การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง


สวัสดีครับลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 ส่วน

บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในพื้นที่ดำเนินการ 5 คลัสเตอร์ ใช้ระยะเวลา
คลัสเตอร์ละ3 วัน 2 คืน รวม 5 คลัสเตอร์จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 200 คน ประกอบด้วย

(1) กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ จำนวน 40 คน

วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

ติดตามอ่านได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/586768

(2) กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง จำนวน 40 คน

วันที่ 11-13 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จังหวัดเลย

(3) กลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 40 คน

วันที่ 23- 25 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

(4) กลุ่มท่องเที่ยวมหัศจรรย์สองสมุทร จำนวน 40 คน

วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา

(5) กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach จำนวน 40 คน

วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านปู รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดตราด






ความเห็น (10)
ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปประชุมวันที่ 11 มีนาคม 2558

สรุปการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2558

ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จ.เลย

กล่าวรายงาน

โดย นายพรหมโชติ ไตรเวช

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ท่านประธาน และ ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ผมขอขอบคุณท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเลยที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและภาคเหนือ

ก่อนอื่นผมขอรายงานความเป็นมาและประวัติการประชุมเชิงปฏิบัติการดังนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รับมอบหมายให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในสาขาท่องเที่ยวและบริการ และกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพสินค้าบริการและการบริหารจัดการแบบองค์รวมในทุกมิติ ได้ค้นพบประเด็นสำคัญคือเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้มีองค์ความรู้และศักยภาพที่มีความพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้นำมาสู่โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในลำดับต่อมาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการใน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และกลุ่มท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนที่จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

2. เพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3. สร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาในระดับประเทศ

4. ส่งเสริมให้ทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning how to learn) และสร้างศักยภาพการบริหารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 40 ท่านซึ่งมาจาก ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการในกลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานีและอุดรธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

1. แนวทางการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนที่ผ่านการศึกษา วิจัยและวิเคราะห์จากข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและระดมความคิดเห็นจากผู้มีประสบการณ์จริงด้านการท่องเที่ยวและกีฬาในประเทศไทย

2. ผู้เข้าร่วมประชุม สามารถมีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรเครือข่าย

ท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนให้เกิดมูลค่าด้านท่องเที่ยวและกีฬาเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนอย่างเต็มที่

3. เครือข่ายที่เข้มแข็งที่พร้อมด้วยศักยภาพด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการที่มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความร่วมมือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

4. ความต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Learning how to learn) ด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวไกลของโลกอย่างต่อเนื่อง

ในการนี้ ผมใคร่ขอเรียนเชิญท่านประธานกล่าวเปิดงานครับ

กล่าวเปิด

โดยนายเสน่ห์นนทะโชติ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เป็นประธานพิธีเปิดการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการ กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนซึ่งจัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ในนามของชาวจังหวัดเลย ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่จังหวัดเลย เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม

ทางจังหวัดเลยมีความภาคภูมิใจมากที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมอีกครั้งหนึ่งสำหรับโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนนี้

จังหวัดเลยเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดงานครั้งนี้เนื่องจากมีวิสัยทัศน์เป็น "เมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว และลงทุนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน"ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ประกอบด้วย

/ยุทธศาสตร์ที่ 1

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาคนสังคม คุณภาพชีวิตทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความมั่นคง เพื่อสังคมสงบสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรเพื่อให้แข่งขันได้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต การค้า การลงทุนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

จังหวัดเลยได้รับการพิจารณาจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 9 อำเภอ 3 กลุ่ม คือ

1)โซน 1 ประกอบด้วย อำเภอเมืองเลย -ท่าลี่-เชียงคาน

2)โซน 2 ประกอบด้วย อำเภอภูเรือ - ด่านซ้าย - นาแห้ว

3)โซน 3 ประกอบด้วย อำเภอภูกระดึง - ภูหลวง - หนองหิน

โดยได้ร่วมสนับสนุนภารกิจของ อพท. ในการจัดทำแผนแม่บทและแผนการปฏิบัติการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกับ อพท. จำแนกการท่องเที่ยวออกเป็นเรื่องของประเพณี วิถีชีวิต และธรรมชาติ โดยมีอำเภอเป็นตัวเชื่อมแผนระดับท้องถิ่นไปสู่แผนจังหวัดและแผนระดับชาติ และจังหวัดเลยกำลังผลักดันให้พื้นที่ที่เหลืออีก 5 อำเภอ ได้รับการพิจารณาประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยืนต่อไป

นอกจากนี้ จังหวัดเลย เป็นจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกับ สปป.ลาว ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ชายแดนไทย– ลาว อย่างเป็นทางการผ่านทางคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบชายแดนไทย – ลาว จังหวัดเลย – แขวงเวียงจันทร์ และจังหวัดเลย – แขวงไชยะบูลี และอย่างไม่เป็นทางการทางภาคเอกชน เช่น หอการค้าจังหวัดเลยและสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดเลย มีการพบปะเยี่ยมเยือน ปรึกษาหารือความร่วมมือทางการค้าขาย การลงทุนกับสภาการค้าและอุตสาหกรรมทั้งแขวงเวียงจันทร์ ไชยะบูลีและหลวงพระบาง

นอกจากการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับภูมิลำเนา ผมอยากให้ทุกท่านได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่สำคัญ เช่น ภูกระดึง ภูเรือภูหลวง สวนหินผางามแก่งคุดคู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนพระธาตุศรีสองรัก พระธาตุสัจจะ ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนชุมชนบ้านไม้เก่าเชียงคานรวมถึงวัดสำคัญ เช่น วัดป่าเนรมิตวิปัสสนา วัดศรีสุทธาวาส และ วัดโพนชัย เป็นต้น

สุดท้ายนี้ ผมขออวยพรให้กิจกรรมนี้ดำเนินการไปจนประสบความสำเร็จทุกคนและขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดระยะเวลาที่ได้อยู่ในจังหวัดเลยและทางจังหวัดเลยหวังว่าจะได้มีโอกาสที่จะต้อนรับทุกท่านอีก

และผมใคร่ขอเปิดงาน ณ บัดนี้

ขอบคุณครับ

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

งานสิ่งที่ทำนั้น ไม่ใช่ทำเพื่อสนุก ๆมูลนิธิฯ เป็นสมบัติของทุกคน โครงการฯนี้เป็นการที่นำผลงานวิจัยมาขับเคลื่อนในตัวละคร 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ภาครัฐ เป็นผู้ออกนโยบายและมีส่วนในการขับเคลื่อนนโยบาย

กลุ่มที่ 2 นักวิชาการ เป็นส่วนร่วมในการทำวิจัย เน้นการศึกษาจากความจริงเน้นทฤษฎี 2 R's สิ่งสำคัญตัวแรก R1 คือ Reality ความจริง ให้ดูว่าอะไรอยู่ตรงไหน และถ้าทำแล้วจะสำเร็จหรือไม่ R2 คือ Relevance ตรงกับความต้องการ

กลุ่มที่ 3 คือนักธุรกิจและผู้ประกอบการ เป็นกลไกในการขับเคลื่อน

กลุ่มที่ 4 คือผู้นำท้องถิ่น เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งทั้ง 4 กลุ่ม คนในสังคมไทยจะต้องเป็นผู้ประสานงานสำคัญที่สุดในวันนี้คือ ขอให้ทุกคนทำงานร่วมกัน ขอให้คนในห้องนี้ บ้าความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค อย่างเช่นทางการท่องเที่ยวและกีฬาต้องผนึกกำลังกันและต้องมีคนมาประสานงานเหมือนเช่นทุกวัน เน้นการเอาชนะอุปสรรค ให้ได้

การทำงานในปีที่ 3 เป็นปีที่เราก้าวไปสู่อาเซียน ทุกเรื่องที่ทำจะเกี่ยวกับอาเซียน

ขอให้เน้นเรื่องการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และให้มีความเคารพ Respect ต่อกัน

อย่างที่เลย หนองคาย เวียงจันทร์ เป็นจุดเชื่อมกันได้ ก็ถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของที่นี่ ถ้าพูดแนวนี้ไปเรื่อย ๆ คนจะเชื่อ

สิ่งสำคัญคือการเน้นการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมอุทยานฯ ททท. ชุมชน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการมีระบบ Silo ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดในโลก

สิ่งสำคัญคือการสร้าง Networkingและ Capacity Building

อยากให้ดูลูกค้าของเราซึ่งจะมี 4-5 กลุ่ม ได้แก่ คนในประเทศ , GMS , อาเซียน , อาเซียน + + , และโลก

การท่องเที่ยว คนในอาเซียนควรรวมตัวกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ และให้คนในโลก มาเสียเงินที่ไทยอยากให้ไปดูตัวอย่างชุมชนในฝรั่งเศส ทำไมคนจ่ายค่าที่พักวันละ 20,000 บาทได้นั้น เราต้องเพิ่มมาตรฐานทางการท่องเที่ยวของเราให้ได้ก่อน

ท่องเที่ยวชุมชนไม่ใช่เป็นท่องเที่ยวแบบ Romantic อย่างที่คิดไว้ ต้องเข้าใจในลักษณะ Global Standard

ต้องปรับ Mindset และทัศนคติของโลกบ้าง และเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย เน้นการเรียนรู้แบบเปิดโลกทัศน์

Agro Tourism เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยากทำในอนาคต

ในวันสุดท้ายให้เสนอสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ ให้อ่านสิ่งที่ทำไปในครั้งที่แล้ว

ให้เรียนรู้อดีต และฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม

คิดโปรเจคที่สร้างสรรค์ ทั้ง Supply และ Demand

เมื่อมี Value Diversity เกิดขึ้นแล้ว ควรนึกถึง การแบ่งปัน Shar และ Care ถ้าคิดไม่เหมือนกันไม่ต้องมองว่าคิดเพราะอะไร

การร่วมแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม

1. สิ่งที่ ดร.จีระ พูดนั้นเป็นการพูดที่ใช้จิตวิทยาขั้นสูงในการดึงศักยภาพที่อยู่ข้างในให้ทำงานร่วมกัน และปลุกการทำงานร่วมกันได้

2. สิ่งสำคัญคือการได้รับความรู้ และการสร้างความเข้าใจให้พวกเรา ขณะนี้อีสานคือแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต

3. ประทับใจอาจารย์จีระตั้งแต่ครั้งแรก ทำอย่างไรถึงให้คนในเครือข่ายท่องเที่ยวมีศักยภาพและอยากพัฒนา อยากพัฒนาแนวคิดหรือวิธีการและให้นำพลังภายในมาใช้ อยากให้มีแนวคิดหรือมุมมองใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรและผู้นำชุมชน

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การอภิปรายเรื่อง "ท่องเที่ยวและกีฬากับแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงอาเซียน"

หัวข้อ เครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา...การบูรณาการสู่ความยั่งยืน

โดยนายพรหมโชติ ไตรเวช

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ผอ.พรหมโชติ ให้ลองผู้เข้าร่วมประชุมคิดดูว่าการท่องเที่ยวเชียงคาน เลย และอีสาน ใครเป็นคนชวนท่องเที่ยว ?? คำตอบคือทุกอย่างต้องไปพร้อม ๆ กัน คืออยากให้มีการมองทั้งด้าน Demand และ Supply ทั้งผู้ให้บริการ และนักท่องเที่ยว ที่ต้องพร้อมไปด้วยกัน ไม่ใช่สิ่งไหนมาก่อน

การกระตุ้นการท่องเที่ยว องค์ความรู้ที่เห็นชัดนั้นจะมียุทธศาสตร์อะไร มีเท่าไหร่ องค์ความรู้ทั้ง 15 ข้อ เป็นสิ่งจำเป็นอยากให้มองถึงแนวโน้มในอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไรในภาพรวม

ประเทศไทยยังจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีแรงดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่ดีมาก

ปัญหาที่เจอ

1. นักท่องเที่ยวไม่กระจายตัว

2. มีการก่อสร้าง การทำสิ่งต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ไม่ตรงใจลูกค้าจึงทำให้ขายของไม่ได้

3. การวางเครือข่ายความร่วมมือ มหภาค มีความจำเป็น

จะเอาการผลิตมานำการตลาด หรือการตลาดนำการผลิต เป็นอย่างงูกินหาง ให้ดูไปพร้อม ๆ กัน อยากให้ดูถึงการตกแต่งและดูแลรักษาก็เกินสิ่งที่ต้องการแล้ว

สถาบันการศึกษาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจะทำอย่างไร

ในปี 57 คาดว่า

อุตสาหกรรมการบริการ การเกษตรจะเติบโตได้ดี ใช้การบูรณาการร่วมกันมากขึ้น การพัฒนาแหล่งตลาดและโครงสร้าง ไม่ใช่แต่ละหน่วยงาน แต่ละคนทำ

เราพยายามให้งานทุกอย่างคล้องจองกันและร้อยกันไป ต้องตัดอัตตาของตนเองออก ฟังคนอื่นเยอะ ๆ และหาทางออกร่วมกัน

ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งต้นให้ได้ว่าจะทำอย่างไร

สิ่งที่ได้กลับมาคือ ถ้าไม่มีการพัฒนาการท่องเที่ยวแล้วจะลำบาก ให้จัดการพัฒนาพื้นที่พิเศษใหม่

การค้าชายแดนกับการเชื่อมต่ออาเซียนต้องมีนักท่องเที่ยวต่าง ๆ ต้องเน้น Green Tourism , Sports Tourism

สิ่งที่พลาดไม่ได้คือการเป็นเจ้าภาพที่ดี และการรองรับการท่องเที่ยว

มีการแบ่ง Cluster การพัฒนาการท่องเที่ยว

จังหวัดเลยที่อยู่อีสานตอนบน มุ่งให้เติบโตแบบอิสรเสรี มีการมองวัฒนธรรมของล้านช้าง เชื่อมกับนโยบายของจังหวัดด้วย

ต้องทำ Route ทางการท่องเที่ยวให้ได้ ให้คนเชื่อมต่อกัน

ถ้าเราไม่คุมการท่องเที่ยวไว้พอสมควร เดี๋ยวจะกลายเป็นเมืองคาน ดังนั้นการวางแผนทำงานร่วมกันจึงมีความจำเป็นมาก ๆ

การมองท่องเที่ยวให้มองแบบท่องเที่ยววิถีไทยเป็นตัวตั้ง

วิถีไทยต้องเป็นตัวตั้ง ปี 58 เป็นสิ่งที่ใช้ตรงนี้ ต้องใช้เพื่อนร่วมอาเซียนดึงการมีส่วนร่วม เป็นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้การท่องเที่ยวมีการเชื่อมโยง รายได้ทุกเดือน

การทำท่องเที่ยวต้องสร้างเครือข่ายให้ได้ ทำให้เป็นประชาธิปไตยที่มีคนยอมรับนับถือ

อย่างเช่น มีคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และผู้ว่าฯ ที่สามารถนำสู่องค์กรภาคประชาชน

ดร.จีระ ได้ทำงานต่อยอดใน 3 ปี ยังไม่จบ ดังนั้นภาคการท่องเที่ยวอย่าคิดวันต่อวัน แต่ให้มองให้เห็นว่าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและตั้งใจเต็มที่กับทุกคน

สิ่งที่ทุกคนทำคือต้องคิดต่อ

หัวข้อ เส้นทางวัฒนธรรมกับการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

โดยนายสัมฤทธิ์สุภามา

วัฒนธรรมจังหวัดเลย

เส้นทางวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่สำคัญที่สุดคือแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ละลายกับมรสุมเป็นแม่น้ำสายใหญ่ ไหลสู่ทิศทางการท่องเที่ยว

ประวัติมีในแก่งคุดคู้

เส้นทางมีไทย จีน พม่า ลาว ไทยคนแถวอุดรฯ มรดกโลกอยู่ 3,000 – 5,000 ปี อาจเกิดก่อน 12 ปันนา

ชาติตะวันตก อย่างฝรั่งเศส ได้มีการสำรวจเส้นทางในพื้นที่เหล่านี้ มีการเข้ามาจากทะเล ผ่านไปเขมร ลาวไทยพบว่าพื้นที่มีลักษณะเป็นเกาะแก่ง เป็นน้ำตก พบว่ามีแหล่งเส้นทางวัฒนธรรม

ตัวอย่างเครือข่ายที่มีคือการมีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน คือประเพณี 12 เดือน มีเชียงรุ้ง เชียงตุง บวกกันเป็น 12 ปันนา

เชียงรุ่ง + เชียงตุง เป็น หลวงพระบาง

เมืองสิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 830 ปีก่อน โดยพญาเจืองหรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นและแผ่ขยายอาณาเขตมากที่สุดในยุคท้าวอินเมือง สามารถขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครองหัวเมืองประเทศราช
สิบ สองปันนาดำรงความมั่นคมเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานโดยชาวมองโกลและตกอยู่ในการปกครองของจีนในปี พ.ศ.1833 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากชื่อภาษาไทลื้อมาเป็นภาษาจีนและเจ้าผู้ครองนครชาวไท ลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า หลังจากที่พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอูและขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้ยึดเมืองสิบสองปันนา จากนั้นจึงได้แบ่งเมืองสิบสองปันนาออกเป็น 12 หัวเมือง ได้แก่ เมืองฮาย เมืองม้าง เมืองหุน เมืองแจ้ เมืองฮิง เมืองลวง เมืองอิงู เมืองลา เมืองพง เมืองอู่ เมืองอ่อง และ เมืองเชียงรุ่ง จึงเรียกเมืองเหล่านนี้รวมกันว่า สิบสองปันนา และในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่าและพระพุทธศาสนาได้เข้าแผ่ขยายเข้าไปในเขตสิบสองปันนา
สมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากพระองค์ได้ส่งทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จากพม่าแล้ว พระองค์ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเชียงรุ่งและกวาดต้อน พลเมืองชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ไทลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า ชาวไทขึนและชาวไทใหญ่จากเมืองเชียงตุง มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา เพราะในช่วงก่อนนั้นพม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก
เชียงรุ่งถูกยื้อแย่งดึงโดยอาณาจักรใกล้เคียงไปมาอยู่ไม่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เข้ามาขีดเขตอำนาจของตนให้พม่าไปอยู่กับอังกฤษ สิบสองปันนาอยู่กับจีน เชียงตุงไปกับพม่า และฝรั่งเศสคุมลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองเชียงรุ่งถูกยุบจากเมืองหลวงเป็นแค่หัวเมืองและเจ้าปกครองนครทั้งหลายก็ถูกปลด ในปัจจุบันคนที่มีแซ่เต๋าก็คือเชื้อเจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้

กษัตริย์ สร้างมาตามลำน้ำแถบอำเภอด่านซ้ายเข้าเส้นทางสายวัฒนธรรม สมัยนั้นขอมเรืองอำนาจ มีศูนย์กลางอยู่ลพบุรี

ตัวอย่างกิจกรรมและประเพณีที่จังหวัดเลย

กิจกรรม ผีขนน้ำ ผีตาโขน มีการไปมาหาสู่ และจับมือร่วมกันมีการให้นักท่องเที่ยวร่วมมือกัน

วิถีชีวิตของคนในลุ่มน้ำโขง ส่วนใหญ่ มองแค่การมีปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค มีการรวมตัวก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่หลากหลายอันเป็นจุดขายของวัฒนธรรมแถวนี้ มีเส้นทางต่อเนื่อง มีภาพเขียนสีทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเขตอำเภอเมืองที่ภูถ้ำผะศิลปะที่ภูหงส์ เกิดจากเส้นทั้งหลายของหลายเส้นรวมกัน และแหล่งโบราณคดีที่ถ้ำผาปู่ เป็นต้น

ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ไม่ใช่มีที่จังหวัดอุดรธานีอย่างเดียว มีชุมชนโบราณที่ อำเภอภูหลวง มีคนอาศัยอยู่เป็นพัน ๆ ปี

ไทลื้อเป็นลื้อหลวงพระบาง

แถวเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดแพร่เป็นลื้อเชียงของ

คนเลยอดีต หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส่ การแต่งกายต่อหัวต่อตีน จะไม่นุ่งสั้นเหมือนปัจจุบันนี้

ด้านอาชีพ และสถาปัตยกรรม

การทำไร่ ทำนา มีขายของแบกะดิน

อาหารหลัก จะเป็นสมุนไพร เป็นวิถีชีวิตที่ประสานกัน มีการบายศรีสู่ขวัญให้

อาคารบ้านเรือน มีการปรับปรุงตามยุค ตามสมัย สืบต่อกันไป

การค้าการขายมีเหมือนกันมีสวนสมุนไพร ไชยบุรี

จ.เลย มีการแต่งกายไม่ต่างจากไทลื้อ หลวงพระบาง มีการใส่ผ้าตีนซิ่น ลายขิดโบราณจากหลวงพระบาง

มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม และอาณาจักรโบราณ ตัวอย่างเส้นทางอุดรธานีเวียงจันทร์ หลวงพระบาง เป็นเส้นทางเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวมรดกโลก

คุณพิชญ์ภูรี

พบว่าวิถีท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขง มีเส้นทางที่เป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ

มีวิถีต่าง ๆ มาสรุปตรงปัญหามีการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์ ในมูลค่าหรือคุณค่า มีเครือข่ายท่องเที่ยว วิถีชุมชน มีการพัฒนาเป็นขั้น เป็นตอน มีการพัฒนาความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

หัวข้อกรณีศึกษาด้านการพัฒนาชุมชนเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มประเทศอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ำโขงสู่อาเซียน

โดยนายกฤศดา ธีราทิตยกุล

นักวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ผู้จัดการสำนักงานความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

การรวมเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน เริ่มเป็นที่สนใจไม่ใช่แค่เฉพาะไทย แต่เป็นที่สนใจไปทั่วโลกเพราะทำให้วิถีชีวิตชุมชนดีขึ้น

องค์กรใหญ่เช่น World Wide life fund ได้มีการบวกการท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเข้าด้วยกัน

การท่องเที่ยวชุมชนต้องจัดการและให้ผลประโยชน์ต่อชุมชน ต้องเน้นว่าทำอย่างไร

สำนักงานความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงจะดูแลเครือข่ายด้านคน แต่ในปัจจุบันพบว่าด้านนโยบายการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้เกี่ยวมากนัก

การท่องเที่ยวทุกประเทศ มีลาว เวียดนาม พม่า ไทย กวงสี ยูนนาน มีลักษณะคล้าย ๆ กัน

การท่องเที่ยวชุมชนถือได้ว่าเป็น Product ที่โดดเด่นในทุกประเทศ

อย่างที่ลาวจะมีดูแลชุมชนมากกว่า 50 ชุมชนในลาว เช่น การดูแลชุมชนที่หลวงน้ำทา

มี CBTi ในการเข้าไปมีส่วนร่วม

การท่องเที่ยวไทยเป็นการท่องเที่ยวที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น เกาะยาวน้อย มีการรวมตัวเป็นการท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อม มีการรวมตัวเป็นการท่องเที่ยวชุมชน มีชุมชนการเชื่อมโยงไปสู่ GMSs และมีการรวมตัวเป็น Asean Economic Community ประกอบด้วย 6 ชาติ

การประชุม ATF จีน ไม่เข้าด้วย เนื่องจากมีการแตกต่างของกลุ่ม GMS อื่นๆ แต่ MTF มีกลุ่ม GMF ทั้งหมดเข้าด้วย มีคนในอาเซียนอยู่เกินครึ่งกว่า 90 ล้านคน และเป็นองค์กรที่ไม่ได้แข่งขันกัน

การท่องเที่ยวเมื่อเทคโนโลยีดีขึ้น การสื่อสารดีขึ้น คนจะดูเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น

ทำอย่างไรให้เป็น One Vision One identity One Community และทำอย่างไรให้นำสู่การเป็นตลาดเดียวกัน

สีเหลืองเป็น AEC ลดภาษี 0 เปอร์เซ็นต์ เป็นประเด็นที่ไทยกำลังผลักดัน มีเรื่องการพยายามผลักดันให้เกิดความเป็นเสรีทางการค้ายิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2563 หรือ ค.ศ. 2020 Asean Vision เริ่มมองเห็นสมบูรณ์ มีการมองเห็นสองเสาหลัก คือวัฒนธรรม สังคม และความมั่นคง

เราไม่มีการกำหนดว่าจะก้าวไปเมื่อไร มีแต่การกำหนดเป็น Vision เฉย ๆ

ข้อสรุปของ Peter Sepo บอกว่าความหลายหลายผลิตภัณฑ์อยู่ที่ GMS แม้ว่า South Pacific จะมีความน่าสนใจมาก

Secondary Destination คือกลุ่มที่พยายามโปรโมทกลุ่มที่ไม่ใช่เมืองหลัก เริ่มที่เส้นทางแต่ละหัวข้อ แต่ละเรื่องไป

การพัฒนา จะสนใจ Route ไหน และคุยกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ด้านการพัฒนาเมืองรอง ไม่ใช่เมืองหลัก

การทำท่องเที่ยวโดยชุมชน บางประเทศเป็นการท่องเที่ยวโฮมสเตย์

สิงคโปร์ ยังไม่มีโฮมสเตย์ บรูไนมีการทำการท่องเที่ยวที่คล้าย ๆ กัน

กัมพูชา เวียดนาม NGOs มีการสนับสนุน Training ให้การอบรม

ถ้าไม่ศึกษาให้ดีและทำการตลาดที่ดีจะเงียบ

ไทย อินโด เวียดนาม ฟิลิปปินส์ NGOs ในประเทศเข้มแข็ง สามารถที่ขยับเดินต่อไปได้

ชุมชนพัฒนาไปถึงการจ้างช่างภาพ และทำหนัง บางชุมชนใกล้แหล่งท่องเที่ยวหลักเช่นแม่กำปอง

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

มีตั้งแต่เรื่อง การจัดการ การกระจายรายได้ การหักเปอร์เซ็นต์เข้ากลุ่ม การแสวงหาของดี แต่ต้องดูผลกระทบระยะยาว ดูวิถีชีวิต ดูจากธรรมชาติที่เป็น

ชุมชน เป็น Political Community มีเส้นแบ่งทางการเมือง ไทดำ ไทอัสสัม ส่วนอาหารก็มีเป็นกลุ่มไม่เหมือนกัน

กลุ่มชุมชนที่น่าสนใจในการตลาด จะพูดเรื่องท่องเที่ยวไปเอง จะเลือกเป็นแบบไหนในการรวมอาเซียน มีการแบ่งเป็นชาติและแบ่งแบบไทยแค่ไหน

การเดินทางมากจะเข้าใจความเป็นไทยมากขึ้น

Imaging Community

ต้องกำหนดทุกอย่างให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเดียวกัน

อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง Indonesia Tourism มีชาวบ้านจัด International Conference เอง อินโดนีเซียมีการเรียนรู้เอง

เวียดนาม มีการจัดการที่รัฐกำหนดว่าจะยั่งยืนหรือไม่ น้องใหม่ ใช้คำว่าCommunity Involve tourism

เรื่องการจัดการ เรื่อง Marketing เรื่อง NGOs เราทำงานและมีองค์กรที่เชื่อมโยงทั้งหมด มีเครือข่าย Network และทำ Marketingเอง เพื่อทำการท่องเที่ยวให้ชุมชนเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน

หัวข้อ การท่องเที่ยวและกีฬาแบบมีส่วนร่วมในเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาเมืองเชียงคาน

โดยว่าที่พ.ต.ดร.ณัฏฐพลตันมิ่ง

ดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

การนำประเด็นมาศึกษาผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ มียุทธศาสตร์อย่างไรในการพัฒนา

1. ถ่ายภาพเชียงคานขึ้น Facebook ทุกวัน

2. เอาวัฒนธรรมเป็นจุดขาย เขียนสิ่งดึงดูด ลงโทรทัศน์

3. การท่องเที่ยวเมืองเชียงคาน มีการอบรมมัคคุเทศก์น้อย มีการอบรมและทำแผ่นพับ ให้การเสนองบประมาณต่าง ๆ

4. พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเมืองเชียงคาน มีการกำหนด วัฒนธรรม บ้านไม้ ของเก่าแก่ วัฒนธรรม สร้างเชียงคานเป็นเชียงคาน ไม่ใช่เชียงคานเป็นพัทยา

5. มีการประกวดภาพถ่ายเชียงคาน มีการไหลเรือไฟ ปรับปรุงศูนย์ข้อมูล มอบให้กับเทศบาล

6. มีการอบรมผู้ประกอบการของที่ระลึก มีความรู้ที่ต้องผ่านการฝึกมาอย่างดี

7. มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ เมืองเชียงคาน เน้นการท่องเที่ยวโดยใช้จักรยานเน้นการทำป้ายไม้ และป้ายไฟให้มากที่สุด

8. ห้ามมีโคมลอย

9. มีกิจกรรมที่เป็นจุดขาย เช่น มีการเวียนเทียน มีการแห่ปราสาทผึ้งเมืองเชียงคาน

มีผาสาดลอยเคราะห์เมืองเชียงคาน มีการศึกษาดูงาน ผีขนน้ำ ถนนวัฒนธรรม ถนนคนเดิน เน้นความร่วมมือเชียงคาน ดนตรีไทย เอาวัฒนธรรมมาเป็นจุดขาย มีการทำ MOU กับ ม.ขอนแก่น อาหาร มีการทำน้ำปุ้น มีมะพร้าวแก้ว มีการดีไซน์เสื้อเชียงคานและออกแบบที่เชียงคานเอง มีสามล้อเครื่อง คมนาคม มีการแข่งที่เชียงคาน มีเรือยาว มีแข่งขันฟุตบอลทุกปี

มีการแข่งขันเปตอง

ดร.จีระ

1. ผอ.พรหมโชติ เป็นตัวแทนกระทรวง อยู่ปัญหา อธิบายได้ว่าบทบาทหน้าที่เป็นอย่างไร

2. กระทรวงวัฒนธรรม ทำการวิจัย กัดไม่ปล่อย จ.เลย

3. คุณกฤศดา ได้เชิญไปพูดที่ประกาน

โจทย์คือ Aim ที่ Networking

ราชการ ธุรกิจ SMEs ธุรกิจท่องเที่ยว วิชาการ และผู้นำท้องถิ่น

ประเด็นคือ เราจะไปทางไหน ไปอย่างไรและทำสำเร็จหรือไม่

เป็นตำแหน่งของการที่มีปัญญาและเอาปัญญาไปปะทะกับความจริง

Execution

การทำ Network ขาดอันเดียวคือ Capacity Building

การเป็นประเทศจีน พูดเรื่อง Capacity กับคน 2 เรื่อง คนที่อยู่ใน Networking ต้องเป็นคนดี มีความมุ่งมั่นกับส่วนรวม

ตัวละครทั้ง 4 ตัวต้องเป็น Professionalism ทุกคนไม่จำเป็นต้องไป Global ทุกคน แต่เป้าหมายต้องเป็นอย่างนั้น

เข้าอาเซียน อย่าเข้าแบบไม่พร้อม ต้องรู้เขา รู้เรา

วันหนึ่งอาเซียนจะต้องยิ่งใหญ่

ต้องเอาของดี ๆ ที่มีในสังคมไทยมาแสดงให้เห็น

การเอา Cluster ทุกจุดมาโชว์

เราต้องสามารถใช้ Networking 4 กลุ่มและให้มีบทบาทเท่ากัน

การกระเด้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถ้ามีความรู้ต้องแบ่งกัน

การประชุม 2 วันให้นึกถึงอาเซียนด้วย เพราะอาเซียนทำให้เราหลุดจาก Comfort Zone ถ้าไม่มีคนมากระตุ้น ไม่รู้ศักยภาพที่อยู่ข้างใน คนไทยเก่ง แต่ไม่มีแรงผลักสู่ความเป็นเลิศ เพราะผู้นำไม่เก่ง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

มีจุดไหนบ้างที่ทำให้มี Capacity หรือ สมรรถนะ ที่ทำให้เข้มแข็งขึ้น ให้เน้นที่จุดแข็ง

พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

กระบวนการทำ Workshop คิดร่วมกัน ต้องคิดร่วมกันให้ได้ก่อน

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การบรรยายหัวข้อ การพัฒนาทุนมนุษย์ (Capacity Building) ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่อาเซียน

โดยศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ทำในวันนี้คือ การเปลี่ยนแปลง ต้องจัดการให้ได้ ต้องมีความรู้ ใฝ่รู้ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่คนที่ไม่ชอบหาความรู้ จะไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง

Capacity มีหลายเรื่อง เรื่องคนเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ดร.จีระ เป็นผู้อำนวยการทั้งหมดเกือบ 20 ปี

เราจะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรกับคนที่อยู่ในห้องนี้ ต้องเป็นตัวละครที่จะขับเคลื่อนต่อไป

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ให้ความสนใจกับคนไม่มาก

20 ปีที่ผ่านมาต่างประเทศต้องการแรงงานราคาถูก แต่ปัจจุบันต้องการแรงงานที่มีความรู้ มีปัญญา ซึ่งจะพัฒนาชุมชนอย่างไรให้ดีขึ้น

ประเทศสิงคโปร์ มีรายได้มากกว่าเรา 11 เท่า เนื่องจากเน้นไปที่คนเป็นหลัก ศักยภาพมนุษย์อยู่ข้างในมีศักยภาพมหาศาล จะดึงออกมาใช้อย่างไรอยู่ที่มีพลังขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้หรือไม่

การที่ไม่ใฝ่รู้และหาความรู้ ตลอดเวลา จะรอดไหม ความรู้คือเสน่ห์ สิ่งแรกที่มีคือ อยากให้มีความอยากรู้ อยากเห็น

ไอน์สไตล์ บอกว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศเข้มแข็งอยากให้มีส่วนร่วมได้นั้น คือ การปะทะกันทางปัญญา

2R's

- Reality มองความจริง

- Relevance ตรงประเด็น

ต้องสู้ และเอาชนะอุปสรรค

HR Architecture

ถ้าเราเป็นคนในสังคมไทย เราจะเป็นคนที่มีคุณภาพได้ เราต้องผ่านการลงทุน เจอครอบครัว เจอโรงเรียน เจอโภชนาการ เจอสื่อมวลชน

บางคน ครอบครัวดี มีคุณธรรมจริยธรรม ก็ดีไป

สิ่งสำคัญคือการให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีจิตสาธารณะ

แต่ถ้าอยู่ในสังคมที่ไม่มีคุณภาพ จะแข่งขันไม่ได้ ประชาธิปไตยล้มเหลว ปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย มีปัญหาการคอรัปชั่น ดั้งนั้นจึงควรลงทุนด้วยครอบครัว การศึกษา และการพัฒนาสื่อมวลชน

เมื่อทำงานจะพบเรื่องการแข่งขัน ดั้งนั้นเมื่อเราจบการศึกษาแล้ว เราต้องแสวงหาความรู้ต่อเนื่อง

8 K's : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capitalทุนมนุษย์

Intellectual Capitalทุนทางปัญญา

Ethical Capitalทุนทางจริยธรรม

Happiness Capitalทุนแห่งความสุข

Social Capitalทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capitalทุนทาง IT

Talented Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K's (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capitalทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capitalทุนทางความรู้

Innovation Capitalทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capitalทุนทางอารมณ์

CulturalCapitalทุนทางวัฒนธรรม

ควรให้ความสำคัญกับการสร้างทุนมนุษย์ในช่วงที่จบการศึกษา ไม่เช่นนั้นจะล้มเหลว

คนเรียนเยอะ เรียนมากไม่สำคัญ แต่เราคิดเป็นหรือไม่ สามารถอยู่ในสังคมได้หรือไม่

ปัญญามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนในอนาคต

ทุนแห่งความสุขให้ทำงานด้วยความมุ่งมั่น ถามว่ามีความรู้สึกพอใจหรือไม่ หรืออยากได้เงิน

ทุนทางสังคม คือ Networking มีเครือข่ายมากน้อยแค่ไหน

ทุนทางความยั่งยืน นั้นอยู่ที่พฤติกรรมของคน ว่าเป็นอย่างไร

ถ้าการท่องเที่ยวใช้ทุนแห่งความยั่งยืน เช่น เชียงคานต้องมองว่าเชียงคานไม่ได้อยู่ในวันนี้อย่างเดียว ต้องอยู่วันหน้าอย่างยั่งยืน

ความใฝ่รู้ของคน คือจิตวิญญาณที่ทำให้อยากรู้อยากเห็น ให้หาหนังสือเพื่อใฝ่ความรู้

การท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นอยู่กับทัศนคติในการจัดการอาเซียน ทัศนคติคือความอยากรู้ อยากเห็น ถ้าเพียงพอ เมื่อเราเปิดโลกก็เปลี่ยน

การมีคุณธรรม จริยธรรม

การควบคุมอารมณ์ อย่าดูถูกคน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

เราต้องมีภาวะผู้นำและต้องแชร์ในกลุ่มด้วยความรู้ต้องใช้เวลา ต้องค่อย ๆ สร้าง

เน้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กล่าวว่าการเป็นผู้นำที่ดี ต้องมองวิกฤติว่าเป็นของธรรมดา อย่ามองวันนี้ ให้มองอนาคต

Workshop

ทั้ง 4 กลุ่มวิเคราะห์ (บนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน)

(1) ค้นหา 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity):

เสนอเส้นทางหรือกิจกรรมทางการท่องเที่ยวใหม่จากการขยายเครือข่าย

แบบที่ 1: ระหว่างกลุ่มจังหวัดวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

แบบที่ 2: ระหว่างกลุ่มจังหวัดวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง+อาเซียน

ก) เส้นทางท่องเที่ยว ข)สถานที่ท่องเที่ยวค)กิจกรรม ง) อัตลักษณ์ /ความโดดเด่น / จุดขาย

(2) วิเคราะห์ (ทุนมนุษย์)

2.1) ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้าง และควรมีบทบาทอย่างไร

2.2) การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ต้องการมีใครบ้าง อย่างไร

2.3) วิเคราะห์ 8K+5K จะช่วยให้ Networking เข้มแข็งและทำให้การท่องเที่ยว

และกีฬาในอาเซียนสำเร็จอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

2.4) ทุนแห่งความยั่งยืนกับความต่อเนื่องและเครือข่าย (Networking) เชื่อมโยง

ได้อย่างไร? ยกตัวอย่างที่สำเร็จ 1 เรื่อง และล้มเหลว 1 เรื่อง

2.5) เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำของ ดร.จีระ กับ Peter Druckers

มีส่วนไหนนำมาใช้ในโครงการอาเซียนที่จะทำให้เกิด Execution ได้สำเร็จ

(3) วิเคราะห์เรื่องการพัฒนาเครือข่าย

3.1) ความต้องการในการพัฒนาเครือข่าย

3.2) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเครือข่ายให้เกิดความสำเร็จ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/17405

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2558 หน้า 5.

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการประชุมวันที่ 12 มีนาคม 2558

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬา

ด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน

กลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง

ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2558
ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จ.เลย

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ได้กล่าวถึงเทรนด์ในอนาคตที่ว่าควรจะเพิ่มความสนใจที่แม่น้ำโขงเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เข้าใจคือเมื่อมีสินค้าและบริการสิ่งที่ตามมาก็คือคนจะใช้บริการของเรา

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ ชุมชนไม่ได้เน้นเฉพาะพวกเราเอง แต่เราต้องเป็น Global Brand ให้ได้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชนจะเกิดจากแต่ละฝ่ายร่วมมือกัน

ทฤษฎีเรื่องคน ต้องดูว่าคนมีศักยภาพหรือไม่ และมีแรงบันดาลใจหรือไม่

การบรรยายหัวข้อ "กลยุทธ์การตลาดสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวและกีฬาไทย
ก้าวไกลสู่อาเซียน"

โดย ดร.ละเอียดศิลาน้อย

ดร.ละเอียดได้กล่าวถึงการตลาดว่าต้องมองเรื่องสินค้าว่ามีอะไรบ้าง ปัจจุบันการตลาดท่องเที่ยวได้ก้าวจากยุค 1.0 มาสู่ยุคที่ 3.0

เวลาพูดเรื่องการท่องเที่ยว ต้องเริ่มจากที่ว่าการท่องเที่ยวคืออะไรให้พูดให้ชัด

สมัยก่อนใช้การท่องเที่ยวใช้ว่า Travel Industry ก่อน แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น Tourism

การท่องเที่ยวคืออะไรนั้น เป็นเรื่องนามธรรม

ใครอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบ้าง

เกือบทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหมด ไม่ว่าจะเป็น คนออกแบบ คนผลิตโรงแรม ร้านอาหาร บริหาร รถ เรือ บ้าน พยาบาล โรงพยาบาล

คนแรกในวงการท่องเที่ยวคือ นักท่องเที่ยว

คนขนขยะ แม่ชี เกี่ยวหรือไม่

กลุ่มสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือชุมชน

นักท่องเที่ยวคือใคร

ไม่ใช่คนทำงาน ,ไม่ใช่นักเรียน นักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาเล่าเรียน, ไม่ใช่คนอพยพเข้าเมือง ฯลฯ

คือผู้ที่เดินทางจากที่อาศัยอยู่ปกติ ไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว โดยสมัครใจ และวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ได้

World Tourism Organization (UNWTO) องค์การการท่องเที่ยวโลก

นับจำนวนการท่องเที่ยวตามาจำนวนครั้งในการเดินทางแบ่งเป็น

1. นักท่องเที่ยว (ผู้ที่ค้างคืน) Tourist คือผู้ที่มาเยือนและพักอยู่อย่างน้อย 1 คืน ในที่พักส่วนรวมหรือที่พักส่วนเอกชนในประเทศที่ไปเยือนอยู่ชั่วคราว (ไม่เกิน 12 เดือน) และไม่ได้ประกอบอาชีพหารายได้

2. นักทัศนาจร (ผู้มาเยือนวันเดียว) Excursionist ,Same-day visitor คือผู้มาเยือนซึ่งมิได้พักค้างคืนในที่พักส่วนรวมหรือที่พักส่วนเอกชนในประเทศที่ไปเยือน

- อะไรที่มาแล้ว เอาภาษีกลับไปไม่ใช่นักท่องเที่ยว

- นักกีฬาก็จัดได้ว่าเป็นท่องเที่ยว เพราะนำรายได้เข้าประเทศ

ความต้องการของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ต้องรู้ว่านักท่องเที่ยวต้องการอะไร

เช่น ที่พักดี ราคาถูก พักผ่อน ความสะดวกสบาย

กลุ่มที่ 2 Service Provider ต้องการอะไร ต้องการกำไร

กลุ่มที่ 3 ภาครัฐต้องการอะไรต้องการภาษี ต้องการเกียรติ เป็นที่รู้จัก

กลุ่มที่ 4 ชุมชนต้องการอะไร ต้องการความภูมิใจ และต้องการเงิน

การจ้างงาน ผลิตภัณฑ์ อาจมาทีหลัง

ชุมชนบางครั้งยังไม่เข้าใจว่านักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมที่มาพักเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เพราะว่าชุมชนต้องการให้มีคนใหม่มาเพราะเขาต้องการโชว์สิ่งที่ดีของเขาหรือต้องการแสดงความภาคภูมิใจ

วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว

เช่น ช้อปปิ้ง ทำบุญ หาแฟน ทำวิจัย ซึ่งถ้ายิ่งรู้เยอะ ยิ่งทำให้ของขายได้เยอะ

1. ผักผ่อน (ส่วนมาก)

2. ธุรกิจ

3. เยี่ยมญาติ/เยี่ยมเพื่อน

4. ภารกิจพิเศษ

5. ประชุม

ข้อดีเมื่อมีศูนย์ประชุมเกิดขึ้นจะมีอะไรเกิดขึ้นมากถือว่าเป็นส่วนที่มีเงินดีที่สุด และก่อให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง

แรงจูงใจในการท่องเที่ยว

  • •(1) สิ่งจูงใจ Motivators
  • –ทางกายภาพ Physical - ลดความเครียด
  • –ทาง............... Cultural - สนองความอยากรู้
  • –ทางบุคคล Interpersonal - พบเพื่อนใหม่ ๆ
  • –ทางสถานภาพและชื่อเสียง Status and Prestige - พัฒนา ได้รับยกย่อง
  • •(2) ปัจจัยผลักดันและดึงดูด Push and Pull Factors
  • –ปัจจัยผลักดัน Push Factors
  • •สุขภาพอนามัย
  • •ความอยากรู้อยากเห็น
  • •ความพึงพอใจ
  • •ความเชื่อและ........
  • •ธุรกิจและวิชาการ
  • •เพื่อนฝูงและ...........
  • •เกียรติภูมิ และความมีหน้ามีตา
  • - ปัจจัยดึงดูด Pull Factors
  • *แหล่งศิลปวัฒนธรรม
  • •- โบ..........
  • •- ประ..............
  • •- พิ......................
  • •- เขตชนพื้นเมืองดั้งเดิม
  • •สถานที่.........ทางการเมือง
  • •สถาบันการศ..........ที่มีชื่อเสียง
  • •ศาสน..........ที่สำคัญ ๆ ทั้งเก่าและใหม่
  • * ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
    • –งาน........หรืองานประเพณี
    • –ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ
    • –หัตถ.........
    • –ศิลปการแสดงและการดนตรี
    • –ภาษา
    • * ลักษณะทางกาย.....
    • – สภาพภูมิอากาศ
    • –สภาพทางทัศนียภาพ
    • * ชีวิต.......ป่า
    • * สิ่งบันเทิงและเริงรมย์
    • * อื่น ๆ – ความสุภาพ สะดวกสบาย ความปลอดภัย

    อุปสงค์ (ความต้องการ) ทางการท่องเที่ยว

    • •ความต้องการ + ..........

    + เวลา/ฤดูกาล/ครอบครัว/สุขภาพ

    • •1) ความโน้มเอียงที่จะเดินทาง
    • –ลักษณะประชากรศาสตร์
    • –ลักษณะจิตวิทยา
    • –การตลาดมีประสิทธิภาพ/ความสนใจ/รสนิยม

    อุปทาน (การสนองความต้องการ) ทางการท่องเที่ยว (Tourism Supply)

    • •ทรัพยากรธรรมชาติ Natural Resources
    • •โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure
    • •โครงสร้างส่วนบน Superstructure
    • •การขนส่งและการคมนาคม Transportation and Telecommunications
    • •ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและการต้อนรับ Hospitality and Cultural Resources
    • ในประเทศในอาเซียน คนเครียดมากคือใคร เช่น สิงคโปร์
    • ท่องเที่ยว เปรียบเสมือนน้ำซึมบ่อทราย มาเรื่อย ๆ
    • การท่องเที่ยวที่ดีต้องรู้จักแบ่งปันให้คนอื่น ๆ ด้วย
    • - เรื่องท่องเที่ยวเป็นเรื่องจิตวิทยาอย่างเดียว อย่างจัดที่พักจะทำอย่างไร
    • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเรียงตามลำดับความสำคัญ

    1. ความปลอดภัยต้องสร้างให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย ซึ่งสำคัญกว่าความปลอดภัย

    • - ประเทศที่รู้สึกว่าปลอดภัย เช่น สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น

    2. การเดินทาง

    • - การเดินทางเปลี่ยน ท่องเที่ยวเปลี่ยน
    • - เดินทางสะดวก

    3. การซื้อของ (จ่ายเงินมากที่สุด) 30 %

    • - นักท่องเที่ยวมาแล้วซื้ออะไรกลับ
    • -ทัวร์จีน มีปัญหา เป็นทัวร์ศูนย์เหรียญ

    4. ที่พัก 28%

    5. อาหาร 16 %

    6. แหล่งท่องเที่ยว / กิจกรรม 5 %

    7.บริการท่องเที่ยว/สิ่งอำนวยความสะดวก

    8.สถานบันเทิง

    • ทรัพยากรการท่องเที่ยว มี 3 แบบ
    • - ต้องดูของตัวเอง เพราะว่าในแต่ละกลุ่มมี Segment เขา
    • - ต้องมีการพัฒนาบุคลากร
    • - Service เน้นการบูรการ กับการลงมือทำ
    • - การบริการที่ดีคือ ตรงตามความต้องการของลูกค้า
    • - การบริการที่ดีกว่านั้น คือการบริการเกินความต้องการของลูกค้า
    • - การบริการที่ดีและดีกว่านั้น คือให้บริการก่อน เรียกว่าการบริการเชิงรุก
    • ผลต่อเศรษฐกิจ
    • - รายได้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มค่าทวีคูณการท่องเที่ยวเป็น 6 เท่า
    • - ขีดจำกัดทางการท่องเที่ยว ถ้าเล็กไปพัง
    • เวลาทำโฆษณาใช้หลักการตลาดเป็นหลัก
    • ถ้าอยากทำการท่องเที่ยวให้เร็ว ๆ ต้องทำกับบริษัททัวร์ เชิญเขามาเที่ยว และจัด

    โปรแกรมนำเที่ยว

    ตัวอย่างพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

    • -ชาวเกาหลี กินจุ กินเหล้า
    • -อังกฤษ ขี้เมา
    • -อเมริกา ใจกว้าง
    • -ทัวร์แบบไทย คือนิ่งเมื่อไรคือหลับ ขยับเมื่อไรคือกิน
    • -เกาหลีเป็นประเทศที่ได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประกวดภาพยนตร์ท่องเที่ยว ใช้การอบรมมัคคุเทศก์ฟรี มีไกด์อาชีพด้วย
    • สรุป สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการที่แท้จริงคือ ความพึงพอใจ (Satisfaction , Sanitation, Safety and Security) และเราจะวัดความพึงพอใจได้อย่างไร

    ดร.จีระ

    ที่เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน เน้นเรื่องความยั่งยืน

    แต่ไทยเน้น Social Media โดยไม่ดูความต้องการพื้นฐาน

    การบรรยายหัวข้อ"การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬาก้าวไกลสู่อาเซียน"

    โดย นาวาเอกปารัชรัตนไชยพันธ์

    รองเลขาธิการสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย

    ตัวสมาคมกีฬาเห็นความสำคัญในด้านอาเซียนมาก อย่างสมาคมเรือพายกีฬาทางน้ำ พบว่าถ้าใช้กำลังคนในระดับ Southeast Asia จะเป็นเป็น Leading Role

    รูปแบบเรือพายในโลกเป็นลักษณะถอยหลังพาย

    ในส่วนของเสาหลักของอาเซียน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกีฬา จะอยู่ในส่วน Socio Culture

    ผลกระทบจากอาเซียน

    ด้านบวก

    1. ตลาดใหญ่ขึ้นและมีหลากหลาย ประชากรมีทางเลือกสินค้า บริการมากขึ้น

    2. ภูมิประเทศมีความได้เปรียบ และมีความพร้อมเป็นโอกาสที่ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

    3. มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนมากขึ้น

    ด้านลบ

    1. การแข่งขันที่มีสูงขึ้น

    • 2. การเคลื่อนย้ายสินค้า และการบริการ และลงทุนมีความเสรีมากขึ้น
    • 5. อำนาจในการเจรจาต่อรองและดึงดูดลูกค้า
    • แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2555-2559)
    • ◦"แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับนี้ ได้มุ่งหวังให้คนไทยได้รับการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างถูกต้องจนเป็นวิถีชีวิต มีสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีน้ำใจนักกีฬาเพื่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวสู่ความสามัคคีและสมานฉันท์ มีการบริหารจัดการกีฬาทุกมิติอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศอย่างมีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งให้การกีฬาเป็นแหล่งสร้างรายได้ สร้างอาชีพและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศควบคู่กันไป"
    • ◦6 ประเด็นยุทธศาสตร์

    บริบทของกีฬา

    ต้องเข้าใจว่ากีฬามีกี่ขา

    กีฬามี 4 เสาหลัก

    1. กีฬาขึ้นพื้นฐาน ส่งเสริมสมรรถนะร่างกายของเอกชน เด็กต้องมีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง มีสมรรถนะที่ดี สิ่งนี้คือกีฬาพื้นฐาน

    2. กีฬาเพื่อมวลชน พูดถึงกีฬาเพื่อสุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

    3. กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ สร้างให้คนไทยมีการยึดเหนี่ยวร่วมกัน

    กรมพลศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบ มีการส่งนักกีฬาไปแข่งขันกีฬา Sea Game , Olypic Game

    4. กีฬาอาชีพ กีฬาที่มีอยู่ทุกชนิด

    การพัฒนาต่อยอดเป็นนักกีฬาอาชีพ ให้มีรายได้จากการกีฬาได้ เช่น ฟุตบอล มวย เทนนิส แบตมินตัน ตะกร้อ

    มิติในการพัฒนากีฬา

    • ◦กีฬาเพื่อสังคม
    • ◦กีฬาเพื่อความมั่นคง
    • ◦กีฬาเพื่อสุขภาพ
    • ◦กีฬาเพื่อเศรษฐกิจ
    • ธุรกิจต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา

    Output และ Out come กีฬาสามารถไปพัฒนาอะไรได้บ้าง

    การจัดฟุตบอล มีการนำกีฬามาเชื่อม มองกีฬาให้เป็นเครื่องมือ เป็นวิธีการเพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราต้องการ เพื่อสังคม ความมั่นคง สุขภาพ

    ทำอย่างไรให้กีฬาเป็นเครื่องมือการพัฒนาเศรษฐกิจได้

    บริบท กีฬาในประเทศไทยเป็นอย่างไร

    ในแผนพัฒนากีฬา สู่องคาพยพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น

    ส่วนใหญ่ถูกบังคับด้วยภาวะทางสังคม และทางเศรษฐกิจ คนไทยมีอุปนิสัยการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนกัน และปัจจุบันวิชาเรียนของเด็กในชั่วโมงสามัญ ลดการออกกำลังกายแค่ 60 นาที ใน 1 สัปดาห์สังเกตได้ว่าเด็กสมัยนี้ มีท่าเดินกับท่าวิ่งที่แปลกกว่ายุคก่อน

    • ◦ความสนใจในด้านกีฬาในทุกระดับยังมีน้อย
    • ◦กระแสการให้ความสนใจต่อสุขภาพ
    • ◦การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
    • ◦การตื่นตัวในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนทั่วไป
    • บริบทของกีฬาในประชาคมอาเซียน
    • ◦ความนิยมในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
    • ◦สภาพเศรษฐกิจและสังคม
    • ◦กีฬาอะไรที่เหมาะกับคนในอาเซียน

    โอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

    - กีฬาที่มีความเหมาะสมกับอุปนิสัย วัฒนธรรมท้องถิ่น ความนิยม ภูมิประเทศ และลักษณะอากาศ

    การสร้างการท่องเที่ยวเชิงกีฬา อยู่ในกลุ่มนันทนาการเช่น เป็นชุมชนเชียงคาน หา Activity ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาออกกำลังกายต้องคิดว่าอะไรเหมาะกับอุปนิสัย วัฒนธรรมท้องถิ่น ความนิยม มีอะไรดีที่มีความเชื่อมโยงกับกีฬาได้

    - กลุ่มเป้าหมาย ASEAN RCEP ยุโรป อเมริกา อินโดนีเซีย เอเชีย และตะวันออกกลาง

    • ◦กีฬากลางแจ้ง ได้แก่ กีฬากลางแจ้ง (จักรยาน พายเรือ ไตรกีฬา)
    • ◦กีฬาวัฒนธรรม (มวยไทย)
    • ◦กีฬาสนุกสนาน/ตื่นเต้น ท้าทาย (Adventure)
    • - สิ่งอำนวยความสะดวก และทรัพยากรที่มี
    • ◦ทิวทัศน์ที่สวยงาม แปลกตา
    • แนวทางการจัดการบริหาร
      • - การบริหารและจัดการธุรกิจกีฬา
      • ◦การจัดการแข่งขันหรืออีเว้นท์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
      • ◦การจัดให้มีบริการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในรูปแบบเพื่อนันทนาการ
      • - การสร้างและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกีฬา
      • ◦บุคลากรด้านการบริหารและจัดการ
      • ◦บุคลากรการกีฬา High Performanceได้แก่ นักกีฬา Coach นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
      • - การรวมกลุ่มทางธุรกิจ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน พันธมิตรในเรื่องธุรกิจกีฬาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจกีฬา

      ต้องมองกลุ่มเป้าหมาย

      RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือภาษาไทย คือ "ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน" หมายถึงข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคีFTAs ปัจจุบันของอาเซียน หรือ ASEAN+6 (คือ ASEAN และ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังจากที่การเจรจา RCEP เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้อาเซียนคาดว่าจะสามารถประกาศเริ่มการเจรจา RCEP ได้ภายใน ปลายปี2555 หรือไม่เกินต้นปี2556

      มีตลาด GDP ซึ่งมีประเทศไทยอยู่ในนั้นด้วยคิดเป็น 50% ของ GDP โลก

      ถ้ามองภาพ RCEP เป็นเป้าหมาย เราจะขายอะไร

      ชอบกีฬาวัฒนธรรมหรือไม่ หรือชอบกีฬาที่มีความท้าทาย

      คิดต่อว่าจะสร้างอะไรดี เพื่อเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นเป้าหมาย

      การมองแค่กีฬาเป็นการบริการอีกรูปแบบหนึ่ง ความพึงพอใจเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ได้ต่อมาคือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ต้องคำนึงถึงตัวบุคลากรที่ใช้ในการบริหารค่อนข้างเยอะ

      ตัวอย่าง

      ที่เชียงคาน มีความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นการดึงกีฬามาช่วยการท่องเที่ยวจึงอาจดึงกีฬาที่เป็นธรรมชาตินิด ๆ ไม่เร็วมากนัก อย่างไตรกีฬามีจักรยาน วิ่ง ว่ายน้ำ ให้มองถึงกีฬาที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติ

      แม่น้ำโขงสามารถนำมาใช้ร่วมกันในการทำกิจกรรมกีฬาในกลุ่มประเทศ สามารถสร้างเป็นธุรกิจเชื่อมโยง สามารถจัด Sport Event ได้อย่างเช่น การจัดไตรกีฬาอินเตอร์เนชั่นแนล สร้างเป็นจุดที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งอย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับท้องถิ่นเป็นสำคัญ

      ถ้าขาดความเชื่อมโยง จะขาดสิ่งที่ได้รับการสนับสนุน

      การจัดโอลิมปิค อีเวนท์ เราต้องมีความเชื่อมโยงและได้ประโยชน์ร่วมด้วย สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ

      กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก

      ในปี 2540 – 2549 มีจุดเด่นคือ การเดินทางจากกรุงเทพฯไปนครนายกมีความสะดวกสิ่งที่ได้ทำคือการพยายามหาอัตลักษณ์ตัวเองด้านการท่องเที่ยวและกีฬา จึงพยายามสร้างอัตลักษณ์ด้าน Advanture Sport และได้มีโอกาสขายไอเดียกิจกรรมล่องแก่ง ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันนี้

      กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่

      มีการจัดกิจกรรมประจำปี

      ผู้ประกอบการมีเรือคะยักอยู่ 500 ลำมีการพยายามทำให้โตขึ้นและยั่งยืนขึ้น ซึ่งก็ได้ช่วยในการจัดกิจกรรมให้โต

      ตั้งแต่อ่าวนางอ้อ ผ่านสุสานหอย มีการจัดแข่งขันระดับอาเซียน เพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องการมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม มีการสร้างการเรียนรู้เรื่องการพายเรือ และการเล่นกีฬาทางน้ำให้ถูกวิธีและปลอดภัยเป็นอย่างไร

      ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

      เสริมเรื่องการสร้างความหลากหลายของท่องเที่ยวโดยการเพิ่มมูลค่า 3 v

    โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


    ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

    ตอน : การท่องเที่ยวและกีฬากับการบริหารจัดการเช­ิงบูรณาการตอนที่ 2

    ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558
    ทางสถานีโทรทัศน์ TGN


    ไฟล์จากดร.จีระเดช ดิสกะประกาย ฝากให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ.....

    บ้านไทดำ.pdf

    ในช่วงวันที่ 10-13 มีนาคมที่แล้วมานี้ ผมได้มีโอกาสร่วมไปกับทีมมูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรเครือข่ายท่องเที่ยวและกีฬาด้านการบริหารจัดการเชิงบูรณาการเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนกลุ่มท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง ณ โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ เมาท์เท่น รีสอร์ท จ.เลย ซึ่งผ่านไปด้วยดีและก่อให้เกิดแนวคิดทางด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น จากการประชุมสัมมนานี้ก็ได้มีโอกาสออกไปทัศนศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงคานในรูปแบบต่างๆ คราวนี้ผมเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายมุมมองในเรื่องชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในดินแดนนี้ จึงขอมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้:

    ชุมชนไทดำ หมู่บ้านนาป่าหนาด ………….

    หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

    ทีมงานได้มีโอกาสไปเยี่ยมชุมชนไทดำสองวันติดกันและได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับชาวไทดำที่ในตำราประวัติศาสตร์ไทยพยายามจะยัดเยียดแนวคิดที่ว่า ชนชาติ "ไท" "ไต" "ได" "ลาว" "ไทย" ฯลฯ นั้นล้วนแต่มาจากคนไทยด้วยกันทั้งมวล แต่โดยแท้ที่จริงแล้วยังมีความแตกต่างในชาติพันธ์อีกมากมายที่ทำให้ในปัจจุบันเราไม่สามารถสรุปได้ง่ายๆเหมือนการสรุปครั้งชาตินิยมยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ครั้งนั้นแนวคิดในความรักชาติ การรวมชนชาติ รุนแรงยิ่ง เป็นเหตุให้นักประวัติศาสตร์พยายามเขียนประวัติศาสตร์เสียใหม่ให้ ไทยแลนด์เป็นเอกในดินแดนแถบนี้ โดยประมวลเหตุผลเข้าข้างตนมาตลอด ตั้งแต่สร้างแนวคิดที่ว่าเรามาจากเทือกเขาอัลไต ด้วยว่าชื่อของเทือกเขามีคำว่า "ไต" อยู่เป็นต้น

    ก่อนสับสนวุ่นวายในแนวคิด ต้องเรียนก่อนว่าผมไม่ได้ตีความว่า "ไทดำ" เป็น "ไทย" ทั้งนี้สังเกตจากตัว "ย" ห้อยท้าย ซึ่งโอกาสหน้าจะพยายามอธิบายประเด็นนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม

    ความหมายของชื่อหมู่บ้านป่าหนาด: หนาด เป็นไม้สมุนไพรชนิดหนึ่งใบใหญ่ยาวเป็นขน มีกลิ่นฉุน เหม็น ใช้ทำยา นาป่าหนาดหมายถึงนาที่มีต้นหนาดมากและมีความเชื่อว่าต้นหนาดผีกลัว จึงใช้ต้นหนาดในการปราบผี ขณะนี้ต้นหนาดนั้นยังพอมีอยู่บ้านแต่ยังไม่มากมายเหมือนเก่า

    ความเป็นมาของชาวไทดำเป็นชนชาติที่เรียกตนเองว่าไต แต่มีคนเรียกชื่อไปต่างๆหลายชื่อเช่น ลาวโซ่ง ไทโซ่ง ลาวซงดำ ไตซงดำ หรือไทโซ่งดำ (ผู้ใหญ่ไทดำท่านหนึ่งให้แนวคิดว่า คำว่า "โซ่ง" อาจมาจากคำว่า "ซ่ง" ซึ่งแปลว่ากางเกง ถ้าเป็นเช่นนั้น ไทโซ่งดำ >> ไทซ่งดำ >> ไททรงดำ อาจหมายความว่าผู้นุ่งกางเกงสีดำก็ฟังดูมีเหตุผลทีเดียว) แต่คำว่าไทดำจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ชาวไทดำอพยพกันเป็นระลอกจาก เมืองสิบสองจุไท บริเวณแม่น้ำดำ แม่น้ำแดง ที่พวกเขาเรียกว่าเมืองแถง(ปัจจุบันอยู่ที่เมืองเบียนเดียนฟู ประเทศเวียตนาม) โดยผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าประมาณปีพ.ศ.2460 หรือราวสี่ชั่วคน พวกเขาได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวบ้านนาป่าหนาดจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งไปอยู่ที่ หมู่ที่ 4 มีจำนวนครัวเรือน 161 ครัวเรือน จำนวนประชากร 538 คน ส่วน หมู่ที่ 12 มีจำนวนครัวเรือน 137 ครัวเรือน จำนวนประชากร รวมแล้วก็พันคนเศษ


    ส่วนไทดำสายอื่นนั้นได้อพยพเข้ามาดินแดนไทยก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2417 จากแคว้นพวน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน สาเหตุเนื่องมาจากมี พวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน ทางหลวงพระบาง ขอให้ฝ่ายไทยส่งกองทัพไปช่วยเหลือ โดยมีพระยาภูธราภัย เป็นแม่ทัพคุมกองทัพไปปราบฮ่อ ผลการปราบฮ่อครั้งนั้นไทยชนะ เมื่อเหตุการณ์สงบไทยได้ใช้นโยบายอพยพผู้คนจากแคว้นพวน เข้ามายังประเทศไทยด้วย ชาวไทดำจึงอพยพมาถึงกรุงเทพฯ โดยทำมาหากินตามที่ต่างๆ เช่น เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี และพิษณุโลก ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ไปตั้งหลักแหล่งที่บ้านหมี่ คลองสนามแจง จังหวัดลพบุรี ดั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่า ชาวไทดำบ้านป่าหนาดเป็นกลุ่มสุดท้ายที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทย

    วันแรกพวกเราไปถึงตั้งแต่สิบโมงเช้า ชาวบ้านก็กุลีกุจอออกมาต้อนรับ แล้วเชิญเราไปแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของเขา เราก็ไม่มีการปฏิเสธ ชั่วไม่กี่นาที ก็เหลือแต่ไทดำเผ่าเดียว ผมแย่กว่าเพื่อนเพราะไม่มีเสื้อใหญ่พอดีตัว แต่คุณอิ๋ว (น.ส. ภัทราภรณ์ ไพศูนย์ เจ้าหน้าที่ ททท. จังหวัดเลย)ผู้แทนสาวไทดำสัญญาว่าจะหาให้ในวันต่อไป

    จากนั้นก็มีการชักภาพกันอย่างทั่วถึง จนแยกไม่ออกระหว่าง ไทกับไทยเลยทีเดียว


    เราใช้เวลาเรียนรู้ที่หมู่บ้านราวๆชั่วโมงเศษ ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามากสำหรับผู้ใฝ่รู้ เราได้ตระหนักว่าการที่เราเหมาเรียกชนชาติ ไท ได หรือ ไทย รวมเป็นหนึ่งเดียวนั้นไม่น่าจะถูกต้องเสียทีเดียว ด้วยยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายอีกทั้งการตีความในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางนิรุกติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา ฯลฯ

    เอาละก่อนที่เราจะกลับมาหมู่บ้านนี้อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ผมขออธิบาความเป็นมาและความเป็นอยู่ของชาวไทดำให้ทราบพอเป็นสังเขป

    การอพยพของชาวไทดำสู่ดินแดนไทย

    ชาวไทดำ จังหวัดเลย นับเป็นเมืองเก่าที่มีความเป็นมาสืบสานวัฒนธรรมรักษา ภูมิปัญญา และมีกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากชาวไทยเลย แล้วยังมีชนชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ ที่สำคัญคือ กลุ่มชนเชื้อสายไทดำ เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนพื้นเมืองเลย โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ปะปนกัน อยู่ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนานมาแล้ว สำหรับความเป็นมาของหมู่บ้านไทดำ นับตั้งแต่สมัยที่มีการแย่งชิงดินแดนแคว้นต่างๆ ทางตอนเหนือของประเทศลาว ซึ่งเรียกว่าแคว้น 12 จุไทย ชาวไทดำ อพยพมาจากแคว้นพวน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2417

    เนื่องจากมีเหตุการณ์ พวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน ทางหลวงพระบาง ขอให้ฝ่ายไทยส่งกองทัพไปช่วยเหลือ โดยมีพระยาภูธราภัย เป็นแม่ทัพคุมกองทัพไปปราบฮ่อ ผลการปราบฮ่อครั้งนั้นไทยชนะ เมื่อเหตุการณ์สงบไทยได้ใช้นโยบายอพยพผู้คนจากแคว้นพวน เข้ามายังประเทศไทยด้วย ชาวไทดำถูกกวาดต้อนมาถึงกรุงเทพฯ โดยทำมาหากินตามที่ต่างๆ เช่น เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี และพิษณุโลก ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ไปตั้งหลักแหล่งที่บ้านหมี่ คลองสนามแจง จังหวัดลพบุรี

    หลังจากนั้นประมาณ 8 ปี เจ้าเมืองบริขันธ์ มาทูลขอราษฎรกลับไปยังเมืองเชียงขวางตามเดิม โดยเริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำกอใหญ่ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ในขณะเดียวกันฝรั่งเศสก็เข้าครอบครองดินแดนล้านช้าง และได้ขอให้ไทยส่งคนอพยพคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม ชาวไทยดำบางส่วนเห็นว่าต้องบุกป่าฝ่าดง จึงขอหยุดตั้งหลักแหล่งที่บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

    ส่วนชาวไทดำ อีกกลุ่มหนึ่งได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์ มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ชาวไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงย้อนกลับมาตั้งหมู่บ้านที่ตาดซ้อ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อยู่ได้ระยะหนึ่ง จึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาเบน แต่ภูมิประเทศไม่เหมาะแก่การดำรงชีพ จึงได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งถาวรที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ด้วยกัน เพราะสภาพเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึงมีป่าเขาลำเนาไพรคล้ายถิ่นฐานเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2438 โดยมีจำนวนครัวเรือนในขณะนั้น 15 หลัง ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในทางการเกษตรกรรม

    นอกจากนี้ยังมีชาวไทดำ หรือ ไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง ทางด้าน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยอพยพมาจากเมืองแถง ประเทศเวียตนาม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ลาวโซ่งล่องเรือมาอยู่ที่ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยลาวโซ่งยังได้ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ใน จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

    ไทดำมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ภาษาพูด และภาษาเขียน อาชีพ การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ การดำรงชีวิตประจำวันยังคงผูกพันกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อดั้งเดิมอยู่เป็นอันมาก ลักษณะทางสังคมของไทดำยังคงรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีและพิธีกรรม ไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในความเป็นปึกแผ่น และการดำรงเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์

    การแต่งกาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสื้อผ้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน กับอีกชนิดหนึ่งคือ สำหรับใส่ในงานประเพณี หรืองานบุญต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทั้งชายและหญิงมักนิยมใช้ผ้าฝ้ายทอมือย้อมคราม สำหรับเสื้อผ้าที่ใส่ในพิธีกรรมจะจัด ทำขึ้นเป็นพิเศษ มีสีดำตกแต่งด้วยผ้าไหมชิ้นเล็กๆ ส่วนใหญ่ มีเครื่องประดับเป็นเงิน ผู้หญิงมี "ผ้าเปียว" คล้องคอ ส่วนเด็กๆ จะมีหมวกคล้ายถุงผ้าปักไหม หรือด้ายสวยงามเรียกว่า "มู"



    การใช้ผ้าซิ่นเป็นเอกลักษณ์ของหญิงเผ่าพันธุ์ไทดำ ส่วนใหญ่จะนุ่งผ้าที่ทอกันขึ้นมาใช้เองตั้งแต่อดีตถึงยุคปัจจุบัน ชาวลาวโซ่งก็เช่นกัน ทุกครัวเรือนผู้หญิงจะเป็นผู้ทอผ้าขึ้นมาใช้เอง เป็นผ้าฝ้ายทอมือ ประกอบไปด้วยเชิงบนซิ่นเป็น "หัวซิ่น" "ตัวซิ่น" เชิงล่างซึ่งเป็น "ตีนซิ่น" ย้อมครามจนเป็นสีครามเข้มเกือบดำ นำมาทอสลับลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของลาวโซ่งผู้หญิงในชีวิตประขำวันจะนุ่งซิ่น "ลายแตงโม" หรือ "ลายชะโด"

    ที่พักอาศัย: เฮือนไทดำ

    เฮือนไทดำหรือบ้านไทดำเป็นเรือนยกพื้นไม่สูง นักแต่ดั้งเดิมมีหลังคาแฝกทรงคล้ายกระดองเต่า เพื่อป้องกันลมฝนและอากาศที่หนาวเย็น เพราะแต่แรกไทดำอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาวะอากาศค่อนข้างรุนแรงคืออากาศหนาวและฝนก็ชุกตลอดปี สังเกตมุขหน้าที่ยื่นออกมาเปรียบเสมือนที่รับแขกหรือศูนย์รวมครอบครัวยามพักผ่อนโดยเฉพาะ ปัจจุบันรูปแบบเปลี่ยนไปบ้างแต่ยังคงความเป็นไทดำไว้อย่าง ชัดเจน

    ผมขอยกเรื่องสัญลักษณ์ของเฮือนไทดำมาเล่าสู่กันฟังพอเป็นสังเขปดังนี้*(อ้างอิงมาจากบางส่วนของบทความ เรือนไทดำ : สัญลักษณ์แห่งความสำนึกในบุญคุณของเต่าและควาย โดย...นางสาวกานต์ทิตา สีหมากสุก)

    • จากความเชื่อเกี่ยวกับเต่า ที่ว่าเต่ามีบุญคุณต่อมนุษย์ ทำให้ไม่ต้องคำสาปจากแถน เล่าต่อกันมาดังนี้: "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อมนุษย์และสัตว์สามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง วันหนึ่งพระยาแถนผู้เป็นเจ้าสูงสุดอยากจะรู้ว่าใครรักและภักดีต่อตนมากที่สุด โดยจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้เป็นการตอบแทน แถนจึงแกล้งทำเป็นตาย และได้มีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เมื่อเหล่าสิ่งมีชีวิตบน พื้นโลกได้ทราบข่าว มวลหมู่นกและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างแตกตื่นขึ้นไปบนดินแดนสวรรค์ แล้วร้องไห้ด้วยความเสียใจพร้อมร้องเพลงสวด ถวายแด่แถน ส่วนมนุษย์นั้นขึ้นไปเฝ้าแถนล่าช้าที่สุด ตามหลังแม้กระทั่งเต่า เมื่อมนุษย์เดินมาถึงทางที่มีต้นไม้ใหญ่ล้มขวางอยู่ พบเต่าที่ไม่ สามารถเดินผ่านไปได้ เต่าจึงขอร้องต่อมนุษย์ให้อุ้มข้ามต้นไม้ และสัญญาว่าจะสอนบทสวดถวายแด่แถน เมื่อมนุษย์เดินทางมาถึงดินแดน สวรรค์ มนุษย์ได้ร้องบทสวดที่เต่าเป็นสอนถวายแด่แถน สร้างความพอใจแก่แถนยิ่งนัก แถนจึงเชื่อว่ามนุษย์มีความจงรักภักดีต่อตนอย่างแท้จริงทั้งๆที่มนุษย์และเต่าไปถึงหลังสุด จึงสาปให้มวลสัตว์ทั้งหลายในมวลโลกพูดไม่ได้ และเป็นอาหารของมนุษย์ โดยมีมนุษย์เป็นยอดในมวลสัตว์ทั้งหลาย" มนุษย์ก็เลยสำนึกในบุญคุณของเต่า และมนุษย์ยังเชื่อว่าเต่าเป็นผู้สอนให้มนุษย์สร้างเรือนแบบยกเสาสูง และทำหลังคาตามแบบรูปทรงของกระดองเต่าด้วย จึงสร้างเรือนที่มีหลังคาทรงโค้งเป็นรูปกระดองเต่าและแขวนกระดองเต่าไว้ที่เสาแรกหรือเสาเอกของเรือน
    • ส่วน "ขอกุด" ที่ประดับอยู่ส่วนบนสุดของหลังคานั้น (ทางล้านนาเรียก "กาแล") เนื่องจากการประกอบอาชีพของชนชาวไทดำ คือการทำนาข้าว สัตว์พาหนะที่ใช้สอย คือ กระบือ (ควาย) มีตำนานเล่าสืบทอดกันว่า แถนเป็นผู้ส่งควายให้มาเป็นสัตว์ใช้สอยช่วยมนุษย์ทำนา ดังนั้นควายจึงมีความเกี่ยวข้องกับวิถี ชีวิตของชาวไทดำมา แต่อดีต ซึ่งเป็นที่มาของ คำว่า "ขอกุด" อันเป็นเครื่องบ่งบอก ถึงความมุ่งมั่น ความอดทน ต่อสู้ ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ อันเกิดจากมีควายคอยช่วยเหลือ แม้ว่าทุกวันนี้รูปแบบเรือนไทดำ ได้ปรับเปลี่ยนลักษณะเป็นบ้านรูปทรงทันสมัยเพียงใด แต่ชาวไทดำรุ่นใหม่ก็ยังคงสำนึกในบุญคุณของ เต่าและควาย แม้ว่าไม่ได้แสดงออกในรูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนไทดำแบบดั้งเดิม ที่มีหลังคาโค้งทรงกระดองเต่าและมีขอกุดประดับไว้ที่ ด้านบนของหลังคาแล้วก็ตาม แต่สำนึกในทางสัญลักษณ์ก็ยังคงปรากฏอยู่ ด้วยการประดับกระดองเต่าไว้ที่เสาเอกของบ้านหรือติดขอกุดไว้บนหลังคาบ้านทรงยุโรปที่เป็นบ้านเรือนของ ลูกหลานไทดำ และด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่กับกระดองเต่าหายากขึ้น บางบ้านจึงนำตุ๊กตาเซรามิคหรือตุ๊กตาหล่อเรซิ่นรูปเต่ากับเขาควายมาประดับด้วยการแขวนไว้ที่ข้างฝาบ้านหรือวางเต่าไว้ที่พื้นข้างเสาบ้าน เพื่อเป็นตัวแทนถึงความสำนึกในบุญคุณของสัตว์ทั้งสอง

    พวกเราใช้เวลาวันต่อมาที่บ้านไทดำบ้านป่าหนาดกันอย่างเต็มที่ ในการนี้ต้องขอขอบคุณไทดำทุกท่านที่กุลีกุจอให้การต้อนรับขับสู้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะคุณอิ๋ว ที่ได้ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องของไทดำบ้านป่าหนาด

    ครั้นแดดร่มลมตก เราก็จัดการเสวนาระหว่างผู้มาเยือนและหัวหน้าหมู่บ้าน พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน เนื้อหาทั่วไปคือความเป็นมา การดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของไทดำและชาวบ้านไทยดั้งเดิม นับว่าเป็นเนื้อหาที่สร้างสรรค์มากเพราะเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตของผู้ที่มีความเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นขนบประเพณี ความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ เป็นที่น่าสังเกตว่าไทดำนับถือผีและบรรพบุรุษ ผีที่นี้มีความหมายถึงบรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บ้างก็เป็นเทพ เป็นเทวดา จึงเป็นที่น่าเชื่อว่า ผี ของลาว ไทและกลุ่มชาติพันธุ์ไกล้เคียงจะเป็นผู้ที่ให้คุณ กว่า ผี ของไทยกลาง ด้วยผีไทยกลางรวมไปถึง ผีที่หลอกหลอนมนุษย์ ผีที่ให้โทษมนุษย์ แต่ทางท้องถิ่นล้านช้าง ล้านนา ไท ไต ฯลฯ แล้ว ผีคือวิญญาณหรือผู้ที่ให้คุณ เช่น ผีบุญ (ผู้มีบุญ) ผีบ้านผีเรือน(ผู้ดูแลบ้านเรือน) ผีขนน้ำ (ผีที่มาช่วยชาวบ้านขนน้ำยามหน้าแล้ง) เป็นต้น ส่วนผีที่ให้โทษก็มักจะมีชื่อเฉพะ เช่น ปอบ เปต กระสือ ทมก เป็นต้น

    วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไทดำที่ได้พบที่บ้านป่าหนาด สามารถบอกเล่าเรื่องของตนเองได้มากมาย โดยที่ไม่ต้องตั้งคำถามในใจ ถ้าจะเปรียบก็เสมือนว่า เครื่องแต่งกาย การใส่เครื่องประดับ สีสันเสื้อผ้า บอกถึงสถานภาพผู้สวมใส่ชัดเจน ลักษณะบ้านที่พักไปจนถึงเรือนยุ้งฉาง นอกจากจะประกอบด้วยเครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้านของเขาเองแล้ว ขอกุด ยังสามารถบ่งชี้สถานภาพผู้อยู่อาศัยได้ตั้งแต่ระดับ เจ้าเมือง อำมาตย์ เศรษฐี ชาวนา ชาวบ้าน ไปจนถึง พ่อม่ายหรือแม่ม่าย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ชัดเจนของภาคพื้นนี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่ระบบการแบ่งชนชั้นวรรณะทางภารตประเทศไปจนถึงสุดขอบอุษาทวีปทางตะวันออก รวมถึงดินแดนอุษาคเนย์ที่ครั้งหนึ่งเรียกว่าสุวรรณทวีปหรือสุวรรณภูมิที่ซึ่งแม้แต่ ยอร์ช เซย์เดย์ นักประวัติศาสตร์ลือนามของฝรั่งเศส มิบังอาจเขียนบีนทึกไว้ โดยเรียกรวมๆของดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า อินเดียใหญ่ (GREATER INDIA)

    และที่สุวรรณภูมินี้เอง....ที่เป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญดั้งเดิมของโลก ที่เต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับวากมายที่แม้แต่นักผจญภัยหรือนักสำรวจของโลก ก็มีเพียงไม่กี่คนที่เคยสัมผัสกับดินแดนแถบนี้ ดินแดนแห่งนี้ ... สุวรรณภูมิ ไม่ใช่มีเฉพาะประเทศไทย แต่กว้างใหญ่ไพศาลรวมดินแดนแถบอุษาคเนย์ไว้หมด ปัจจุบันดินแดนแห่งนี้มีชื่อไหม่ทันสมัย ว่า .... อาเซียน (ASEAN)

    จีระเดช ดิสกะประกาย 20/3/2558

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท