เครื่องมือในการบริหารงาน


การทำงานตลอดทั้งปีนี้ เขตฯ เราจะใช้เครื่องมือ 3 อย่างในการพัฒนางาน คือ เครือข่าย (Network) การจัดการความรู้ (KM) และ วิจัยและพัฒนา (PAR&D) ผ่านการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 15 เรื่อง ในรูปแบบ “ร่มเล็กในร่มใหญ่” ซึ่งเป็นการทำงานที่มุ่งเป้าไปยังการยกระดับคุณภาพผู้เรียนนั่นเอง


       
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสระยายโสม อ.อู่ทอง ได้จัดประชุมสมาชิกของศูนย์เครือข่ายฯ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารฯ ครู และบุคลากรของโรงเรียนลูกข่าย จำนวน 11 โรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์เครือข่ายฯ ที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมากถึง 177 คน โดย ผอ.ศุภวรรณ นิตย์สุวรรณ ผอ.ร.ร.สระยายโสมวิทยา ประธานศูนย์เครือข่ายฯ ได้ประสานงานมายังทีมของพวกเราให้ไปช่วยพาคุณครูได้ฝึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

        ในวันนั้นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ผอ.อนุสรณ์ ฟูเจริญ ได้เดินทางไปพบปะเพื่อนครูด้วย พูดคุยถึงนโยบายและภารกิจที่เขตฯ เร่งดำเนินการในปีนี้ตามแนวนโยบายของ รมว.ศธ. ซึ่งในบางเรื่องเขตฯ เราเริ่มทำมามากแล้ว

                                 

        นโยบายของท่านรัฐมนตรี โดยหลักใหญ่ใจความท่านเน้นอยู่สองส่วน คือ ส่วนแรกเน้นเชิงปริมาณ ในด้านการให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาภาคบังคับครบทุกคน และในส่วนที่สอง คือ เน้นเชิงคุณภาพ โดยมุ่งที่คุณภาพผู้เรียน ยึดหลักปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ให้เป็นไปตามหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งหวังเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเรื่องคุณธรรมนำความรู้

        การจัดการเรียนการสอนในเขตฯ ของเรานั้น หากพิจารณาในประเด็นที่เรามุ่งหวังพัฒนาให้ผู้เรียน ดี เก่ง และมีความสุข จะเห็นได้ว่าโรงเรียนในเขตฯของเราสอบผ่านในประเด็นที่สร้างให้เด็กเป็นคน
ดี ยืนยันได้จากผลการประเมินรอบแรกของ สมศ. ในมาตรฐานคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ซึ่งจำนวนโรงเรียนในสังกัดฯ มีทั้งหมด 159 ร.ร.นั้น มีโรงเรียน 156 ร.ร. ได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี และอีก 3 ร.ร.อยู่ในระดับ พอใช้

        ประเด็นเรื่องการพัฒนาผู้เรียนให้คนที่
มีสุข ก็ถือว่าผ่านอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากมีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ในมาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ส่วนประเด็นที่ยังเป็นปัญหาในขณะนี้ของเขตฯ เรา ก็คือ เก่ง เพราะดูผลการประเมินในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องแล้วเรายังย่ำแย่ และตกลงเรื่อย ๆ เมื่อระดับชั้นสูงขึ้น ช่วงชั้นที่ 1 ดูเหมือนจะใช้ได้ แต่พอถึงช่วงชั้นที่ 2 กลับตกลงไปอีก และตกลงไปเรื่อย ๆ ในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งผลที่ออกมาสอดคล้องกับผลสอบ NT เช่นกัน

        ท่านผอ.อนุสรณ์ มีความเห็นในเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาเราทำงานกันไม่สำเร็จ เพราะเรามัวทำตามความรู้ที่มาจากทฤษฎี มาจากตำราฝรั่ง ทำตามคู่มือที่เบื้องบนให้มา ซึ่งไม่เหมาะกับสภาพที่เราเป็น ต.ย.ของความไม่สำเร็จ เช่น นโยบายการส่งเสริมการอ่าน ที่ข้างบนส่งมาให้เราปฏิบัติ ....ถามว่าทำไมทุกวันนี้ หลายโรงเรียนทำกันไป...แต่ทำไมเด็ก ๆ ถึงยังไม่รักการอ่าน...

        ดังนั้น หากเราได้ใช้ความรู้จากการปฏิบัติจริงของพวกเรา น่าจะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการทำงานที่เหมาะกับตัวเองมากกว่า...โดยดึงความรู้ออกจาก
หัวไอ้เรือง นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำวิธีการที่เพื่อนทำได้สำเร็จ เกิดผลดีนำไปใช้ในโรงเรียนของเรา

        การทำงานตลอดทั้งปีนี้ เขตฯ เราจะใช้เครื่องมือ
3 อย่างในการพัฒนางาน คือ เครือข่าย (Network)  การจัดการความรู้ (KM)  และ วิจัยและพัฒนา (PAR&D) ผ่านการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 15 เรื่อง ในรูปแบบ ร่มเล็กในร่มใหญ่ ซึ่งเป็นการทำงานที่มุ่งเป้าไปยังการยกระดับคุณภาพผู้เรียนนั่นเอง

        หลังการพูดคุยของท่านแล้ว ทีมของเรานำโดยท่าน หน.ลำดวน ไกรคุณาศัย และทีมงานศึกษานิเทศก์อีก
4 ท่าน ก็ได้พาครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ที่ตนเองภาคภูมิใจ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามระดับชั้นที่คุณครูรับผิดชอบในการสอน ตั้งแต่กลุ่มคุณครูอนุบาล 1 ไปจนถึงระดับคุณครูในระดับชั้นมัธยมฯ ปลาย 

        

        นอกจากคุณครูจะได้ฝึกการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว ดิฉันสังเกตว่า
KM ยังสร้างบรรยากาศของการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอีกด้วย หลายแห่งที่เมื่อรวมเป็นเขตพื้นที่ฯ ยังมีปัญหาเรื่องการเข้ากันไม่ได้ระหว่างประถมฯ และมัธยมฯ ซึ่งเมื่อก่อนเคยแยกกันอยู่เป็น สปช. กับ กรมสามัญ และเคยได้ยินว่า วัฒนธรรมของทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันจึงเป็นปัญหาของการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่แรงกว่านั้น ยังเคยได้ยินว่า ครูมัธยมฯ บางท่าน ดูถูกความรู้ของครูประถมฯ

                                

        เขตฯ ของเราโชคดีที่ ผอ.สพท.ท่านสามารถบริหารจัดการปัญหานี้ได้ตั้งแต่แรก โดยยึดการบริหารบนหลักการของเครือข่าย มาตั้งแต่เริ่มเป็นเขตพื้นที่ฯ ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนทั้งระดับประถมฯ และมัธยมฯ เข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ย ในช่วงปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ท่านก็ได้
KM อันเป็นเครื่องมือตัวที่สองเข้ามาใช้ ซึ่งดิฉันมองว่าจะเป็นเครื่องมือที่หล่อหลอมให้คุณครูในเขตฯ ของเรา รวมกันได้เป็นหนึ่งเดียว ส่วนเครื่องมือล่าสุดที่ท่านกำลังใช้ คือ PAR&D กำลังจะเป็นตัวพิสูจน์ความสำเร็จในการบริหารงานของท่านต่อไป

หมายเลขบันทึก: 58858เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2006 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
การวิจัยแบบมีส่วนร่วม PAR & D ของสพท.สพ.2 ใช้ KM ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นการวิจัยรูปแบบร่มเล็กในร่วมใหญ่ น้องปวีณาคงจะเล่าในโอกาสต่อไป
  • เรียน สุดยอดหัวหน้าของดิฉัน
  • นิเทศ กำกับ ติดตามงาน ไม่เว้นแม้ใน gotoknow เลยหรือคะนี่
  • โอกาสหน้าจะนำมาเล่าให้ฟังนะคะ
  • ขอบคุณ หน.ลำดวนค่ะ
บล็อกสวยมากเหมือนกันนะคะ (เหมือนอาจารย์สมถวิล) ขอเข้าร่วมพลังบล็อกสวยเป็น สามหญิงได้ไหมคะ จะได้อวดใครๆว่า ผู้หญิงก็ไม่ใช่ย่อยนะคะ ที่ไปเยี่ยมมา มีบางโรงเรียนทำเรื่องรักการอ่านได้ดีมากค่ะ อยากจะรวบรวมเขียนนะคะ คิดว่าโครงการนี้เสร็จจะมี pocket book เรื่องน่ารักของโรงเรียน ครู และนักเรียน ค่ะ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทัศนีย์ค่ะ
  • ส่วนใหญ่จะไม่ได้ create เองค่ะ อาศัยซอกแซกไปเรียนรู้ลูกเล่นจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย แล้วใช้ประโยชน์จากสิ่ง "สำเร็จรูป" ที่แต่ละท่านกรุณาเผยแพร่ให้ นำมาปรับโฉมบล็อกของเราดูบ้าง
  • บล็อกสวย ที่เพิ่งแต่งหน้าแต่งตาใหม่เสร็จเมื่อเช้านี้ ได้อานิสงส์มาจากท่านอาจารย์ ดร.จันทวัน น้อยวัน หญิงเก่งผู้ดูแลระบบของเรานี่เองค่ะ
  • อยากอ่านพ็อกเก็ตบุคส์ที่ว่านี้แล้วล่ะค่ะ ตอนนี้พวกเราตั้งตารอผลงานของท่านอาจารย์ค่ะ
นางสาวพรชิกา หวลระลึก

อยากรู้ว่าบริษัทไทยออยล์ใช้เครื่องมือชนิดใดในการบริหารงานในองค์กรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท