​ร่วมกิจกรรม วิพุทธิยาจารย์อาสา ที่น่าน


ไปร่วมกิจกรรม วิพุทธิยาจารย์อาสากับนิสิตฯ ชั้นปีที่ 2 และ 3

สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ จุฬา น่าน
...20 มีนาคม 2558 ออกเดินทางจากกำแพงเพชรตั้งแต่ก่อน 6 โมงเช้า
ตั้งใจว่าจะออกเดินทางประมาณตี 5 แต่ไม่มีใครตั้งนาฬากาปลุก จึงเลยเวลา
ที่ตั้งใจไว้แต่แรก กะว่าจะไปถึงน่านประมาณ 10 โมงเช้า นัดเวลา
กันผ่านเฟสกับพ่อครูบาสุทธินันท์ ว่าท่านจะลงเครื่องที่น่านประมาณ 10 โมงเช้าเช่นกัน จะได้มีเวลาคุยกันก่อนพบนิสิต

ขับรถผ่านทางสุโขทัย สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย เด่นชัย แพร่ น่าน ระยะทาง 372 กม.ตามแผนที่ google ไปสบายๆ เกือบๆ 6 ชั่วโมง ถึงน่านเกือบ 11 โมง โทรหาพ่อครูบา...สายไม่มีคนรับ(เป็นมาตั้งแต่เย็นวันศุกร์แล้ว) เอ..แล้วจะเจอกันได้อย่างไรละ เลยตัดสินใจโทรหาพี่พยอม เครือข่ายที่ทำงานที่สำนักงานเกษตรจังหวัด(ตอนนี้ลาออกแล้ว) เพราะผมเคยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมน่านอยู่หลายครั้ง โทรหาหมอเจ๊ ที่ จ.กระบี่ ก็ติดต่อไม่ได้ ที่โทรเพราะเมื่อกลางเดือนหมอเจ๊เคยโทรมาถามเกี่ยวกับพ่อครูบาจะไปน่าน คิดว่าหมอน่าจะไปด้วย...เงียบ

เลยไปทานข้าวกับพี่พยอม ที่กำลังนำคณะของ ผอ.ศูนย์ไหม จากขอนแก่นทัวร์ในตัวเมืองน่านอยู่พอดี หลังจากทานข้าวก็ได้เที่ยวกับคณะจากขอนแก่นไปเที่ยวอีกหลายที่ จนเกือบบ่ายสองจึงตัดสินใจไปที่ศูนย์เรียนรู้ฯจุฬา ที่ตำบลผาสิงห์
แต่ไร้วี่แววของพ่อครูบา ถามยามก็บอกว่าไม่มีกิจกรรมอะไร อิอิ เอาไงดี
อากาศก็ร้อนมากที่น่าน หมอกควันก็มีแต่ไม่มาก โทรหาเพื่อที่เรียนเกษตรและอยู่ที่น่านก็ติดต่อใครไม่ได้ น่าจะเป็นที่สัญญาณโทรศัพท์ เพราะบางเครือข่ายใช้ไม่ได้เหมือนที่อื่น (เดานะครับ) เลยหนีร้อนมาพึ่งเย็นที่โลตัส น่าน
ประมาณบ่าย 3 โมงกว่าจึงติดต่อพ่อครูบาได้ผ่านญาติชาวเฮ ได้คุยและนัดหมายเจอกันตอน 6 โมงเย็นโดย อ.ฝน เป็นผู้ประสาน

21 มีนาคม 2558
ไปถึงศูนย์เรียนรู้ฯ จังหวัดน่าน ประมาณ 9 โมงเช้า กิจกรรมพบนิสิตในครั้งนี้ ใช้เวลา 1 วันเต็มในห้อง หลังจากแนะนำทีมชาวเฮ ที่มาวันนี้ซึ่งมี 3 คน คือพ่อครูบา อ.ฝน และผม เริ่มต้นก็เป็นเรื่องเล่าของพ่อครูบา ถึงอดีตความเป็นมาของพ่อครูบาตั้งแต่สมัยวัยรุ่นจึงถึงปัจจุบัน ว่ามีการเรียนรู้และทำงานกันอย่างไรและจะอยู่ต่อไปอย่างไรภายใต้สังคมที่ผิดปกติ ฯลฯ
ต่อด้วยผมเล่าประสบการณ์การการทำงานส่งเสริมการเกษตร และ อ.ฝน แนะนำการดูแลความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และการดูแลร่างกาย การนั่ง การยืดกล้ามเนื้อ ฯลฯ เยอะมาก น้องๆ ชอบมาก

บ่ายเริ่มประมาณบ่ายโมงครึ่ง ผมขออนุญาตพ่อครูเล่นเกมส์ก่อนเริ่มกิจกรรมภาคบ่าย เพื่อเตรียมความพร้อม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที สร้างบ้านด้วยหลอดกาแฟ ซึ่งปกติใช้เมื่อจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากน้องๆ นิสิตเป็นอย่างดี แต่ ข้อสรุปที่พบคือเวลาใช้กับชาวบ้านหรือเกษตรกร จะสร้างบ้านได้ไวและสวยกว่าน้องๆ เยอะ อิอิ นี่คงเป็นเพราะประสบการณ์ตรงมีมากกว่านั่นเอง

ต่อมาเป็นการจับคู่ตอบคำถาม เปลี่ยนกันถาม โดยให้กลุ่มนั่งล้อมวงและให้เลือกเพื่อมา 2 คน อยากให้ใครคุยกันก็เลือกออกมา ซึ่งน้องก็ซักถามกันได้ดี ทุกคู่กล้าแสดงออก ซึ่งพ่อครูบาสรุปว่า เป็นการฝึกการสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล อยากรู้อะไรก็ฝึกตั้งคำถามเพื่อให้อีกคนหนึ่งตอบ วิธีนี้ก็ยังไม่เคยได้เรียนรู้ เพิ่มครั้งแรกเหมือนกันครับ
จากนั้น จึงเป็นการให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหมอกควันในจังหวัดน่าน ว่าเกิดจากปัญหาอะไร และคิดว่าจะแก้ไขกันอย่างไร ทุกคนก็ร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ผมเลยฉุกคิดได้ว่านี่เป็นการพูดถึงปัญหาและทางแก้ น่าจะมีการเสริมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม จึงได้กระซิบขออนุญาตพ่อครูบา ลงไปเตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะมาต่อยอดกิจกรรม ด้วยการพัฒนาทักษะการคิดกระบวนระบบด้วยเครื่องมือภูเขาน้ำแข็ง ที่ได้เรียนรู้มาจาก รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน แห่ง มสธ. ซึ่งเป็นเสมือนครูใหญ่ที่คอยมาต่อเติมความรู้ให้กับพวกเรานักส่งเสริมการเกษตรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้
เมื่อน้องๆ นิสิต ได้แบ่งกลุ่มและระดมความคิดอีกครั้ง โดยนำปัญหาและทางแก้ที่ได้เสนอมานั้น นำมาจัดระดับกันใหม่อย่างเป็นระบบ หวังว่าน้องๆ คงจะได้เรียนรู้มากขึ้นและเมื่อผ่านการฝึกฝนก็จะทำให้มีกรอบการมองโลก มองและวิเคราะห์ปัญหา-สาเหตุและกำหนดทางแก้ได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มนี้ คงจะทำให้ได้เรียนรู้กันอย่างสนุกสนาม แต่ได้ข้อคิดและทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโอกาสต่อๆ ไป
ขอบคุณที่ได้ให้โอกาสได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ และหากมีวาสนาคงได้เจอกันอีกนะครับ
บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.
สิงห์ป่าสัก 25 มีนาคม 2558
(ขอบคุณภาพบางส่วนจาก อ.ฝนและทีมจุฬาครับ)

หมายเลขบันทึก: 587955เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2015 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2015 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เสียดายไม่ทราบข่าว

จะได้ตามพี่ไปด้วย

5555

ถ้ามีเสียงสะท้อนจากเด็กๆกลับมาถึงความรู้สึกเกี่ยวกับงานนี้ด้วยคงจะดีไม่น้อยนะคะ อยากรู้ความคิดของคนรุ่นใหม่ๆว่ารู้สึกอย่างไรกับวิธีเรียนรู้แบบนี้นะคะ คุณยุทธ

แวะมาทักทายจ้ะคุณสิ่งห์ ป่าสัก ระลึกถึงเสมอจ้ะ

ชอบ "สร้างบ้านด้วยหลอดกาแฟ"....ขอร่วมด้วย คน(แก่)..น่ะค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท