การทุ่ม การล็อคและปลดล็อค ซึ่งเป็นเทคนิคต่างๆในไอคิโด  </p><p> </p>พูดง่ายๆ ก็คือหลักการ win – win นั่นเอง   <div style="text-align: center">การฝึกไอคิโดที่อำเภอปางมะผ้า</div>

  เด็กๆต้องผ่านการทดสอบตัวเอง แรกทีเดียว ก็เริ่มด้วยการฝึกความกล้าที่จะฝึก เมื่อฝึกตอนมาใหม่ๆ ก็จะต้องกล้าที่จะถูกเพื่อนหัวเราะเยาะในความเงอะงะ  และกล้าที่จะบาดเจ็บบ้าง

</font></span><p></p><p align="center">…………..หลายๆคนยกธงขาวตั้งแต่จุดนี้แล้ว………… </p><p></p><p align="center">แต่ก็มีหลายคนที่ก้าวผ่านไปได้  </p><p align="center"> </p><p>ผ่านจุดนั้นมา เด็กที่มีฝีมือขึ้นก็จะเริ่มกล้าที่จะอดทนต่อความโกรธหรือความก้าวร้าวของตน หมายความว่า การฝึกต้องสุขุม ใจร้อน วู่วามไม่ได้ เราอาจจะถูกคู่ฝึกทำให้เจ็บ แต่ห้ามเอาคืนเด็ดขาด และไม่มีการชิงลงมือให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ  นอกจากนี้ ผู้ฝึกต้องกล้าที่จะอ่อนน้อมยอมรับคำวิจารณ์อยู่เสมอ แม้จะฝึกมาสิบปี ก็ยังต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา คู่ฝึกของเรา ไม่ว่า เด็ก ผู้เฒ่า สตรี จะเพศใด วัยใด ศาสนา เชื้อชาติใด ล้วนเป็นผู้สอนให้เราเข้มแข็งจากภายในได้เสมอ จึงต้องมีน้ำใจกับคู่ต่อสู้ และถือเป็นจริยธรรมสำคัญที่ผู้ฝึกต้องถือปฏิบัติเป็นสำคัญ  </p><p> </p><p>ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า จากจุดเล็กๆที่ผมเคยคิดว่าจะหาคนมาร่วมฝึกซ้อม เพียงเพื่อรักษาระดับฝีมือตัวเอง พอขยายวงออกไป วัตถุประสงค์ก็เปลี่ยนไป กลายมาเป็นการสร้างวัฒนธรรมย่อยๆให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้สันติวิธีโดยใช้ศิลปการต่อสู้เป็นเครื่องมือจูงใจ   </p><p> </p><p>ผมค้นพบว่า สันติวิธี ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กๆเลยทีเดียว มิใช่เอาผู้ใหญ่มาอบรมกินกาแฟกันตามโรงแรมหรูๆ สันติวิธีมิเพียงแต่ต้องฟูมฟักมาแต่เยาว์วัย หากแต่ต้องเรียบง่ายและเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ทั้งยังควรจะมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น สนุก สร้างสรรค์ และที่สำคัญคือต้องมีอิสรภาพอย่างต่อเนื่อง หากขาดซึ่งปัจจัยเหล่านี้แล้ว ก็เหมือนมีเมล็ดพันธุ์น้อยๆแต่ขาดปุ๋ยขาดน้ำที่ดี สันติวิธีก็จะเติบโตกระพร่องกระแพร่ง   </p><p> </p><p>และสันติวิธี น่าจะเกิดขึ้นจากการหยั่งรู้จากภายใน หรือบรรลุมาจากภายในจิตเป็นสำคัญ การสอนสันติวิธีไม่ว่าจะใช้งบประมาณ หรือบุคลากรมากมายเพียงใด แต่ใช้รูปแบบของระเบียบบังคับ หรือใช้อำนาจเพื่อสร้างสันติวิธี จึงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งและสูญเปล่าอย่างยิ่ง   และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ต้องอาศัยความกล้าหาญ กล้าที่จะถูกหัวเราะเยาะ กล้าที่จะเจ็บปวด กล้าที่จะอดทนต่อความก้าวร้าวของตน และกล้าที่จะอ่อนน้อมยอมรับคำวิจารณ์อยู่เสมอ เป็นคุณธรรมที่สำคัญ  </p><p> </p><p>วันนี้  ที่ปางมะผ้า มีเด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งตั้งชุมนุมไอคิโดขึ้นมา เรามีการฝึกเป็นประจำกันที่ โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า โรงเรียนศูนย์ปางมะผ้า และกำลังจะไปสานต่อที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 34 ผมดีใจทุกครั้ง ที่เห็นเด็กๆมารอฝึก และพูดคุยกับผมอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง ทั้งๆที่เราไม่มีคะแนน ไม่มีการเช็คชื่อ ไม่มีการออดอ้อน เอาใจให้เด็กมาเรียน ใครพร้อมจะเรียนก็เชิญเข้ามา แต่ก็ต้องเคารพกติกาการฝึก เพื่อมิให้รบกวนผู้อื่น หรือเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ก็เท่านี้  </p><div style="text-align: center">การฝึกไอคิโด ที่โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า</div>

                 

</font></span><p align="center">น้องเอิร์น นักเรียน รร.อนุบาลปางมะผ้า</p><p>                                     กับการสาธิตไอคิโด    </p><div style="text-align: center">บรรยากาศการฝึกไอคิโด ที่ รร.ศูนย์ปางมะผ้า</div>

             

</font></span><p align="center"> ภาพบรรยากาศการฝึกไอคิโดที่ รร. ศูนย์ปางมะผ้า   </p><p align="center"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมดีใจที่เด็กๆเริ่มตั้งชุมนุมไอคิโดและสันติวิธีขึ้นในบางโรงเรียนแล้ว เราหวังอยู่ลึกๆว่า สันติวิธีในเชิงปฏิบัติเช่นนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาภาครัฐและเอกชนมากขึ้นในสักวัน</p> 

หมายเลขบันทึก: 58973เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท