ความจริงของชีวิต #2 “คน”


เมื่อพูดถึงคำว่า คน ก็ขอให้ยึดถือเอาความหมายของคำว่ามนุษย์ นั่นแหละเป็นหลัก คำว่า มนุษย์ นี้แปลว่า ผู้มีใจสูง

     ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงคนในความหมายมนุษย์ว่า “เมื่อพูดถึงคำว่า คน ก็ขอให้ยึดถือเอาความหมายของคำว่ามนุษย์ นั่นแหละเป็นหลัก คำว่า มนุษย์ นี้แปลว่า ผู้มีใจสูง ตามทรรศนะของท่านพุทธทาส คำว่า “คน” มีความหมายได้ในสองแง่ คือ แง่ภาษาคนและแง่ภาษาธรรม โดยท่านให้พิจารณาดู ดังนี้

          1. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาคน คนคืออะไร? ในภาษาคน ก็คือคนเป็นคนตามความรู้สึกของเราแล้วก็ถือว่าเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการ จะกล่าวไปในทางวัตถุร่างกาย เขาก็ถือกันว่า มนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด วิวัฒนาการตั้งต้นมาตั้งแต่เป็นสัตว์เซลล์เดียว เป็นสัตว์ในน้ำเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นสัตว์บก เป็นสัตว์ขึ้นไปบนฟ้า เป็นอะไรไปทั่วโลก แล้วก็มาสูงสุดอยู่ที่ความเป็นคน เลยถือว่า คนเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการตามวิชาการทางวิทยาศาสตร์

          2. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาธรรม เมื่อคนมีวิวัฒนาการทางด้านร่างกายอันสูงสูดกว่าสัตว์ ดังนั้น จึงแสวงหาความแตกต่างของตนเองกับสัตว์ต่าง ๆ ทีนี้มาพิจารณาดูคนในแง่ภาษาธรรมหรือด้านจิตใจ คนเราก็ได้เคยพยายามกันในส่วนนี้ จนกระทั่งเกิดบุคคลชนิดที่เราเรียกกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ค้นพบความมีจิตใจที่ประเสริฐที่สุด อยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง แล้วก็สอนให้คนอื่นเป็น แล้วปฏิบัติตามได้ด้วย ก็มีความเป็นคนทางจิตใจเกิดขึ้น ซึ่งดีกว่าสัตว์ สูงกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์โดยแท้จริง

ที่มา : http://www.rissk.ac.th/

หมายเลขบันทึก: 5894เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2005 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ท้ายที่สุดก็เป็นเรื่อง "คำ" หรือ "ภาษา"

ผมมองในประเด็นว่า "ผู้มีใจสูง" นั้นจะต้องทำอย่างไรมากกว่า(ซึ่งเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ทราบกันดี)

ไม่อย่างนั้นแล้ว การเรียกตัวเองว่า "มนุษย์"(อย่างที่เป็นอยู่) ก็ไม่ได้ทำให้ "ผู้มีใจสูง" ขึ้นมาได้แต่อย่างใด

"คน" แม้ว่าจะหมายว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถแทนสภาวะจิตใจของใครได้ดอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท