Moo_Noi
นางสาว ศรินทิพย์ โรยสกุล

KM ในองค์กรต่างๆ


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
1. ขั้นตอนที่ 1 Socialization โรงเรียนต้องสร้างกลไกหรือเงื่อนไขให้ครูได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นให้มีห้องพักครูรวม มุมกาแฟ มุมพักผ่อน ซึ่งแนวนี้ธนาคารกรุงไทยได้นำไปใช้กับพนักงานเพื่อสร้างบรรยาการให้บุคลากรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2.ขั้นตอน Externalization โรงเรียนต้องให้ครูสรุปเทคนิค วิธีสอนที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกันอันเป็นผลมาจากขั้นตอนแรก โดยบันทึกไว้เป็นเอกสารอย่างเป็นระบบอาจจะมีการสรุปร่วมกันก็ได้
3. ขั้นตอน Combination โรงเรียนต้องสนับสนุนให้ครูนำความรู้ที่สรุปเป็นเอกสารไปใช้จริง โดยผู้บริหารนิเทศ ติดตามผล ให้กำลังใจและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
4. ขั้นตอน Internalization โรงเรียนต้องเผยแพร่ความรู้ที่รวบรวมเป็นเอกสารที่พัฒนาขึ้นไปยังคณะครูอื่น ๆต่อไป มรการนำประเด็นสำคัญในสาระความรู้ไปถกแถลงในที่ประชุมประจำเดือน หาวิธีจูงใจให้ครูนำความรู้จริงไปใช้ในรอบใหม่ เป็นวงจรเช่นนี้ไปอีก
       การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในขั้นตอนที่ 2 เพื่อใหม่ฐานข้อมูลเพื่อสะดวกในการค้นคว้าได้ว่ายขึ้น และในขั้นตอนที่ 3 และ 4 มีการจัดทำ Website ให้ผู้สนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ให้ข้อเสนอแนะจะเกิดชุมชนวิชาการที่กว้าขวางยิ่งขึ้น
การจัดการความรู้ของบริบัท Xerox Corporation
มีองค์ประกอบหลัก ๆ 6 องค์ประกอบ
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- ผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่รวมถึงมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- จัดตั้งทีมงานเพื่อทำหน้าที่ดำเนินการวางแผนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ
- กำหนดว่าอะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการความรู้ และต้องมั่นใจได้ว่าปัจจัยเหล่านี้มีอยู่หรือสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ภายในองค์กร
- ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการแลกเปลี่ยนและจัดการความรู้
- สร้างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถลองผิดลองถูกได้และเปิดกว้างให้มีการทดลองนำเอาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาปฏิบัติจริง

2. การสื่อสาร
- เนื้อหาของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
- กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
- ช่องทางในการสื่อสาร

3. กระบวนการและเครื่องมือ
- ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ

4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้
5. การวัดผล
- การวัดระบบหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการความรู้
- การวัดปัจจัยส่งออก
- การวัดผลลัพธ์

6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
การจัดการด้านความรู้ตามแบบของโลตัส
        โลตัสให้คำนิยามของโนว์เลดจ์ เมเนจเมนท์ว่า เป็นขบวนการที่สร้างเสริมระบบการทำงานประสานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม โดยการนำข้อมูลข่าวสารและความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งความชำนาญในแต่ละบุคคลมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะก่อให้เกิดผลบริบูรณ์ทางธุรกิจและสามารถแข่งขันในตลาดได้ ทั้งนี้การบริหารและการจัดการด้านความรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ที่ว่าองค์กรนั้น ๆ สามารถรู้ว่ามีอะไรบ้างที่พวกเขารู้ และนำสิ่งที่รู้มาทกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
        โลตัส เป็นผู้นำตลาดทางด้านการจัดการด้านความรู้ โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง โดยเป็นผู้เดียวที่สามารถนำเสนอโซลูชั่นการจัดการด้านความรู้ให้กับลูกค้าได้ ณ วันนี้ ผลิตภัณฑ์ และบริการของโลตัส เป็นแกนหลักที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูล (Data), ข่าวสาร (Information) ให้กลายเป็นความรู้ (Knowledge) ซึ่งโลตัสกำลังช่วยให้ลูกค้าทำการสร้าง และพัฒนาทรัพย์สินทางความรู้เพื่อให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และก่อให้เกิดผลบริบูรณ์ทางธุรกิจและนวัตกรรม
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 58915เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่มา
http://www.kmi.or.th/newwebboard/main.php?board=915&userid
ความคิดเห็นที่ 2  โดย ครูจริงใจ

ความคิดเห็นที่ 5 โดย niwat

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท