pr_kpru
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เพาะเนื้อเยื่อกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมือง


ในอดีตกล้วยไข่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับจังหวัดกำแพงเพชรถึงประมาณ 200 – 300 ล้านบาท ต่อปีและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วว่ามีรสชาติหอมหวานกว่ากล้วยไข่จากที่ใด ๆ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองน้อยลงจนเกรงว่าจะสูญพันธุ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองเกรงสูญพันธ์

 

                                ผศ.รัตนา  รักการ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  กล่าวว่า  กล้วยไข่เป็นผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชรในขณะนี้กำลังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง ในอดีตกล้วยไข่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับจังหวัดกำแพงเพชรถึงประมาณ 200 – 300  ล้านบาท ต่อปีและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วคือจะมีรสชาติหอมหวานกว่าที่อื่น ๆ    แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองหรือที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร  นั้น  น้อยลงจนเกรงว่าจะสูญพันธุ์  จากการที่คณะผู้วิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  ซึ่งนำโดย  รศ.พรเพ็ญ  โชชัย  ได้ทำการวิจัย  เรื่อง  การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์กล้วยไข่อย่างยั่งยืน  ผลการวิจัยทำให้ได้ทราบปัญหาที่ส่งกระทบต่อการผลิตและการประกอบการกล้วยไข่ลดลง  อาทิ  ปัญหาด้านวาตภัย  ปัญหาของโรคที่เกิดกับกล้วยไข่  เป็นต้น  และจากผลการวิจัยทำให้ทีมงานวิจัย  นักศึกษา  และชุมชนร่วมกันคิด  ร่วมทำ     หาวิธีการแก้ไขปัญหาและวิธีรักษากล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองไว้  ล่าสุด อ.ปรัชญา  ชะอุ่มผล  และนักศึกษาโปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์  ได้ร่วมกันเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรเพื่อเป็นการอนุรักษ์กล้วยไข่สายพันธุ์พื้นเมืองไว้

 

     Image%28126%29
                                                                             Picture+191

                                น.ส. ปรัชญา  ชะอุ่มผล  อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาชีววิทยา  หัวหน้าทีมโครงงาน  กล่าวว่า  ความสมบูรณ์ตลอดจนลักษณะของลำต้น  ใบ  และผลผลิตของกล้วยไข่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเยื่อนั้นไม่แตกต่างจากต้นสายพันธ์เดิม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรสชาติจะยังคงความหอมหวานอันเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรอยู่  ในขณะนี้ได้ทำการเพาะเลี้ยงและนำต้นกล้าบางส่วนลงปลูกในเรือนเพาะชำบ้างแล้ว  ใช้ดูแลให้เจริญเติบโตอีกสักระยะก็จะสามารถนำลงปลูกในแปลงปลูกได้ 

Picture+208
                                                             Picture+211 

………………………………………………….

หมายเลขบันทึก: 58645เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ต้องการ clean culter มาขยายพันธุ์ต่อ ติดต่อได้ที่ใดครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท