รอซ่อมเมื่อเสีย จะดีไหม!


การตรวจสุขภาพก่อนหมดสภาพ คือ กระบวนการค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพ (ก่อนการป่วยเป็นโรค) เพื่อจัดการสร้างเสริมให้เหมาะสมกับบุคคลนั้น

          การตรวจสุขภาพก่อนหมดสภาพ หรือการไม่รอซ่อมเมื่อสุขภาพเสีย/ป่วยแล้ว คือ กระบวนการค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพ (ก่อนการป่วยเป็นโรค) เพื่อจัดการสร้างเสริมให้เหมาะสมกับบุคคลนั้น โดยเน้นตรวจก่อนการเป็นโรค แต่เมื่อตรวจแล้ว “ปกติ” ควรระมัดระวังป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์หากไม่พบความเสี่ยงของการเกิดโรคก็อาจไม่ต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเอ็กซเรย์เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น (ข้อความบางส่วนของข่าวจาก สปสช.)

          การตรวจร่างกายควรต้องตรวจอะไรบ้าง และตรวจอย่างใด เช่น การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ควรตรวจทุกวัยอายุ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การตรวจวัดความดันโลหิต ควรตรวจทุกครั้งที่มาพบแพทย์อย่างน้อยปีละ 1ครั้ง การตรวจความผิดปกติสายตา ทั้งชายและหญิง เมื่ออายุได้ 21 ปีขึ้นไปหรือตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นได้อย่างชัดเจน ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง การตรวจเต้านม (Clinical Breast Exam) สำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้หากอายุมากกว่า 20 ปี ก็ควรตรวจด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับการตรวจหามะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ในหญิงที่มีเพศสัมพันธ์หรือมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรจะได้รับการตรวจปีละครั้งติดต่อกัน 3 ปี หลังจากนั้นก็ควรตรวจทุก 3 ปี จนถึงอายุ 65 ปี ส่วนการตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจได้ทุกเพศ ทุกวัย ควรจะได้ตรวจทุก 1 ปี และทุก 3 ปี ครับ

          การส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันการเจ็บป่วย มีต้นทุนที่ถูกกว่าการรักษา และการฟื้นฟูสภาพในภายหลัง ทั้งนี้ทั้งต้นทุนที่เป็นสุขภาพของตนเอง และสังคม รวมถึงต้นทุนการเงินการคลังสุขภาพในภาพรวมด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 5866เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2005 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท