เสวนาจานส้มตำ ๑๔ : “นักวิชาการโลโซ (Lecturer Loso Syndrome) และชำแหละ AAR : Gotoknow "Blog Life Cycle" ของนายรักษ์สุข


คนที่มีสิ่งที่อยู่ในใจลึกๆนี่ มีหลายสิ่งให้ค้นหา เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้น มีพลังขับเคลื่อนสูง

เพื่อนนายบอนที่คลิกไปอ่านบันทึกเก่าๆย้อนหลังของนายบอนติดใจและสอบถามมาว่า เดี๋ยวนี้ ไม่มีบันทึก เสวนาจานส้มตำอีกหรือ เพราะอ่านแล้ว ชอบมากๆ โดยเฉพาะเสวนาที่เขียนเกี่ยวกับนายรักษ์สุข คุณปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

เสวนาจานส้มตำ ๘ : คุณค่าของคลังความรู้ การเจาะเวลากลับไปเสวนากับนายรักษ์สุข เมื่อเดือนที่แล้ว

เสวนาจานส้มตำ ตอนอื่นๆ

เพราะบันทึกในแบบเสวนาจานส้มตำ จะแตกต่างจากคนอื่นๆที่เขียนข้อคิดเห็นต่อท้าย เพราะเสวนาต้นทุนต่ำนี้ แทบจะหยิบทุกประเด็นมาวิเคราะห์ วิพากษ์ ลงลึกให้อ่านอย่างถึงใจ มากกว่า ข้อคิดเห็นที่ผู้อ่านท่านอื่นๆ ฝากรอยไว้ (เพื่อนเค้าว่าแบบนั้น)

แต่การบันทึกแบบเสวนาจานส้มตำ เมื่ออ่านบันทึกที่สนใจแล้ว จะไม่สามารถตอบได้ทันที ต้องรอให้ตกผลึก เหมือนการใส่เครื่องปรุง เป็นอาหารจานเด็ดเสียก่อน จึงดูเหมือนช้า ในการสะท้อนมุมมอง

ถ้ารวดเร็วทันใจ อาจจะฉาบฉวยไปบ้าง

เมื่อพรรคพวกเรียกร้อง นายบอนจึงต้องจัดให้
ซึ่งเพื่อนๆก็อยากให้เสวนาจานส้มตำ จากบันทึกของนายรักษ์สุขที่โดนใจพวกเค้า


AAR : Gotoknow “Blog Life Cycle” THE END
ปัจจัยด้านคุณอำนวยเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Blogger แห่ง Gotoknow

ขอเชิญเข้าสู่บรรยากาศของ เสวนาจานส้มตำครับ



นายรักษ์สุข : หลังจากที่มีบันทึกแรกเรื่องของ AAR : Gotoknow “Blog Life Cycle” Episode I เวลาผ่านไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาอยากบอกความรู้ในใจลึก ๆ แบบตรง ๆ ว่า “ไม่สบายใจ” เลยครับกับการอาจหาญไปวิพากษ์ Gotoknow และ สคส.


++++ คนที่มีสิ่งที่อยู่ในใจลึกๆนี่ มีหลายสิ่งให้ค้นหา เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้น มีพลังขับเคลื่อนสูงครับ คนอื่นๆก็ติดตามอ่านบันทึก ได้สัมผัส เห็น และรับรู้สิ่งต่างๆของ gotoknow และ สคส. เช่นกัน แต่คนอื่นๆ กลับเฉยๆ ไม่พยายามที่จะบอก ทักท้วง เสนอสิ่งที่ดีๆเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งใหม่ๆที่จะตอบสนองความต้องการของทุกคนให้ดียิ่งขึ้นออกมาบ้างเลย

หากไม่มีใครสักคนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ติติง เสนอแนะความเห็นที่ใหม่ๆบ้าง Gotoknow และ สคส. คงจะไม่มีการพัฒนา ไม่มีความคิดดีๆเกิดขึ้น

เหมือนผู้หญิงที่แต่งตัวด้วยชุดเดิมๆ ผู้คนรอบข้างก็พยักหน้าว่า ดีแล้ว เพราะเกรงใจ ให้เกียรติ ทั้งๆที่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้หญิงคนนั้น อ้วนขึ้น ชุดที่ใส่ดูไม่เหมาะสมแล้ว แต่ผู้คนรอบข้าง ไม่ยอมทักท้วง แต่คนในสังคมอื่นมองเห็นผู้หญิงคนนี้ นินทาว่า ยายคนนี้แต่งตัวไม่เข้าท่าจริงๆ ไม่รู้จักส่องกระจกดูตัวเองเสียบ้าง

บทบาทของนายรักษ์สุข เหมือนเป็นคนที่ยื่นกระจกให้ สคส. และ gotoknow ได้เพ่งพินิจ และแต่งเติม เสริมแต่งหน้าตาให้ดูดีตลอดไป

นายรักษ์สุข : เพราะประสบการณ์แบบฝังลึกเมื่อครั้งที่อยู่อุบลราชธานี กับการทำอะไรที่คนอื่นไม่ค่อยทำกันทำให้ความหวังดีกลายเป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง ประกอบกับที่ผมเองในตอนนี้เป็นแค่นักวิชาการโลโซ (Lecturer Loso Syndrome)

++++ นี่คือผลของการที่หลายคนในสังคมเฉยเมย ไม่ตอบรับ หรือแสดงความรู้สึกอย่างที่นายรักษ์สุขได้แสดงออกมา ทำให้นายรักษ์สุขรู้สึกแปลกๆ ทั้งๆที่ในบางสังคมที่มีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันทุกเรื่อง การพยายามเสนอแนะแบบนายรักษ์สุข กลับเป็นที่ยอมรับ ชื่นชมอย่างแท้จริง ความหวังดีนั้น กลายเป็นดอกกุหลาบช่อใหญ่ที่มอบให้แก่ผู้รับ (ผู้ที่ถูกทักท้วง) ทุกคน แต่ในอีกสังคมหนึ่ง ดอกกุหลาบช่อนั้น กลับกลายเป็นดาบที่ทิ่มแทงในความรู้สึกของนายรักษ์สุขจนได้

จะมีใครใน gotoknow หรือไม่ ที่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลง ความหวังดีจากดาบทิ่มแทงหัวใจของนายรักษ์สุขเอง (บันทึกทุกบันทึก ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นเอกลักษณ์ของนายรักษ์สุข)  ให้กลายเป็น ดอกกุหลาบช่อใหญ่ ขึ้นมาบ้าง

คำว่านักวิชาการโลโซ ดูเหมือนกับว่า คนเรามักจะมองคุณค่าของตัวเองให้ต่ำต้อยเกินจริง หรือประเมินตนเองต่ำเกินไป แต่การประเมินที่น่าจะเหมาะสมที่สุด คือ การประเมินด้วยสายตาคนอื่นครับ ก็เหมือนกับการเรียนรู้ การสอบไล่ตอนปลายเทอม ที่อาจารย์ผู้สอนต้องให้คะแนนจากคำตอบที่นักศึกษาเขียนตอบมา  ในความเห็นของนักศึกษา ก็จะบอกว่า คำตอบที่เขาเขียนไป นั้น ดีที่สุดแล้ว แต่ทำไมได้คะแนนน้อยจัง เมื่อเทียบกับคนอื่น ทำไมได้เกรด 1.80

ดังนั้น นายรักษ์สุขจะขนานนามว่า ตนเองคือ นักวิชาการโลโซ ก็ตาม แต่คนอื่นคงไม่เห็นด้วยแน่นอนครับ

นายรักษ์สุข : จาก Tacit Knowledge ของผมเองที่ผ่านมา จากการเริ่มต้นมาจนถึงทุกวันนี้ ผมได้ทำ AAR เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ผมสามารถเดินได้มาถึงจุดนี้ก็เพราะว่ามี “คุณอำนวย” นั่นคือเพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์หลาย ๆ ท่านคอยชี้แนะ แนะนำ กระตุ้น ตักเตือนและให้กำลังใจในการเขียนบันทึก (ในช่วงแรก ๆ) จนทำให้มีจิตผูกพันธ์ที่จะทำงานในชุมชนแห่งนี้

++++ ในช่วงเวลาแรกๆ ที่เริ่มทำความรู้จัก หลายสิ่งที่นายรักษ์สุขเขียนออกมา เป็นกุหลาบช่อใหญ่ในความรู้สึกของเขาทั้งนั้น แต่ทำไมเมื่อเวลาผ่านไป รู้จัก ผูกพันกับหลายท่านมากขึ้น ทำไมบันทึกหลายชิ้นของนายรักษ์สุข จึงเปลี่ยนกุหลาบช่อใหญ่ ที่มีหนามเล็กๆ เป็นดาบทิ่มแทงนายรักษ์สุขเองได้ล่ะ

บนเส้นทางของการเดินทางของแต่ละคน ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อนายรักษ์สุข ได้ทำ AAR เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ผมสามารถเดินได้มาถึงจุดนี้ นายรักษ์สุขน่าจะมองเห็นว่า ดาบที่ทิ่มแทงตัวเองนั้น เกิดขึ้นตรงจุดไหน ใครทำให้เกิด ตัวของนายรักษ์สุขเอง หรือใคร แล้วทำไมดอกกุหลาบช่อใหญ่ ถึงกลายเป็นดาบได้ล่ะ

เมื่อเวลาผ่านไป เกิดความคุ้นเคยกับการอ่าน คุ้นเคยกับสำนวนการตอบข้อคิดเห็นของหลายคนแล้ว ประโยคที่ให้กำลังใจของหลายคน เมื่อนายรักษ์สุขอ่านแล้ว คุณอาจจะรู้สึกเฉยๆ เพราะคุ้นเคยแล้ว จึงบอกว่า มีหลายท่านให้กำลังใจในการเขียนบันทึก (ในช่วงแรก ๆ) ….

ความจริงแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีหลายท่านกำลังใจนายรักษ์สุขอยู่ แต่ ความคิดของนายรักษ์สุขเองต่างหาก ไม่เกิดความรู้สึกเหมือนครั้งแรกๆว่า ประโยคเหล่านั้น เป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่จนเกิดแรงกระตุ้นมากมาย หลังจากอ่านข้อคิดเห็นจบลง เหมือนเมื่อครั้งที่นายรักษ์สุขยังเป็นสมาชิกของ gotoknow ได้ไม่กี่เดือน….



นายรักษ์สุข : ….ปัจจัย ในการมีคุณอำนวยคอยกระตุ้นนี้เอง เมื่อมองในทางกลับกันมีพี่ ๆ และน้อง ๆ อีกหลายคนที่เข้ามา ในสาขาหรือศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่มีคุณอำนวยคอยกระตุ้น ผลักดัน และจัดกระบวนการให้ เมื่อเข้ามาแล้วซักพักก็จากไป ซึ่งตามหลักการพฤติกรรมชาวบล็อก (Blogger Behavior) แล้ว 

+ + + ประเด็นคุณอำนวย คอยกระตุ้นจากมุมมองของนายรักษ์สุขนี้ จากความหลากหลาย การเกิดขึ้นของ “คนคอเดียวกัน” ซึ่งกว่าจะเป็นคอเดียวกันได้ ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนรู้ทางกันพอสมควร ยังมีอีกหลายท่านยังไม่สามารถที่จะค้นพบ “คนคอเดียวกัน” ได้

เพราะการออกแบบของ gotoknow และพฤติกรรมของชาวบล็อก ยังไม่เอื้อที่จะทำให้ค้นพบคนคอเดียวกันในสาขาหรือศาสตร์อื่นๆ

เพราะความรู้ที่มีกรอบ มีขอบเขต ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั่นเอง ถ้าเป็นบันทึกในบางเรื่อง หลายท่านสามารถที่จะเขียนข้อคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีอะไรเสียหาย แต่ในบางประเด็น หลายคนไม่กล้าเขียนข้อคิดเห็นมากนัก เมื่อเห็นคุณวุฒิ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละท่าน หลายคนเกรงขาม หลายคนให้ความเคารพนับถือ หลายคนชื่นชม หลายคนกลัวว่า เขียนอะไรออกไปแล้ว คนอื่นจะมองว่า ตัวเขาดูด้อยกว่าใครๆ

แง่มุมนี้ หลายคนที่นายบอนได้คุยด้วย พวกเขาเกิดความรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่ที่ที่เหมาะสำหรับพวกเขาในการที่จะมาแสดงภูมิปัญญา ความรู้ หรือข้อคิดเห็นใดๆ gotoknow ดูจะเป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะถ่ายทอดมากกว่า

มุมมองของพวกเขาคงจะยากที่จะเปลี่ยนความคิดได้ นายบอนเลยเขียนบันทึกแบบเบาๆ ที่หลายบันทึกดูไม่คู่ควรกับ gotoknow ดังมุมมองที่หลายคนที่เพื่อนๆนายบอนคาดหวังไว้

แล้วเขาก็ยังคงติดตามอ่านบันทึกในแบบเบาๆต่อไป และเมื่อเขาติดตามอ่าน gotoknow ต่อไปเรื่อยๆ พวกเขาจึงได้ค้นพบประเด็นที่พวกเขาชอบอ่าน ซึ่งประเด็นแบบเบาๆ ที่พวกเขาต้องการนั้น บันทึกเหล่านั้น มีอยู่เรื่อยๆ แต่เป็นบันทึกที่ไม่ค่อยมีคนเขียนความคิดเห็นเลย อาจเป็นเพราะเป็นเรื่องดาดๆพื้นๆ เป็นบันทึกของ blogger หน้าใหม่ Noname เป็นบันทึกที่ blogger ท่านนั้น นานๆจะเขียนสักบันทึกหนึ่ง ซึ่งจะต้องตระเวนหากันพอสมควร จึงจะพบบันทึกลักษณะนี้

จากบันทึกที่มีมากมายในแต่ละวันใน gotoknow หลายท่านมักจะเลือกอ่าน บันทึกที่ได้รับข้อคิดเห็นล่าสุด ซึ่งจะไม่เห็นบันทึกอีกมากมายที่ไม่เคยได้รับข้อคิดเห็นเลย

คนที่คุ้นเคย เคยติดตามอ่าน และเคยตอบบันทึกของ blogger ที่อ่านประจำ จะมีแนวโน้มที่จะติดตาม คอยตอบคอยเฝ้าดูคำตอบของ blogger ที่ติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ ทำให้ blogger มือใหม่ ไม่มีคุณอำนวยที่คอยกระตุ้น ผลักดัน และจัดกระบวนการให้ เมื่อเข้ามาแล้วซักพักก็ต้องจากไป เพราะคุณอำนวยแต่ละคน ก็จะมีแฟนคลับประจำที่จะต้องคอยดูแล เอาใจใส่ เสริมสร้างมิตรภาพให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอยู่แล้ว

นายรักษ์สุข : “สิ่งที่ยากที่สุดคือการให้เขาเดินเข้ามาในบล็อก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการที่จะให้ชาวบล็อกอยู่กับเราตลอดไป”

+ + + ในความเป็นจริงแล้ว หลายคนเดินเข้ามารู้จัก gotoknow จากการค้นพบใน google มากมาย ในประเด็นนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดมากกว่า หลายท่านเริ่มรู้จัก gotoknow จากการอบรม หลังจากอบรมผ่านไปไม่นาน ก็ลืมไปเลย เหมือนกับการอบรมเรื่องอื่นๆที่หลายคน มักจะลืมเลือนไป เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน

คงไม่ใช่แต่เฉพาะชาวบล็อกอยู่กับเราตลอดไปเท่านั้น แม้แต่ความรู้ที่บุคลากรหลายท่านได้รับจากการไปอบรมต่างๆ ก็ยังยากที่จะทำให้ความรู้ที่ได้ อยู่กับทุกคน ตลอดไป

นายรักษ์สุข : จาก Tacit Knowledge ของผมทั้งสองประการข้างต้นนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะอยู่ที่ “คุณอำนวย” ซึ่งอาจจะเป็น Blogger รุ่นพี่ รุ่นก่อน หรือกูรูในสาขาวิชานั้น ๆ คอยกระตุ้นและจัดกระบวนการ ทำให้ Blogger หน้าใหม่เกิดความมั่นใจและถ่ายทอด Tacit Knowledge ออกมาได้มากที่สุด

+ + + ในมุมมองนี้ ดูเหมือนว่า คุณอำนวยที่ว่านี้ จะต้องเป็นบุคคลที่เสียสละมากพอสมควรจึงจะรับบทบาทเช่นนี้ได้ คงจะต้องค้นหาคุณอำนวยอย่าง  ดร.จันทวรรณ ดร.ธวัชชัย ฯลฯ ให้พบแล้วล่ะครับ

แต่ในบางครั้ง คุณอำนวยเองก็เช่นกันที่สมควรจะได้รับการกระตุ้น กำลังใจด้วย เพราะบุคคลทุ่มเท ลงมือ ลงแรงเสียสละ ย่อมจะมีบางช่วงแห่งความรู้สึกที่เกิดความท้อแท้ หวั่นไหว ได้เช่นกัน เหมือนกับบางความรู้สึกที่นายรักษ์สุขถ่ายทอดออกมาบางประโยคในบันทึกก่อนๆ

นายรักษ์สุข : ดัง นั้นจาก Blog Life Cycle ช่วงของการแนะนำตัว (Introduction) และเดินเข้าสู่ช่วงการเจริญเติบโต (Growth) การชักชวนทั้งใน G2K แห่งนี้ก็ดีหรือการประชาสัมพันธ์และเดินทางไปชักชวน เชิญชวน อบรมสมาชิกทั่วประเทศไทยก็ดี การที่จะให้ผู้ที่ตัดสินใจเข้ามาสมัครสมาชิกแล้วสามารถเขียนบันทึกจาก Tacit Knowledge ได้ดีที่สุดก็คือการมีคุณอำนวยใน G2K

+ + + + บางที เราอาจจะทำในสิ่งที่ง่ายกว่านั้น อะไรที่ดูเป็นทางการ ย่อมทำให้เกิดความรู้สึก เกร็ง เหมือนกับถูกบังคับให้ทำ แต่ความรู้สึกเป็นกันเอง จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมนั้น ยินดีที่จะทำในสิ่งนั้นด้วยความเต็มใจ เต็มที่โดยอัตโนมัติ

นายรักษ์สุข  : เพราะ ถ้าสมาชิกเข้ามา หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป เดือนนึงผ่านไป สองเดือนก็แล้ว สามเดือนก็แล้วถ้าขาดพี่เลี้ยงคอยกระตุ้นและนำทางก็อาจจะเดินหลงทางหรือไม่ ก็จะเดินออกไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ เพราะนั่นเป็น Negative Emotional Bank Account (การติดลบในสมุดสะสมอารมณ์ใจ) จากการเดินเข้ามาในชุมชน G2K

ถ้า มีพี่เลี้ยงคอยจัดกระบวนการ ชี้แนะและนำทางในทุก ๆ Moment of Truth แล้วนั้น ก็จะทำให้เกิด Positive Emotional Bank Account (EBA+)ดั่งเช่นที่ผมยังมียอดบัญชีบวกกับ G2K แห่งนี้อยู่


+ + + + ไม่เห็นด้วยครับ เพราะหลายคนมีทักษะการถ่ายทอด การเขียนบันทึกที่แตกต่างกัน ถ้าเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้เข้าร่วมเขียนข้อคิดเห็นต่อท้ายบันทึก จะง่ายยิ่งขึ้น เมื่อได้อ่าน ได้ร่วมแลกเปลี่ยน อ่านมากๆ จนถึงจุดหนึ่ง จะเกิดความอยากที่จะเล่าบ้าง ยิ่งถ้าได้พบกับบันทึกที่ตรงกับสิ่งที่เขาอยากจะเล่า ไม่ต้องมีพี่เลี้ยงกระตุ้น หรือนำทางแต่อย่างไร เขาก็จะเล่าออกมาเอง

เพียงแต่เขายังไม่ค้นพบในสิ่งที่ทำให้เขาเกิดความอยากที่จะเล่าเท่านั้นเอง

การที่มีพี่เลี้ยงคอยกระตุ้น และนำทาง ถ้าหากกระตุ้นมากเกินไป คนที่ถูกกระตุ้นบางส่วน สามารถตีความได้ว่า พี่เลี้ยงคาดหวังอยากจะเห็นผลจากการนำทางอย่างสูง ทั้งๆที่พี่เลี้ยงอาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้น เมื่อผู้ถูกกระตุ้น ทำไม่ได้อย่างที่ถูกกระตุ้น อย่างที่คาดหวัง ส่วนหนึ่งก็อาจะค่อยๆหายจากไป เพราะความรู้สึกที่ทำตามความคาดหวังของคนอื่นไม่ได้นั้น ทำให้รู้สึกว่า ตัวเองด้อยลงไปทันที

แต่สำหรับคนที่กระตือรือร้น พี่เลี้ยงที่คอยกระตุ้น และนำทาง จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น

นายรักษ์สุข : จากยอดบวกในใจที่ยังมีอยู่นี้ก็จะทำให้สมาชิกที่เข้ามายังสามารถทำงานที่สร้างสรรค์ได้ตลอดไป

+ + + + การรักษายอดบวกในใจนี้เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ไม่ได้มองไกล มองที่นายรักษ์สุขนี่เอง ทำไมในบางบันทึก จึงได้เกิดความรู้สึกที่ว่า “ดาบทิ่มแทงตัวเอง” อย่างที่นายบอนได้เขียนไว้ในตอนต้นของบันทึกนี้  

บันทึกที่นายรักษ์สุขเขียนนั้น ล้วนสร้างสรรค์ แต่บางบันทึกที่ออกมาได้สร้าง ยอดลบในใจเช่นกัน  แต่ยังดีที่ยังมียอดบวก ที่มากกว่า ลดทอนส่วนนั้นลงไป

เมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการ ความคาดหวังของหลายท่าน มักจะเพิ่มขึ้น ความรู้สึกในบล็อกก็เช่นเดียวกัน การรักษาจุดยืนและความมั่นคงในจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

นายรักษ์สุข : ช่วง ชีวิตของบล็อก (Blog Life Cycle) จะอยู่ในขั้นการเจริญเติบโต จนถึงเจริญเติบโตอย่างสูงสุดได้เพียงใดขึ้น อยู่กับชาวบล็อก (Blogger) ฉันใด

+ + + + เหมือนวัฏจักรชีวิตทั่วไปแหละครับ  ๑)เริ่มต้น ๒)รุ่งเรือง ๓)คงที่  ๔)ถดถอย  

การรักษา๒) และ ๓) ไว้นั้นควรจะทำอย่างไร ในขณะที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น หลายคนต้องปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ทำไมสิ่งที่นายรักษ์สุขเขียนที่นายบอนเรียกว่า เป็นกุหลาบช่อใหญ่ แต่นายรักษ์สุขจึงบอกว่า เป็นดาบทิ่มแทงตัวเองได้ล่ะ

แสดงว่า ในวัฏจักรที่นายบอนมองนายรักษ์สุข กับในมุมที่นายรักษ์สุขมองตัวเองนั้น เป็นคนละช่วงหรือเปล่า???

นายรักษ์สุข : การ ทำงาน การเขียนบันทึก การเดินอย่างถูกทางของ Blogger เพื่อสร้างผลงานจาก Tacit Knowledge อันสร้างสรรค์นั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณอำนวยซึ่งเป็นกัลยาณิมตร ฉันนั้น

+ + + +  นายบอนเห็นว่า ความพอเหมาะพอดี ความสมดุล  จะทำให้การเขียนบันทึกของนายรักษ์สุข และความรู้สึกในใจของนายรักษ์สุขเอง ไม่มองกุหลาบช่อใหญ่ที่คนอื่นมอง เป็นดาบทิ่มแทงตัวเอง เพราะกัลยาณมิตรมองเห็นว่า สิ่งที่นายรักษ์สุขหยิบยื่นให้ ล้วนเป็นช่อกุหลาบที่มีกลิ่นหอมทั้งสิ้น

mr. kamphanat archa : ผม เริ่มเขียนblog ครั้งแรกเมื่อประมาณต้นปี49 ประมาณ 3 เดือนผ่านไปก็เริ่มชักขี้เกียจ มาเริ่มเขียนอีกครั้ง(สมัครใหม่) ก็สัปดาห์นี้นี่เอง ซึ่งผมจะพยายามไม่ให้ประวัติศาสตร์ของตัวเองซ้ำรอยครับ…กัมปนาท

+ + + + ต้องคอยแอบดูว่า คุณกัมปนาทจะซ้ำรอยเดิมหรือไม่ คงต้องรับช่อกุหลาบจากนายรักษ์สุขบ่อยๆแล้วล่ะครับ

คุณ Thawat  : Gotoknow  จึงเป็นธรรมชาติเหมือนสังคมทั่วๆไป   แต่ที่น่าสนใจ   ว่ามีใครคนใดหยิบเอา  platform นี้  มาใช้อย่างชาญฉลาด   ใช้จนเกิดประโยชน์ต่อชุมชนของเขาเอง  นั่น คือ tacit k ที่น่าเรียนรู้ยิ่งกว่า   ที่ผ่านมา  หลายๆ nobody  กลายเป็น somebody ในองค์กรขึ้นก็มีให้เห็น,    หรือคนที่ไม่รู้จักหน้าค่าตากันมาก่อน  แต่ก็ได้เรียนรู้จากกันและกันก็มีหลายคน   และอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องดีเกิดขึ้น     ข้างในนี้แหละ  คือ tacit k  ล้วนๆ ที่น่าเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร?   how-to ข้างในนั้นมันมีอะไรพอเอาไปปรับใช้กับบริบทอื่นได้บ้าง?       

+ + + +  นึกถึงการเลือกซื้อผัก เนื้อสัตว์ในตลาดสดครับ ที่มีวางขายเยอะแยะหลายเจ้า นายบอนจะพยายามเลือกให้เป็น เลือกให้ได้ของที่ดีมากกว่า  เพราะมีความรู้เพียงเท่านั้น เมื่อเลือกของดีได้แล้ว ก็ขจะมาถึงส่วนที่คุณ Thawat  ว่ามาครับ


คุณ Thawat  : การมอง หาด้านดี  แม้จะเล็กๆก็ตาม   แล้วหยิบขึ้นมาเขย่าสังคมใหญ่  ให้เรียนรู้   นี่ก็เป็นแนวทางหนึ่งของ KM ที่เชื่อและผมชอบในตอนนี้

การเลือกแต่นักเรียนที่เรียนดีเอาไว้ในวง   ก้คงจะดีนักเรียนกลุ่มนั้น

แต่การดึงเอา how-to ของนักเรียนที่เรียนดีมาให้นักเรียนคนอื่นได้เรียนด้วย  น่าสนใจยิ่งกว่า


+ + + + +  แบบนี้คงต้องรีบถอยออกจาก gotoknow โดยทันที เพราะนายบอนและเพื่อนอีกหลายคน  เป็นนักเรียนที่เรียนไม่ดี เรียนอ่อนมากๆ  วัดตามหลักสูตร ก็คาบลูกคาบดอก ก็คงจะไม่ได้รับเลือกให้อยู่ในวงไม่ว่าจะในกรณีใดๆ

<h3>คนธรรมดาคนหนึ่ง ที่สามารถเขย่าสังคมเล็กๆที่อยู่ได้ ในขณะที่สังคมใหญ่ๆ มองว่า เป็นเรื่องธรรมดาๆ ก็มีความหมายเช่นกันนะครับ</h3>
คุณทรัพย์ศิริ ศิริฤกษ์รัตนา : ที่ ผ่านมา ผมลองใช้งานของหลายๆ Blog แต่ก็มีปัญหาการใช้งานเยอะมาก และไม่มีใครเลยใน Blog นั้นที่จะให้คำแนะนำได้  อย่างที่อาจารย์บอกครับ”ไม่มีพี่เลี้ยง”
ลองผิดลองถูกหลายที บ่อยๆเข้า จากความพยายามกลายเป็นความท้อแท้ สิ้นหวัง
ที่ G2K นี้มีสังคมที่เปิดกว้างมาก มีหลากหลายสาขาอาชีพ สามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

+ + + + ในหลายเวบ หลายบล็อก ความจริงมีคำแนะนำอยู่บ้าง แต่การวางตำแหน่ง ให้ค้นพบง่ายนี่เอง ครับ  บางแห่ง เขียนเป็นภาษาอังกฤษ บางแห่งเขียนไว้ในส่วนของคำถามที่ถามบ่อยๆ (FAQ) เพราะเรื่องที่สมาชิกใหม่สอบถาม มักจะเป็นเรื่องที่เคยตอบแล้ว ก็ยังมีคนถามเรื่อยๆ จนพี่เลี้ยง หรือผู้ดูแลเวบ รำคาญ บางเวบก็ให้คำแนะนำทำนองที่ว่า “คุณลองใช้ความพยายามค้นหาหรือยัง ใช้คำค้นว่า …….. สิครับ แล้วคลิกอ่านดู”

บางเวบออกแบบไว้ ใส่คำแนะนำการใช้ใครครบถ้วน โดยคิดว่าสมาชิกใหม่ ต้องรู้ ต้องเห็น

แต่ทักษะของคนเราแตกต่างกันครับ

ในส่วนของ gotoknow มีพี่เลี้ยงที่ช่วยให้คำแนะนำที่ดีมาก และการออกแบบส่วนที่อธิบายการใช้งาน ใน gotoknow version 1 จะมีส่วนที่รวบรวมไว้เด่นชัด ในเวอร์ชั่นปัจจุบัน รวบรวมในรูปแบบของคำหลักบ้าง และ planet บ้าง ซึ่งทำให้สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเขาะลึกมากขึ้น

ดร. จันทวรรณ : สังคม GotoKnow เป็นสังคมของการเรียนรู้ การต่อยอดแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์ที่ blogger ถ่ายทอดออกมาจึงไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ ดิฉันเคยเขียนบันทึกว่า ไม่เขียนอย่างน้อยก็ขอให้อ่าน และ KM กับการอ่านบล็อกอย่างตั้งใจ (Deep reading)

แต่ สคส. และ สมาชิก GotoKnow ก็พยายามช่วยๆ กันคนละไม้ละมือค่ะ รวมทั้งคุณปภังกรด้วยค่ะ แต่ก็แผ่วลงบ้าง เพราะสมาชิก GotoKnow ส่วนใหญ่เป็นสมองของพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ และเป็นเรี่ยวแรงสำคัญขององค์กรค่ะ งานก็เลยเต็มไม้เต็มมือกันไปหมด จนในที่สุดก็ไม่มีเวลามาเขียนบล็อกหรือมาช่วย comment ค่ะ


+ + + + + ที่ว่าแผ่วลงนั้น ไม่น่าจะแผ่วนะครับ เมื่อเปรียบเทียบกับบล็อกในเวบไซต์อื่นๆ blogger ท่านหนึ่งจะเขียน 1 บันทึกใน 1 วัน และจะทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง บางคนขยันเขียนทุกวัน แต่เขียนวันละ 1 บันทึก

แต่ ใน gotoknow บางท่านใน 1 วัน เขียนมากกว่า 1 บันทึก และระยะห่างในการเขียนบันทึกในครั้งต่อไป มีความถี่มากกว่า และที่สำคัญ blogger ใน gotoknow มีงานเต็มไม้เต็มมือมากกว่า blogger ในเวบอื่นๆ ที่มีเวลาว่างมากกว่า แต่เขียนบันทึกได้น้อยกว่า…

<h2>ไม่แผ่วครับ ถือว่า เสมอตัวมากกว่า เมื่อเทียบความถี่ + เวลา +  ภาระงานต่อคนแล้ว ยังเหนือกว่า blogger ที่อื่นๆตั้งเยอะ</h2>

เนื่องจากเป็นวันหยุดครับ เลยบันทึกได้อย่างเต็มที่ไปเลย ซึ่งเป็นมุมมองในแบบลูกทุ่งที่นำมาบันทึกไว้ครับ


พบกับ เสวนาจานส้มตำ ครั้งหน้า เมื่อโอกาสเหมาะๆ (เมื่อไหร่ก็ไม่รู้เช่นกัน…..)




หมายเลขบันทึก: 58955เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ยอดเยี่ยมค่ะ ต้องนั่งอ่านละเีอียดอีกทีค่ะ แล้วคุณบอนกับคุณปภังกรจะได้ไปร่วมงานมหกรรมไหมค่ะ ถ้าได้ไปก็อย่าลืมแวะมาที่ห้อง MR222 ด้วยนะค่ะ :)

ผมไม่แน่ใจว่าจะได้เข้าไปร่วมงานมหกรรมหรือเปล่านะครับ
แต่วันที่ 3 ธ.ค. ต้่องไปร่วมงานแต่งงานเพื ่อนที่ดอนเมือง บางทีอาจจะแวะที่ห้อง MR222 นะครัย

ดิฉันก็ไม่แ่น่ใจนะค่ะคุณบอนว่าทางผู้จัดเขาจะให้เข้าหรือเปล่านะค่ะ 
ขอบคุณค่ะ ดิฉันเข้ามาอ่านอย่างละเอียดเช่นกันเพื่อเก็บเป็นประสบการณ์ในการดูแล gotoknow น้อย ที่จะลงภายในมหาวิทยาลัย ต้นเดือนหน้านี้ ขอบคุณอีกครั้งค่ะมีประโยชน์มาก..
มีหลายคนที่อยู่ใกล้ๆ แต่ไม่ได้ลงทะเบียนร่วมงาน เพราะว่างเฉพาะวันที่ 2 ธ.ค.  น่าเสียดายเหมือนกันนะครับ หากผู้จัดไม่ให้เข้า ถ้าเปิดให้เข้าได้ เฉพาะช่วงเวลานั้น คงจะได้พบปะกับ blogger อีกหลายท่านเลย
สวัสดีครับ คุณเมตตา เอาไวเ้โอกาสเหมาะๆ จะมีบันทึก เสวนาจานส้มตำเรื่องเกี่ยวกับ gotoknowในแนวนี้ออกมาอีกครับ
ระบบนั้นปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ค่ะ ก็พยายามทำตามที่ผู้ใช้บอกเล่าเข้ามาค่ะ ไม่ว่าจะผ่านทางบล็อกของตน หรือ อีเมล์มาหา รับหมดทุกทางค่ะ แต่ทำไม่ทัันค่ะ :) เพราะงานสอนกับงานวิจัยก็เต็มมือเช่นกันค่ะ คงต้องใจเย็นๆ รอๆ กันไปหน่อยนะค่ะ  และช่วงนี้ทีมงานเราต้องมาเน้นที่การปรับปรุงระบบให้เร็วขึ้นค่ะ เพราะกำลังมีปัญหาเรื่อง cache ค่ะ
ขนาดทำไม่ทันนะครับ ยังมีสิ่งใหม่ๆออกมาให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้แทบไม่ทันเหมือนกันนะครับ แต่สังเกตดูย่างก้าวและพัฒนาการต่างๆของ gotoknow แล้ว ที่ว่า ทำไมทัน ..คงไม่ทันใจผู้พัฒนามากกว่า แต่คนเรียนรู้ ก้เกือบจะตามไม่ทันนะครับ :))

สวัสดีครับคุณบอน

  • เมื่อเข้ามาอ่านแล้วต้องบอกตรง ๆ เลยครับว่า "งงมาก" ไม่ได้งงในสิ่งที่คุณบอนเขียนนะครับ แต่ผมชักเริ่มงงในสิ่งที่ผมเขียนออกมาว่าสงสัยจะถ่ายทอดออกมาไม่ดีพอจึงทำให้คุณบอนเข้าใจความหมายกลับตาลปัตรไปหมดเลย
  • แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เขียนออกมานั้น "นั่นคือความจริง" ผมไม่ค่อยชอบเขียนอะไรแบบเลิศหรูเขียนตามหลักวิชาการ ก็คือ หลักวิชาการเขาว่าไว้อย่างไรเวลาเราเขียนหรือพูด ก็พูดไปตามนั้นสังคมถึงจะยอมรับ นี่แหละครับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บางครั้งเป็นผลสะท้อนกลับที่ไม่ค่อยดี
  • เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคม ทฤษฎีว่าไงก็พูดไปตามนั้น อย่างเช่น ทฤษฎี KM ก็เหมือนกัน บางครั้งพอมาเจอสภาพความเป็นจริงในสังคม มาเจอบางบริบทแล้ว หรือเมื่อเกิดปัญหาใดขึ้น การเขียนหรือพูดให้รอดตัวไปก็คือ เขียนหรือพูดไปตามทฤษฎีที่คนส่วนใหญ่เขาพูดกัน ก็คือพูดแบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ความจริงหรือ Facts เป็นสิ่งที่พูดยากในสังคม โดยเฉพาะความจริงที่จะมีผลกระทบต่อส่วนรวม ทำให้บางคนเลือกไม่พูดดีกว่า
  • เห็นไหมครับ ถ้าผมเป็นนักวิชาการไฮโซ ทุกอย่างจะถูกหมด แต่ถ้าเป็นนักวิชาการโลโซ พูดไปก็ผิดหมด นี่คือ Fact ของสังคมไทย สำหรับการเป็นไฮโซหรือโลโซ ผมว่าคุณบอนน่าจะคิดได้ว่า ใครบ้างที่พูดแล้วน่าเชื่อถือซึ่งบางครั้งจะพูดไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม
  • คำพูดที่ออกมาจาก "คุณวุฒิและวัยวุฒิ" ในสังคมไทย น่าเชื่อถือกว่าคำพูดที่เกิดจากความเป็นจริง นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับการพัฒนาประเทศ
  • คำพูดเดียวกันประโยคเดียวกัน แต่คนละคนพูด ก็คนละเรื่องกัน
  • ถ้าอย่างไรคุณบอนลองชำแหละสิ่งที่ผมพูดนี้มาอีกทีก็ดีนะครับ
  • ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 

ป.ล. บันทึกของผมนั้นต้องอ่านรวมตั้งแต่ต้นจนจบ แรกจนถึงสุดท้ายถึงจะเห็นที่มาที่ไป อ่านทีละประโยคหรืออ่านแค่บันทึกเดียวก็จะไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งครับ 

 

สวัสดีครับ นายรักษ์สุข (คุณปภังกร)
1) ที่บอกว่า งงนั้น โปรดอย่าได้งงเลยครับ นายบอนมองนายรักษ์สุขจากมุมที่คุ้นเคยเมื่อตอนเดือน ก.ค.-ส.ค.2549 ที่นายบอนมักจะแลกเปลี่ยน แสดงข้อคิดเห็นด้วยบ่อยๆ ถ้ามองจาก ณ เวลานั้น ก็จะดูกลับตาลปัตรน้อยไปหน่อย แต่เมื่อมอง ณ พ.ย.2549 ก็จะกลับตาลปัตรอย่างที่ว่านั่นแหละครับ

2) ความจริงที่นายรักษ์สุขพยายามสื่อ..และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บางครั้งเป็นผลสะท้อนกลับที่ไม่ค่อยดี ประเด็นนี้ นายรักษ์สุขก็เคยกล่าวมาแล้วเมื่อช่วง 3 เดือนก่อน

3) ที่ว่านักวิชาการโลโซ หรือไฮโซนั้น นายบอนมองเฉพาะตัวของนายรักษ์สุขเองนะครับ และมองเปรียบเทียบกับเพื่อนและน้องที่ี่เป็นเป็นอาจารย์ราชภัฏ , เป็นครูที่สอนโรงเรียนวัด เลยเกิดความรู้สึกว่า ถ้านายรักษ์สุขเปรียบตัวเองเป็นนักวิชาการโลโซ แล้วเพื่อนๆ + น้องของผมจะไม่ต้อยต่ำติดดินหรือครับ โดยเฉพาะครูที่สอนโรงเรียนวัด ที่ยิ่งกว่านายรักษ์สุขอีกนะครับ เพราะเพื่อนร่วมอาชีพไม่มีใครยอมรับเลย แต่เขายังคงยืนหยัดในหลักการของเขาต่อไป

นายบอนมองว่า เขาคนนั้น ซึ่งย่ำแย่กว่านายรักษสุข ยังให้กำลังใจตัวเองนะครับ เขาไม่มีใครมาคอยให้กำลังใจในบล็อก ไม่มีโอกาสเขียนบล็อก แต่เขาได้อ่านบันทึกของนายรักษ์สุขและเห็นว่า คุณคือนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ (ในความคิดของเขา)

บันทึกเสวนาส้มตำนี้ นายบอนสะท้อนความรู้สึกของครูสอนโรงเรียนวัดกับตัวนายรักษ์สุขเท่านั้นครับ หากมองในภาพรวม เปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไป ความหมาบย่อมผิดเพี้ยนไปหมดแน่นอน

เมื่อนึกถึงเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว นายบอนเขียนข้อความในเชิงให้กำลังใจ ซึ่งทำให้นายรักษ์สุขเกิดพลังใจ และเขียนบันทึกแสดงความรู้สึกออกมามากมาย

ซึ่งในการหยิบประเด็นมาเขียนบันทึกนี้ นายบอนได้กลับไปเปิดดูบันทึกนั้น ดูความรู้สึกที่ถ่ายทอดทางเนื้อหาในวันนั้น เทียบกับวันนี้ เห็นความแตกต่าง จึงเขียนออกมาครับ

สิ่งที่นายบอนพยายามชำแหละ หรือ สะท้อนออกมา เพราะเห็นบางอย่างของนายรักษ์สุข drop ไปนิดหน่อย ส่วนประัเด็นอื่นๆที่ว่าไปนั้น เป็นลูกติดพันครับ
  • สวัสดีอีกครั้งครับคุณบอน
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่ให้ความกระจ่างกับผมอีกหนึ่งครั้งครับ คราวนี้หายงงแล้วครับ
  • สิ่งที่คุณบอนสะท้อนออกมาเป็นมุมมองที่ตัวผมเองนั้นไม่สามารถมองได้ ต้องอาศัยมุมมองจากภายนอกจากคนที่มีความสามารถอย่างคุณบอนช่วยมองครับ
  • สำหรับการเปรียบเทียบนั้นผมไม่ค่อยอยากเปรียบเทียบเท่าไหร่ครับ เพราะคนที่สอนหนังสือทุกระดับมีคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นครูเท่า ๆ กันครับ แต่ปัญหาที่ผมกำลังจะสื่อเป็นปัญหาที่มีการแบ่งชั้นวรรณะกันในแวดวงวิชาการระดับตั้งแต่อุดมศึกษาขึ้นมาครับ ในวงในมีการแบ่งเกรดแบ่งชั้นกันค่อนข้างสูงครับ ซึ่งผมสรุปข้อแตกต่างไว้หลายข้อเหมือนกัน แต่ตอนนี้กำลังหาโอกาสเหมาะสมที่จะลงครับ ตอนนี้ก็พยายามโยนหินถามทางไปเรื่อย ๆ
  • สำหรับประเด็นการวิเคราะห์นั้นคุณบอนทำได้ดีเยี่ยมอยู่แล้วทำและทำได้ตามสะดวกเลยครับ ผมจะได้ทราบตัวของผมเองได้ด้วยว่าในแต่ละช่วงเวลานั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีกระจกอย่างคุณบอนคอยสะท้อนเป็นสิ่งที่ดีมากครับ
  • ขอบพระคุณคุณบอนอีกครั้งครับ
สวัสดีอีกครั้งครับนายรักษ์สุข
  1.    วันเวลาผันเปลี่ยน นายบอนยังคงคุ้นเคยที่จะเรียกชื่อ นายรักษ์สุข อย่างเสมอต้นเสมอปลายใน gotoknow นะครับ และวันข้างหน้า นายรักษ์สุขก็อาจจะงงอีกก็ได้ หากมีบันทึกในแนวส่องกระจกแบบนี้ออกมาอีก
  2. สิ่งที่สะท้อน ก็เหมือนกระจกเงา นั่นเองครับ เรื่องการเปรียบเทียบนั้น ถึงนายรักษ์สุขไม่อยากจะเปรียบเทียบ แต่คงไม่สามารถที่จะห้ามความคิดของท่านอื่นๆำได้นะครับ เช่นเดียวกับความจริงหลายอย่างที่นายรักษ์สุขสะท้อนออกมา แต่ได้รับผลสะท้อนกลับมาไม่ดีนัก
  3. สำหรับในแวดวงวิืชาการระดับอุดมศึกษา นายบอนไม่อยากจะไป วิเคราะห์ ชำแหละ มากนักครับ ไปแตะต้องมากมาย คงไม่สามารถไปมองหน้าใครได้.... ขนาดเป็นกระจกเงาส่องนายรักษ์สุข วันก่อนที่ยังเกิดความรู้สึกงง นายรักษ์สุขก็ยังชี้แจงในมุมมองที่นายบอนอาจจะได้รับผลสะท้อนกลับทางความรู้สึกที่ไม่ดีได้เช่นกัน เพียงแต่ว่า ภูมิคุ้มกันทางความรู้สึกปรารถนาดี ยังมีอยู่อย่างหนาแน่น
  4. สำหรับในวงการวิชาการในภาพรวม การแบ่งชั้นแบ่งเกรดนั้น ความจริงแล้ว นายบอนก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกันนะครับ ถ้ามีข้อมูลรายละเอียดมากๆ ก็อยากจะ ชำแหละ วิเคราะห์เช่นกัน แต่ในเวลานี้คงต้องมอบหมายให้นายรักษ์สุข รวบรวมประเด็น โยนหินถามทางแล้วบันทึกลงในบล็ิอกแบ่งปันความรู้สู่กันฟังต่อไปครับ
  5. ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท